INSURANCETHAI.NET
Thu 21/11/2024 19:54:47
Home » อัพเดทประกันภัย » การประกันภัยต่อ\"you

การประกันภัยต่อ

2013/11/19 2467👁️‍🗨️

การประกันภัยต่อ หมายถึง การกระจายการเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยกับผู้รับประกันภัยด้วยกันเอง เนื่องจากความสามารถในการรับเสียงภัยไว้เองของบริษัทมีจำกัด จึงกระจายการเสี่ยงภัยส่วนที่เหลือให้กับผู้รับประกันภัยอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer)

ความจำเป็นของการทำประกันภัยต่อ

1. ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีมูลค่าสูงกว่าเงินกองทุนของบริษัท
2. ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงภัยสูง
3. สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงภัยสูง
4. ข้อจำกัดของกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทประกันภัยรับเสี่ยงภัยไว้เองได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุน

ประโยชน์ของการประกันภัยต่อ

1. เพิ่มศักยภาพในการรับประกันภัย
2. เพื่อให้เกิดเสถียรภาพกับผลการรับประกันภัย
3. เพื่อกระจายความเสี่ยงภัยออกไปให้กว้างขวางขึ้น
4. เพื่อความมั่นคงทางด้านการเงิน
5. เพื่อรับบริการทางวิชาการจากบริษัทรับประกันภัยต่อ

ประเภทของการประกันภัยต่อ

1. การประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย (Facultative Reinsurance) คือการประกันภัยซึ่งบริษัทเอาประกันภัยต่อต้องเสนอรายละเอียดของภัยแต่ละราย ไปให้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อพิจารณา ซึ่งอาจจะกระทำโดยทางจดหมาย โทรศัพท์ โทรสาร หรืออื่น ๆ บริษัทรับประกันภัยต่อสามารถที่จะบอกรับหรือปฏิเสธการเอาประกันภัยต่อชนิดนี้ได้

2. การประกันภัยต่อแบบสัญญา (Treaty Reinsurance) คือการประกันภัยที่เป็นข้อผูกมัดระหว่างบริษัทเอาประกันภัยต่อจะต้องประกันภัยต่อให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ และผู้รับประกันภัยต่อสัญญาว่าจะรับประกันภัยต่อในสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ การประกันภัยต่อแบบนี้แบ่งออกเป็น

2.1 การประกันภัยต่อแบบเป็นสัดส่วน การประกันภัยต่อแบบนี้ กำหนดจากจำนวนเงินเอาประกันภัยเป็นหลัก เบี้ยประกันภัยและค่าสินไหมทดแทนจะแบ่งกันระหว่างผู้เอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อตามอัตราส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยของแต่ละฝ่ายที่รับเสี่ยงภัย

2.2 การประกันภัยต่อแบบไม่เป็นสัดส่วน การประกันภัยแบบนี้ จะไม่กำหนดจากจำนวนเงินเอาประกันภัย แต่จะกำหนดจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนเป็นหลัก โดยผู้รับประกันภัยต่อจะชดใช้ก็ต่อเมื่อค่าสินไหมทดแทนสูงกว่าวงเงินที่ได้ตกลงกันไว้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงกันไว้

วิธีการทำประกันภัยต่อ

1. ทำประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยต่อโดยตรง
2. ทำประกันภัยต่อโดยผ่านนายหน้าบริษัทประกันภัยต่อ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow