ต่อทะเบียนรถยนต์
การเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ หรือ ที่เรียกกันว่า ต่อทะเบียนรถยนต์ หรือ ต่อภาษีรถยนต์
รถที่ไม่ต้องตรวจสภาพ
ยื่นภาษีในเว็บของกรมขนส่ง https://www.dlte-serv.in.th/dltWeb
ตรวจสภาพรถ (ตรอ.) กรณีรถเกิน 7 ปี (รถปีที่8 ขึ้น) ต่อครั้งที่ 8 ต้องตรวจสภาพ
เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อทะเบียน
1. สำเนาสมุดทะเบียนรถ
2. หลักฐานการทำ พ.ร.บ. “ที่ยังไม่หมดอายุ”
3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้ว 7 ปีขึ้นไป)
การต่อทะเบียนรถยนต์ หรือ การต่อภาษีรถยนต์
กฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำทุกปี
ต่อก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
การต่อทะเบียนล่าช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือนของค่าต่อทะเบียน
ขาดต่อทะเบียนเกิน 3 ปี รถถูกระงับการใช้งาน ต้องไปเสียค่าปรับย้อนหลังและทำเรื่องจดทะเบียนรถใหม่
ขาดต่อทั้งทะเบียนและ พ.ร.บ. ถูกปรับ 20,000 บาท
รถไม่มี พ.ร.บ. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ใช้รถไม่จดทะเบียน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ใช้รถที่ไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษี โทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
รถของคุณต้องเสียภาษีเท่าไร
อัตราการเสียภาษีรถขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักรถ หรืออายุรถ มาลองดูกันซิว่ารถของคุณต้องเสียภาษีประจำปีละเท่าไร
1. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ คือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) รถ (0.5-1.5 บาท/cc) ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 6 ปี ลดให้ 10% ขึ้นไป (ดูตาราง)
ตัวอย่างการคำนวณ
รถยนต์ ยี่ห้อ AMZ รุ่น Tx อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 2,979 cc
1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600×0.5 = 300 บาท
2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
3. เกิน 1800 cc ละ 4 บาท = (2,979 – 1,800) x 4 = 1179 x 4.00 = 4,716 บาท
รวมค่าภาษีทั้งหมด 300 + 1,800 + 4,716 บาท = 6,816 บาท
*หากเสียภาษีช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของวันนับเป็น 1 เดือน)
อัตราภาษีรถยนต์
2. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังนี้
3. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังนี้
– กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์เป็นก๊าซ CNG/LPG จะต้องขอเอกสารรับรองการตรวจสภาพรถประจำปีตัวจริงไปด้วยค่ะ
รถคุณอยู่ในกลุ่มต้องตรวจสภาพรถหรือไม่
การตรวจสภาพรถเพื่อให้ได้ใบตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) ที่ใช้รับรองสภาพการใช้งานของรถยนต์ ณ ปัจจุบัน ว่าสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ เพื่อประกอบการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี (โดยนับจากวันจดทะเบียน) ต้องนำรถไปดำเนินการเข้าตรวจสภาพที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชน ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งคุณสามารถสังเกตเครื่องหมาย ที่มีคำว่า “สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)”
รถประเภทใด ต้องไปตรวจสภาพรถ
รถยนต์ที่มีการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่มีการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป
เจ้าของสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี
ราคาค่าตรวจ
รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท
ข้อยกเว้น! รถต่อไปนี้ไม่สามารถตรวจสภาพรถที่ ตรอ. ได้ ต้องไปที่กรมการขนส่งเท่านั้น
– รถที่ดัดแปลงสภาพใหม่ เช่น เปลี่ยนสีหรือตัวถังใหม่
– รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์จางหายหรือมองไม่ชัด
– รถที่เจ้าของได้แจ้งไม่ใช้งาน
– รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
– รถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี
เลือกไปต่อทะเบียน-พ.ร.บ. ที่ไหนดี
รศึกษาข้อมูลการต่อทะเบียนรถล่วงหน้า อย่างน้อย 3 เดือน พร้อมเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย
ความเข้าใจผิดๆ เรื่องต่อทะเบียนรถ
– ปัจจุบันรถไม่ต้องติดป้ายวงกลมโชว์หน้ารถแล้ว
ผิด! แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนจากป้ายวงกลมเป็นป้ายสี่เหลี่ยมแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ถูกต้องคือยังคงต้องติดป้ายสี่เหลี่ยมยืนยันการเสียภาษีตามที่กฏหมายกำหนดไว้หน้ารถให้เห็นชัดเจน ถ้าไม่ติดถือว่ามีความผิด
ป้ายแสดงการทำ พ.ร.บ. กฏหมายไม่ได้ระบุว่าต้องติดโชว์ เพราะปัจจุบันรถทุกคันที่ต้องเสียภาษีประจำปีจะต้องทำ พ.ร.บ. แล้วเท่านั้น ดังนั้นการติดป้ายเสียภาษีที่หน้ารถจึงเป็นการบ่งบอกว่ารถคันนี้ทำพ.ร.บ. และเสียภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว
– รถติดไฟแนนซ์อยู่ เจ้าของรถไม่สามารถไปต่อภาษีหรือ พ.ร.บ. ด้วยตัวเองได้ ต้องให้ไฟแนนซ์จัดการให้ทั้งหมด
ผิด! , เราสามารถขอให้ไฟแนนซ์ Fax สำเนาทะเบียนรถมาให้เราเพื่อจะไปชำระค่าภาษีและพ.ร.บ. รถยนต์เองได้ ประหยัดค่าดำเนินการต่อพ.ร.บ.-ทะเบียนรถของไฟแนนซ์อีก 100-500 บาท
ระวัง หลอกลวง ให้ทำ พรบ ใหม่
พรบ ที่ใช้ได้ เป็น พรบ ที่ยังไม่หมด ในวันที่ทำเรื่องต่อทะเบียน
กรณีของการต่อทะเบียนทางไปรษณีย์ต้องเผื่อวันด้วย เพระาเอกสารไม่ได้ถึงในทันที ควรมีวันคุ้มครองเหลือ อย่างน้อยสัก 2weekอ้างอิง : กรมการขนส่งทางบก