ประกันภัยการเสี่ยงภัยทรัพย์สิน – ประกันภัยไทยวิวัฒน์
ประกันภัยการเสี่ยงภัยทรัพย์สิน – ประกันภัยไทยวิวัฒน์
ความคุ้มครองหลัก
คุ้ม ครองความสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากอุบัติเหตุหรือ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ใดๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่ง เกิดขึ้น ภายในระยะเวลาเอาประกันภัย บริษัทจะรับผิดไม่เกิน จำนวนเงินเอาประกันภัย ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ทรัพย์สินที่รับประกันภัย
ทรัพย์สินส่วนบุคคล เช่น อุปกรณ์ต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ที่ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้าง และเครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา
ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองทรัพย์สินดังต่อไปนี้
1. เงิน ตรา เช็ค แสตมป์ พันธบัตร บัตรเครดิต หลักทรัพย์ เพชรพลอย อัญมณี โลหะมีค่า ทอง ขนสัตว์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ วัตถุหายาก เว้นแต่จะได้ระบุ ไว้เป็นการเฉพาะว่าได้เอาประกันภัยไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้
2. กระจกที่ติดตั้งถาวร
3. กระจก (นอกจากกระจกที่ติดตั้งถาวร) เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ ดินเผา หินอ่อน หรือวัตถุอื่นที่เปราะหรือแตกง่าย
4. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประมวล ผลข้อมูล (Electronic Data Processing Equipment)
5. ทรัพย์สิน ในการดูแลของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รักษาทรัพย์ เอกสารต้นฉบับ เอกสารทางธุรกิจ ระบบคอมพิวเตอร์ แผ่นบันทึกข้อมูลแบบจำลองแม่พิมพ์ แผนผัง แบบที่ออก (เช่น พิมพ์เขียว แบบบ้าน แบบลายผ้า ฯลฯ) หรือ วัตถุระเบิด เว้นแต่ได้เอาประกันภัยไว้ตามกรมธรรม์นี้
6. ยาน พาหนะ ที่จดทะเบียนสำหรับใช้บนถนน (รวมทั้งอุปกรณ์และ เครื่องตกแต่ง ทุกชนิด) รถตู้นอน รถพ่วง หัวรถจักร รถไฟ ยานพาหนะทางน้ำ อากาศยาน ยานอวกาศ หรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงกัน
7. ทรัพย์สิน ที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง ซึ่งมิใช่เป็นการเคลื่อนย้ายภายในสถานที่ตั้ง หรือเก็บทรัพย์สินเอาประกันภัยตามที่ระบุในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
8. รวมทั้งวัตถุหรือวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการนั้น
9. ที่ดิน (รวมทั้งหน้าดิน ดินกลบแต่ง ท่อระบายน้ำ หรืออุโมงค์ส่งน้ำ) ทางสัญจร ทางเท้า ถนน ลานบิน รางรถไฟ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ คลอง บ่อน้ำ ท่อส่ง อุโมงค์ สะพาน อู่เรือ ท่าจอดหรือเทียบเรือทุกประเภท ทรัพย์สินที่อยู่ในเหมือง ทรัพย์สินที่อยู่ใต้ดิน ทรัพย์สินที่อยู่นอกชายฝั่ง (off-shore property)
10. ปศุสัตว์ พืชไร่ หรือตนไม้
11. ทรัพย์สินซึ่งได้รับความเสียหายซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการผลิต
12. เครื่อง จักรในระหว่างการติดตั้ง การเคลื่อนย้าย หรือการเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้ง (รวมทั้งการถอดถอนและติดตั้งใหม่) ซึ่งความเสียหาย เป็นผลโดยตรง จากการกระทำดังกล่าว
13. ทรัพย์สิน ที่อยู่ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซ่อมแซม ทดลอง การติดตั้ง หรือการซ่อมบำรุง รวมทั้งวัตถุหรือวัสดุที่จัดหาเพื่อการดังกล่าว
14. ทรัพย์สินที่ได้จัดทำประกันภัยไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
15. ทรัพย์สิน ที่ได้รับความเสียหายและสามารถเรียกร้องค่าเสียหาย หรือได้รับการ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง เว้นแต่ ความเสียหายส่วนเกินซึ่งไม่ได้รับการชดใช้ จากกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล และขนส่งดังกล่าว
16. ความ เสียหายของหม้อ กำเนิดไอน้ำ อุปกรณ์หรือท่อประหยัดเชื้อเพลิง กังหันไอน้ำ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งใช้แรงดันรวมถึงชิ้นส่วนของทรัพย์สิน ดังกล่าว อันเกิดจากการระเบิด หรือการแตกร้าวของตัวเอง
ข้อควรปฏิบัติหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ มีดังต่อไปนี้
1. การระวังป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินเกิดการลุกไหม้ขึ้นอีกครั้ง
แม้ ว่าทรัพย์สินจะถูกไฟไหม้หมด ก็ไม่ควรปล่อยให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นมาอีก ควรรักษาซากทรัพย์สินที่ยังเหลืออยู่ และป้องกันมิให้เกิดไฟลุกลามออกไปอีก เช่น ฝ้าย มันสำปะหลัง กระดาษ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ฯลฯ จึงควรจัดให้มีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเตรียมอุปกรณ์ในการดับเพลิง จนกว่าจะมีการตรวจสอบและเคลื่อนย้ายซากทรัพย์สินออกจนหมด
2. การระวังป้องกันทรัพย์สินไม่ให้สูญหาย
เป็น การรักษาซากไว้ เพื่อการจำหน่าย และลดปัญหาข้อโต้แย้งเรื่องจำนวนของสินค้า ซึ่งในการตรวจสอบอาจต้องใช้ข้อมูลฐานจากซากทรัพย์ โดยอาจว่าจ้างให้เจ้าพนักงานตำรวจนอกเวร เฝ้าดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
3. การบรรเทาป้องกันทรัพย์สิน ไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมขึ้นอีก
ทรัพย์สิน บางประเภท อาจนำมาใช้ใหม่ได้อีก แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน ทรัพย์สินอาจเสียหายจนไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ เช่น ข้าวเปลือกหรือข้าวสารที่เปียกน้ำ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ข้าวเปลือกจะงอกราก และข้าวสารจะบูดและแตกร่วนเป็นผง แต่ถ้านำข้าวเปลือกมาตากแห้ง และสีทันทีจะแก้ไขได้หรือถ้านำข้าวสารผสมกับ ข้าวเก่าจะมีการดูดซึมน้ำ ทำให้ข้าวสารไม่แตกร่วน หรือกรณีเครื่องจักรที่ทิ้งไว้นานจะมีสนิมขึ้น และทำให้อุปกรณ์บางตัวอาจเสีย จนไม่สามารถใช้งานได้ จึงควรลงน้ำมันเคลือบไว้เพื่อป้องกันสนิมขึ้นเป็นต้น
4. การรักษาสภาพซากทรัพย์สินไว้
เพื่อ เป็นการรักษาสภาพซาก เพื่อรอการตรวจสอบจากกองพิสูจน์หลักฐาน และบริษัทประกันภัยในการหาสาเหตุของ การเกิดอัคคีภัย หากมีความจำเป็นที่ต้องเคลื่อนย้ายซากทรัพย์ เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกขึ้นมาอีก และเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สิน ไม่ให้เสียหายเพิ่มเติม หรือเหตุจำเป็นอื่นใดก็ตาม ท่านควรถ่ายภาพบันทึกสภาพไว้ และทำผังแสดงตำแหน่งกอง ขนาดกอง และชนิดของสินค้า รวมทั้งควรเก็บรักษาซากไว้
5. การสำรวจตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้น
การ จัดทำผังและรายละเอียด จะช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบความเสียหาย และช่วยให้ท่านสามารถทราบจำนวนความเสียหายที่แท้จริง และช่วยให้การเรียกร้องค่าเสียหายทำได้เร็วขึ้น