INSURANCETHAI.NET
Sat 21/12/2024 22:12:37
Home » การแพทย์ » โรค RSV\"you

โรค RSV

2020/10/22 2041👁️‍🗨️

RSV = Respiratory Syncytial Virus เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิด โรคในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ทำให้ร่างกายผลิตเสมหะออกมาจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้เนื่องจากมักเกิดพยาธิสภาพในส่วนของหลอดลมเล็ก (bronchiole) และถุงลม (alveoli) ทำให้มีการสร้างสิ่งคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก และมีการหดตัวของหลอดลมเนื่องจากการบวมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจต่างๆ ส่งผลให้เด็กมีอาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบากได้อย่างรวดเร็ว เชื้อนี้ติดต่อกันได้โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ
 

ไวรัส RSV คืออะไร

RSV คือเชื้อไวรัสสุดฮิตที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาวมักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กเล็ก อันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุและการติดเชื้อไวรัส RSV

  • ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้
  • หากเกิดในผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่มีสุขภาพแข็งแรง จะหายได้เอง
  • หากเกิดในเด็กเล็ก ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ อาจมีอาการรุนแรง โดยเฉพาะ ต่ำกว่า 5 ขวบ
  • ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ ก็เสี่ยง

เชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกาย ปัจจุบันเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรงน้อยมาก เพราะไวรัส RSV ไม่ใช่เชื้อโรคที่ร้ายแรง แต่สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักมาจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะเด็กเล็กมาก ๆ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด คลอดก่อนกำหนด และมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจถึงขั้นการหายใจล้มเหลว ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิต

วิธีการป้องกัน

  • ให้เด็ก ๆ ล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดต่อทางการสัมผัส
  • ใส่หน้ากากอนามัยในที่ที่คนพลุกพล่าน
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ
  • ให้เด็กดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อลดภาวะขาดน้ำและช่วยขับเสมหะออกจากร่างกาย
  • ถ้าเป็นเด็กเล็กที่ยังไม่หย่านม ให้เด็กดูดนมมากที่สุดตามต้องการ
  • แยกอุปกรณ์และภาชนะต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคน

วิธีสังเกตอาการว่าติดเชื้อไวรัส RSV หรือไม่

ใช้เวลาในการฝักตัว 3-6 วัน หลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา เริ่มจากการมีน้ำมูก จาม ไอ ทำให้รู้ตัวช้า จึงต้องคอยสังเกตอาการของลูก พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มด้วย เช่น อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ไอ จาม มีเสมหะจำนวนมาก หายใจเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าหลอดลมตีบ หรือหลอดลมฝอยอักเสบ

การดำเนินโรคจะเป็นอยู่ 5-7 วัน บางรายในช่วง 1-2 วันแรกมีอาการไม่รุนแรง แต่ในช่วงวันที่ 3-5 ของโรคจะมีอาการรุนแรงมากสุด จากนั้นอาการจะทุเลาลง

อาการของโรค RSV

บางอย่างอาจคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ (ส่วนใหญ่ไข้ไม่สูงนัก) ไอ จาม

  • หอบเหนื่อย
  • หายใจเร็ว หายใจแรง
  • หายใจครืดคราด
  • ตัวเขียว
  • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
  • มีเสมหะมาก
  • ไอโขลกๆ

การรักษา

ไวรัส RSV ไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกัน ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ จึงรักษาตามอาการ รักษาประคับประคอง ยาลดไข้ ให้ยาพ่นเพิ่มเพื่อขยายหลอดลมรายที่มีลักษณะของหลอดลมตีบ การเคาะปอดและดูดเสมหะ การดูแลเรื่องการหายใจและเสมหะ เช่น ให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ หรือพ่นยา

ผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ค่อยดี และเริ่มมีออกซิเจนในเลือดต่ำลง การรักษาจะเป็นในรูปแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะ รวมถึงให้ออกซิเจน ส่วนในรายที่มีอาการหนักมาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้การดูแลในหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติจนกว่าอาการจะดีขึ้น

เด็กเล็กที่อ่อนแอมาก เช่น เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีโรคหัวใจโรคปอด และหอบหืด อาจมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว อาจหยุดหายใจเป็นช่วงๆ หายใจล้มเหลว จนต้องนำเข้าหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย

ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อมัยโคพลาสมา เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาที่ครอบคลุมการติดเชื้อเหล่านี้ตามความเหมาะสม

เป็นแล้วจะเป็นซ้ำอีกได้หรือไม่
ไวรัส RSV มี 2 กลุ่มย่อย คือ A และ B ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยครั้งแรกไม่สามารถป้องกันได้ ถ้าเป็นซ้ำๆกันอาการจะไม่รุนแรงมากเท่ากับในครั้งแรก 





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow