INSURANCETHAI.NET
Tue 21/01/2025 17:54:37
Home » ความรู้รถยนต์ » 10 หนทางดูแลเกียร์ AUTO\"you

10 หนทางดูแลเกียร์ AUTO

2013/10/05 1951👁️‍🗨️

1. ควรเปลี่ยนถ่าย ATF (น้ำมันเกียร์) ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

แม้ตามกำหนดที่ โรงงานได้กำหนดไว้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ เรา ติดๆ ขัดๆ ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งาน เดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวัน นานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุดกับเขาหน่อย นึง

ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ

2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อย

ควร ให้โอกาสมันได้ทำ “หน้าที่อัตโนมัติ” ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนดจังหวะ การเปลี่ยนเกียร์อยู่แล้วเป็นปกติวิสัย

มีเจ้าของรถบางท่านที่เชื่อ คำโฆษณาว่าเกียร์ออโต้สมัยใหม่สามารถโยกเปลี่ยนได้ตามใจชอบ ก็เลยเอานิสัยเดิมที่เคยใช้รถเกียร์ธรรมดามาใช้กับ AT คือเชนจ์ขึ้น-ลง ปรากฏว่า อายุเกียร์ไม่ข้ามปีที่ 2 หรือไม่เกิน 40,000 กม. ด้วยซ้ำครับ พัง! สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทั้งวันจนเป็นนิสัย ชิ้นส่วนภายในเครียดตลอดเวลา ความร้อนสูงจากแรงดัน ATF ที่สูงเกินไป ทำให้สึกหรอสูง จนแรงดัน ATF ไม่คงที่ ทุกอย่างพังหมดครับ และพังอย่างเร็วซะด้วย!

บางท่านที่ไม่มากประสบการณ์ก็อาจเผลอกด Overdrive (เกียร์สำหรับลดรอบเครื่องยนต์) ไว้ทั้งวัน โดยมิได้สังเกตอาการก็มี

3. ยุคหนึ่งเชื่อกันว่า ถ้าติดไฟแดงก็ควร “พักเกียร์”

ใช่ ครับ ผมเองในอดีต 10 ปีก่อนก็ทำเช่นนี้บ่อยๆ คือเต็มใจปลดเกียร์เป็น N ทุกครั้งที่ติดไฟแดง โดยหวังว่าจะช่วยเป็นการพักเกียร์! แต่ความจริงกลับไม่ต้องทำเช่นนั้น

การใช้งาน AT ให้ยืนนาน ควรเข้าใจว่าทุกครั้งที่เรา “OFF Gear” น้ำมัน ATF จะหยุดแรงดันของมันทันทีครับ จำ “หลุมฉิ่ง” Orifice Valve ที่มีลูกปืนเม็ดเล็กๆ ทนๆ กลิ้งอุดและเปิดวาล์ว ATF ได้ไหมครับ ยามใดที่ ON Gear ลูกปืนในหลุมฉิ่งเหล่านี้จะเปิดให้ ATF ผ่านด้วยแรงดันน้ำมัน ATF ที่อัดอยู่เต็ม VB ( Valve body สมองเกียร์) เพื่อ hold ตำแหน่งเกียร์ D อยู่

แต่หากเราเข้าตำแหน่ง N เจ้า ATF ก็หยุดเดิน และไม่ “Standby” ลูกปืนเปิด-ปิด Orifice Valve ก็ปิดตัวลงนอนแอ้งแม้งใน “หลุมฉิ่ง” พอเราเข้าเกียร์ D เพื่อออกตัวในจังหวะไฟเขียว …เท่านั้นละครับ ATF มันก็แย่งกันสูบฉีดด้วยแรงดันให้ไหลวกวนใน VB สมองเกียร์ จงคิดเอาเถิดครับว่า วันหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งที่คุณได้ทำเช่นนี้ แรงดัน ATF มันจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา ไม่ Constant สักที ของเหลว (ATF) เมื่อเคลื่อนตัวไหลไป-มาด้วยแรงดันบ่อยๆ ความร้อนก็ไม่คลายแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ สี่แยกแล้วสี่แยกเล่า หยุดแล้วหยุดเล่า Orifice Valve ต้องทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุดกะปริบกะปรอย มันจะทนไหวหรือครับ ต่อไปนี้ให้ทำอย่างนี้

หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควร “Hold D” เอาไว้ โดยเหยียบแป้นเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเข้า OFF Gear เป็น N อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุเกียร์ได้อีกโขเลยละครับ ด้วยวิธีง่ายๆนี้ จำไว้ต่อไปนี้หยุดแป๊บเดียวไม่ต้องปลดเกียร์

4. อย่าปลดให้เป็น N (ว่าง) เพื่อให้รถไหล เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันก่อนหยุดไฟแดง

วิธี ช่วยประหยัดน้ำมันเช่นนี้ไม่ดีแน่ แม้จะดีบ้างกับความประหยัดเชื้อเพลิงลิตรละ 10-15 บาท แต่เกียร์ออโต้มันไม่ชอบ ควรปล่อยให้มัน ON Gear ไปจนถึงไฟแดงดีกว่าครับ แล้วแตะเบรกหยุดมันจะทนกว่ามากเลยครับ อีกอย่าง ความประหยัดเชื้อเพลิงด้วยวิธีไหลในตำแหน่ง N ก็ช่วยประหยัดแค่ 2-3% เท่านั้นเอง พูดถึงค่าซ่อมเกียร์ราว 2-3 หมื่น จะคุ้มหรือ!?

5. การ Take Off แบบในหนัง คือออกรถให้ล้อเอี๊ยดโชว์นั่นน่ะ อย่าทำเป็นอันขาด

สิ่ง ที่จะพังเร็วคือ FP (Friction Plate) ที่เรียงเป็นตับอยู่ในเรือนเกียร์ไงครับ มันจะสึกจากความร้อนที่เสียดสีฉับพลัน น้ำมัน ATF ก็ร้อนสูง (ฮีต) บ่อยๆ เข้า เจ้า FP ซึ่งหนาแค่ 2-3 มิลลิเมตร ก็ไหม้ได้ครับ นึกถึงภาพเบิ้ลคันเร่ง บรื้นๆๆ… ในขณะที่ AT อยู่ในตำแหน่ง N วัดรอบขึ้นไปตั้ง 3,000-5,000 rpm แล้วโยกมาที่ N ทันที “จ๊ากโชว์” ได้แน่ครับ แต่ตับไตไส้พุงของ AT มันจะพังคาที่ ในการทำเช่นนี้ไม่ถึง 10 ที ลำพังเจ้าของแบบเราๆ คงไม่ทำเช่นนี้ แต่กล่าวเผื่อไว้สำหรับวัยรุ่นรถซิ่งนะครับ แอบเอารถคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กอู่บางคนแอบเอารถลูกค้าไปซิ่งเล่น ปรากฏว่าพัง พังชั่วไม่ข้ามคืนนี้แหละ
ฉะนั้น อย่า Take Off เพื่อ Show Off เป็นอันขาด!

gear-auto

6. ขณะลากจูง หรือใช้ระบบ “Fly in Four” หรือ “Shift on the Fly” ควรศึกษาคู่มือให้ดี

ก่อนอื่นให้ทราบจากผู้ขาย หรือคำโฆษณา หรือคู่มือประจำรถก่อนว่าเขากำหนดความเร็วในการเล่นฟังก์ชันไว้เท่าใด

ใน เกียร์ AT ยุคก่อน ในกรณีต้องลากจูงรถ เขาจะกำหนดความเร็วมักไม่เกิน 40 กม./ชม. ซึ่งเร็วแค่นี้จะไม่เป็นการทำลายเกียร์ ในรถรุ่นใหม่ เกียร์ CPU อาจลากได้เร็วขึ้นถึง 60-80 กม./ชม. แต่หากไม่แน่ใจ ควรลากไปเรื่อยๆ ที่ความเร็ว 40-50 กม./ชม. แค่นี้ดีมากครับ ไม่ว่าเกียร์ออโต้ของเราจะเป็นยุคไหนๆ ปลอดภัย ถนอมมันเอาไว้ก่อนจะดีกว่า

ส่วนรถ OFF Road 4×4 ประดามีที่โฆษณากันว่าเปลี่ยนเป็นขับ 4 ล้อได้ ในขณะที่วิ่งเร็วๆ เราเจ้าของรถก็ควรเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ในคู่มือกำหนดไว้เช่นไร ที่ความเร็วไม่เกินเท่าไร ก็สมควรปฏิบัติตามนั้น

ฟังก์ชัน เปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจาก 2 ล้อ มาเป็น 4 ล้อ ขณะรถวิ่งถูกเรียกว่า “Fly in Four” หรือ “Shift on the Fly” จะกำหนดไว้เฉพาะการขับเคลื่อนจาก 2H มาเป็น 4H หรือจากขับเคลื่อนปกติ 2 High เป็น 4 High เท่านั้น ความเร็วที่โฆษณาไว้ก็แถวๆ 60-80 กม./ชม. ไม่ถึง 100 กม./ชม. เพราะอัตราทดเกียร์ของแต่ละยี่ห้อที่โฆษณา รวมถึงเส้นรอบวงจากขนาดของวงล้อก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงและถูกหลงลืม ดังนั้นควร “เมคชัวร์” ในการ Shift on the Fly หรือเปลี่ยนเกียร์จาก 2H มาเป็น 4H ด้วยการใช้ความเร็วต่ำๆ เข้าไว้จะชัวร์กว่า อย่าเปลี่ยนที่ความเร็วระดับ 100 เลยครับ เขาโฆษณาว่าทำได้จริงอยู่ แต่จะทำได้แค่ไหน หรืออายุเกียร์ AT จะทนในอายุการใช้งานเท่าใด เราผู้เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่รับผิดชอบ

หากทำอะไรในความเร็วที่เกินเลยไป บางทีรถอาจพลิกคว่ำในความเร็วขณะที่เปลี่ยน 2H เป็น 4H หรือไม่ก็เกียร์ AT อาจพังเร็วขึ้น

ที่ แน่ๆ หากจะใช้ Shift on the Fly (เปลี่ยนจาก 2H เป็น 4H) ขณะรถวิ่ง ควรให้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่ D (อย่าไปที่ D อื่นๆ) และความเร็วแถวๆ 40-50 กม./ชม. ก็จะดี อย่าเชื่อโฆษณาอย่างเดียว ควรใช้หลักความจริงของเกียร์ AT เข้าไว้

7. ไม่ควรใส่อะไรผสมลงไปใน ATF ..หัวเชื้อน้ำมันเกียร์ AT ?!

เพราะ เกียร์ AT ต่างกับเกียร์ธรรมดา 5 สปีด (Manaul 5 Speed) ที่เราเคยใช้ เจ้าอย่างหลังนี่มีหัวเชื้อดีๆ (Additive Fluid) ก็จะช่วยให้ชุดเกียร์หมุนลื่น หมุนเงียบขึ้น แน่นอนครับ เกียร์ธรรมดาถ้าหมุนคล่อง ลื่นดี เกียร์เข้าง่าย เชนจ์เกียร์ได้ฉับไว ขับได้สนุก

แต่เกียร์ AT มันไม่สนครับ เพราะ FP Friction Plate ทำหน้าที่ตามชื่อของมันอยู่แล้ว ความลื่นเหลือล้นในน้ำมัน ATF จึงห้ามเด็ดขาด ควรยืนยันใช้เบอร์เดียว มาตรฐานเดียวกับที่สมุดคู่มือประจำรถกำหนดไว้เท่านั้น อย่างยิ่ง หรือหย่อนจากที่กำหนดในคู่มือโดยเด็ดขาด

อ้อ คำถามที่ว่าน้ำมัน ATF แบบสังเคราะห์สมัยใหม่ที่เหนือมาตรฐานกำหนด ใช้ได้หรือไม่นั้น ควรสอบถามศูนย์บริการหรือผู้ชำนาญดูก่อนครับ แต่หากเป็นผม ผมยังคงยืนยันใช้ตาม spec เดิมครับ เพียงแต่ขยันเปลี่ยนหน่อยเท่านั้นเอง

8. ก่อนเข้า D ควรเหยียบแป้นเบรกไว้ก่อนหรือไม่?

ก็ ได้ครับ จะเหยียบก็ได้ หรือไม่ต้องก็ได้ ในกรณีที่เหยียบแป้นเบรกไว้ก็เพื่อไม่ให้รถกระตุกในขณะที่เข้า D เท่านั้นเอง หากเป็นรถเก่า เกียร์รุ่นเก่าๆ เวลา On gear จะกระตุกจนตกใจ ก็ควรเหยียบแป้นเบรกให้เป็นนิสัยก่อนเข้า D เพราะเกียร์ AT รุ่นเก่าจะกระตุกมากจนน่ารำคาญ รวมไปถึงเกียร์ AT ที่มีอายุการใช้งานมานมนานหลายปีอาจมีอาการสึกหรอให้เห็นชัดด้วยอาการกระตุก อย่างแรงน่ารำคาญ การเหยียบแป้นเบรกเพื่อช่วย On gear ด้วยความนุ่มนวลไว้ก่อนเข้า D ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ ส่วนจำเป็นมากน้อยอย่างไรก็แล้วแต่กรณีครับ แต่ผมเหยียบแป้นเบรกจนเป็นนิสัยก็ไม่ลำบากแต่อย่างใด

9. หมั่นสังเกตอาการกระตุกของ AT

ยาม ใดที่เรารู้สึกว่าเกียร์ AT ที่เราใช้อยู่ทุกวันมันเกิดกระตุกยิ่งกว่าเดิม อย่าวางใจนะครับ ควรพบช่างเพื่อปรับตั้ง “Vacuum Control : VC” ทันที อย่าแกล้งเมิน บางทีอาการกระตุกของ AT จะหายได้ง่ายๆ ด้วยการปรับตั้ง VC เท่านั้นเอง แป๊บเดียวก็เสร็จ

แต่ถ้าหาก VC ถูกใช้มานานหลายปีดีดักแล้วละก็ สมควรสั่งอะไหล่มาเปลี่ยนใหม่ครับ ไม่ควรซ่อม เพราะชื่อมันก็บอกครับว่าเป็น Vacuum ซึ่งความหมายก็คือ มันทำงานด้วยสุญญากาศเท่านั้น เสียแล้ว เสื่อมแล้ว รั่วแล้วซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนยกชุดของแท้

แต่หากเปลี่ยน VC ใหม่ยกชุดแล้ว ยังมีอาการ คราวนี้ก็ควรล้างสมองเกียร์ VB ด้วยน้ำยา Flush & Fill สักที หากไม่ปล่อยให้อาการนี้เกิดขึ้นนานจนลำบากยุ่งยากละก็ แค่ล้างด้วยน้ำมัน Flush & Fill เดี๋ยวเดียว ชุด VB สมองเกียร์ ก็สะอาดเอี่ยมอีกครั้ง ไม่กระตุกอีกต่อไปชั่วระยะเวลาอีกนานปี

10. หลังจากสตาร์ทรถเกียร์ AT แล้ว อย่าผละออกจากรถไปที่อื่น !

บาง ครั้งเจ้าของรถอาจเผลอเข้าตำแหน่ง D เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ลำพังเมื่อเปิด แอร์ เอาไว้ เจ้าอุปกรณ์ Idle UP Speed หรือเรียกกันว่า “Vacuum Air” อาจตัดเอาดื้อๆ เพราะอุณหภูมิความเย็นหนาวของแอร์แต่ละเวลา เย็นเร็วเย็นช้าไม่เท่ากัน ที่ตำแหน่งเกียร์ D บางครั้งเมื่อมีโหลดแอร์ รถเราถูกโหลดด้วยการเปิดแอร์ รถก็อาจจะหยุดนิ่งได้ แต่พอ Vacuum Air ตัด เครื่องยนต์ก็ปลดโหลดแอร์ไปอีกหน่อย รอบเครื่องยนต์เร่งขึ้นเอง ราว 500-700 rpm ก็อาจจะส่งผลโดยตรงให้เกียร์ ON D ทันที รถอาจวิ่งออกไปได้ดื้อๆ

หรือ บางทีโรงจอดรถเป็นเนินลาดขึ้น พอ Vacuum Air ตัด รอบก็เร่ง 500-700 rpm อาจจะทำให้รถวิ่งเองได้ด้วยเกียร์ D ที่เผลอเข้าเอาไว้ เรื่องไม่เป็นเรื่องก็มักเป็นเรื่องพาดหัวหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ ครับ ผมเคยโดนกับตัวคือ เผลอ ON D เอาไว้ แล้วรถมันวิ่งไปเอง! เร็วเสียด้วยครับ ในระดับความเร็วสัก 15 กม./ชม. ปีนฟุตบาทชนรั้วข้างบ้านเฉยเลย

3 เหตุผลที่คุณควรเปลี่ยนเกียร์มาตำแหน่ง N เมื่อมีโอกาส ตราบเท่าที่คุณมองว่าสมควร

1. ปลอดภัยมากกว่า
ทุกครั้งที่คุณเหยียบเบรกเข้าเกียร์ D แม้รถจะหยุดนิ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่มันจะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในการจราจรติดขัด ที่คุณอาจจะเผลอเรอได้เพียงแค่คุณผ่อนน้ำหนักที่แป้นเบรก นิดเดียว รถที่อยู่ในตำแหน่ง D ก็พร้อมที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าทันที ดังนั้น หากรถติดขัดสาหัสมากนานหลายนาที การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ มายัง N ย่อมจะทำให้คุณปลอดภัยมากกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้

2. เรื่องสึกหรอ
แม้จะไม่มีข้อพิสูจน์ที่ฟันธงกันไปเลยว่า การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์ D ไป N จะมีผลต่อกระบวนการสึกหรอของชุดเกียร์มากน้อยเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงทางด้านเทคนิคในรถยนต์เกียร์อัตโนมัตินั้น คือ ทุกครั้งที่คุณเข้าตำแหน่งเกียร์ขับเคลื่อน ตัวชุด Torque Covertor จะถูกเชื่อมเข้ากับชุดฟลายวีลที่ด้านหลังเครื่องยนต์

หากแต่ที่รถไม่ขับเคลื่อนนั้น เพราะว่า มีแรงเบรกมากพอที่จะเอาชนะแรงบิดจากเครื่องยนต์ ซึ่งยังไม่มีแรงบิดมากนักที่กำลังเครื่องยนต์รอบเดินเบา ทำให้รถหยุดนิ่งกับที่ได้ ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณเข้าเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกไว้ จะมีการใช้งานระบบเบรกอย่างเต็มที่เพื่อเอาชนะแรงจากเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถสร้างการเสื่อมสภาพให้กับเบรก ได้ในระยะยาวอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะชุดหม้อลมและท่อทางเดินน้ำมันที่จะรับแรงดันเป็นเวลานานๆ ต่อเนื่อง

เช่นเดียวกัน การคงตำแหน่งเกียร์ที่ D ในส่วนของตัวเกียร์เองก็ทำให้ชุด Torque convertor ถูกต่อติดกับเครื่องยนต์ตลอดเวลาและ ภายในเจ้าตัวแปลงกำลังเครื่องยนต์นี้ก็มีการหมุนเวียนน้ำมันเกียร์เช่นกัน ซึ่งจุดนี้เองที่ทำมีการถกเถียงกันว่าเกียร์จะเสื่อมสภาพถ้าค้างเป็นเวลา นานๆ หรือไม่นั่นเอง

ประเด็นที่ถกเถียงกันในเรื่องนี้ ก็มาจากในระบบเกียร์เองมีการใช้แรงดันน้ำมันในการทำงานเช่นกันเพื่อปรับ ตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม และมีแรงดันสูง ซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อระบบถ้าเปลี่ยนไปๆมาๆ บ่อยครั้ง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็มีเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า ถ้าน้ำมันมีการหมุนวนมากๆ โดยไม่เคลื่อนไหว อาจจะก่อให้เกิดความร้อนสะสม มากขึ้นในน้ำมัน และมันคือศัตรูที่สำคัญ ที่ทำให้ระบบเกียร์เสื่อมสมรรถนะเร็วขึ้นเช่นกัน รวมถึงในส่วนของระบบคลัทช์ระหว่างเฟืองเกียร์ด้วย ที่จะพร้อมทำงานตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าอย่างไรก็มีการเสื่อมสมรรถนะได้ทั้งสิ้น

**ดังนั้นในเรื่องนี้ถ้ามองแล้วต้องมาพบ กันตรงกลาง คือถ้าคิดว่ารถติดเวลานานมาก สาหัสมากก็ให้เปลี่ยนตำแหน่งจาก D มา N น่าจะดีกว่า และเช่นเดียวกัน ถ้าตัวเลขเวลารอที่สี่แยกไม่ได้นานอย่างที่คิด ก็คงค้างที่ตำแหน่งเดิมแล้วเหยียบเบรกเอาก็น่าจะดีกว่าเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้ดุลพินิจของผู้ขับขี่

3. ความประหยัด
ความประหยัดในการใช้น้ำมันของ เครื่อง ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่เปลี่ยน เรื่องนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดเกียร์ แต่ก็อธิบายไม่ยาก และสามารถตอบได้จากเหตุผลข้อที่แล้วว่า ทุกครั้งที่เราเข้าเกียร์ D เหยียบเบรกแล้วรถไม่เคลื่อนมาจากการกำลังเบรกต้านไว้ มันก็คือการที่เราสั่งรถเดินหน้าอยู่ตลอดเวลา

ทั้งที่ความจริงเราไม่ได้จะเดินหน้า ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ โดยตรงเพราะในรถบางรุ่นจะมีการปรับการทำงานเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นอีกเล็ก น้อยเพื่อความสะดวกและให้กำลังของการออกตัว และมันหมายถึงการสิ้นเปลืองน้ำมันนั่นเอง โดยเฉพาะเมื่อเครื่องยนต์พยายามที่จะสู้กำลังเบรกอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้มี ความต้องการเร่งในช่วงสั้นๆบ่อยครั้ง ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าเกียร์จะมีการใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูง กว่าตอนที่เราไม่เข้าเกียร์ D หรืออยู่ในตำแหน่งเกียร์ N

แม้การปรับตำแหน่งเกียร์ N ไป D จะมีข้อดีและเสียต่างกัน แต่การเปลี่ยนตำแหน่งนี้ ก็ยืนยันว่ามันไม่สร้างความสึกหรอเท่ากับ การเปลี่ยนตำแหน่งกับสู่เกียร์ P ไป มาเป็นประจำที่รถหยุดซึ่งบางคนมักทำติดเป็นนิสัย หากแต่ไม่ว่าวันนี้คุณจะมีเหตุผลอะไร ทางออกที่ดีในการถนอมชุดเกียร์และปลอดภัยที่สุด ในการขับขี่เพื่อป้องกันไม่เผลอเรอ คือการปรับตำแหน่งเกียร์ไปที่ N เมื่อรถติดเป็นเวลานานๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนที่สำคัญที่สุดคือคุณในฐานะผู้ขับขี่ต้องตัดสินใจว่าเมื่อไรควรจะปรับเข้าสู่ N

เกียร์ Auto มันพังเพราะแรงบิด….ไม่ใช่รอบเครื่อง

เกียร์ Auto จะส่งผ่านกำลังโดยน้ำมันและล็อกอัพคลัท ดังนั้น มันจะไม่กระตุกแรงจนเกียร์กระจายเหมือนคลัทแห้ง เกียร์ออโต้เป็น Planetary gear ทั้งหมด
หมายความว่า….แต่ละเกียร์จะไม่ใช่เพืองสองอันขบกัน แต่เป็นเพือง ห้าตัวขบกันในแต่ละเกียร์ ดังนั้นความคงทนจะสูงกว่ามาก แม้ตัวจะเล็ก กว่า เกียร์ของรอก กับเครน ที่รับน้ำหนักเป็นร้อยตันก็ ใช้ Planetary ทั้งนั้น

รถแดรกของอเมริกาสองพันกว่าแรงม้าก็เป็นเกียร์ออโต้ ใช้สับ เอง2-3เกียร์ ตามใจชอบ
รถ F1 พันกว่าแรงม้าเป็นเกียร์ออโต้แบบกดปุ่มลากเกียร์เองมาเป็นสิบปีแล้ว มันยังไม่พังเลย

สาเหตุและปัจจัยหลักที่ทำให้เกียร์Autoไปก่อนวัยอันควรก็น่าจะมาจาก

1. เมื่อต้องใช้แรงบิดสูงเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆเช่นลากรถอีกคันให้ใช้ความเร็วต่ำและเกียร์ลดลง1เกียร์เสมอ

2. ขึ้นเขา-ลงเขาบ่อยๆน้ำมันเกียร์จะใหลไปกองที่ด้านหน้าและด้านหลัง ของห้องเกียร์ทำให้แรงดันน้ำมันของชุดคลัทไม่คงที่พอแก้ได้ คือน้ำมันเกียร์เพิ่มอีก 1 ลิตรกันเหนียวเพื่อให้แรงดันน้ำมันของชุดคลัทคงที่ไม่ให้แรง ดันต่ำจนคลัทลื่นและสีกันจนไหม้ในห้องเกียร์

3. ขึ้นเขา-ลงเขาลากของบ่อยๆล็อกอัพคลัทในลูกตุ้มทอร์ คคอนเวอร์เตอร์ต้องทำงานหนักกว่าปกติเป็นเวลานานถ้าเป็นของเก่าใช้ งานนานแล้วความหนาลดลงก็มีโอกาสไหม้ได้ถ้าน้ำมันระบายความร้อน ไม่ดีดังนั้นออยคูลเลอร์ของเกียร์ต้องใหญ่พอที่จะรับมือควาร้อน มากกว่าปกติได้ พวกที่ชอบเอาออยคูลเลอร์ไปซุกใต้กันชนไม่รับลมปะทะรถมักจะเสร็จทุกราย ใช้งานหนักน้ำมันเกียร์ไหม้ดำปี๋

4. ถ้าออยคูลเลอร์เป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำเวลาเครื่องร้อนจัด เพราะน้ำในหม้อน้ำแห้งเมื่อไรก็ตามน้ำมันเกียร์จะเสื่อมสภาพอย่าง รวดเร็วแม้จะเพิ่งเปลี่ยนมาก็ไม่รอดให้ถ่ายน้ำมันเกียร์ทิ้งทุก ครั้งที่เครื่องโอเวอร์ฮีต

5. ลุยน้ำสูงจนท่วมห้องเกียร์เมื่อห้องเกียร์โดนน้ำอากาศในห้อง เกียร์มันจะเย็นตัวอย่างรวดเร็วและดูดน้ำเข้าห้องเกียร์ต้อง เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุกครั้งที่รถลุยน้ำมาทันทีเพราะน้ำเข้าแล้ว ชุดคลัทจะบวมและพังอย่างรวดเร็วแม้จะเข้าไม่มากก็สามารถพังได้ ไม่เหมือนเกียร์M/Tที่ยังใจเย็นได้ ถ้าน้ำเข้าน้อยๆขับไม่กี่สิบกิโลน้ำก็เดือดหายไปเองไม่ต้องเปลี่ยน น้ำมันให้เปลืองเงิน

6. ไม่ยอมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องพร้อมน้ำมันเกียร์ทุกๆ8,000-15,000 km

 





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow