INSURANCETHAI.NET
Tue 21/01/2025 17:35:53
Home » ความรู้รถยนต์ » ข้อควรในการปฏิบัติการใช้รถ ใช้ถนนอย่างปลอดภัย\"you

ข้อควรในการปฏิบัติการใช้รถ ใช้ถนนอย่างปลอดภัย

2015/05/20 1111👁️‍🗨️

ข้อควรในการปฏิบัติการใช้รถ ใช้ถนนอย่างปลอดภัย

เพื่อทุกชีวิตและอีกทั้งยังให้คุณมีเวลาพอที่จะแก้ไข ป้องกัน มิให้ท่านเกิดอุบัติเหตุ โดยคุณสามารถปฏิบัติเองได้ดังนี้

คนพร้อมรถพร้อม
เมื่อรู้สึกง่วงมีไข้ปวดศรีษะ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มา อย่าเพิ่งขับรถปล่อยให้คนที่มีร่างกายพร้อมช่วยขับแทนหรือคอยจนกว่าเราจะ พร้อม

นอกจากเราพร้อมแล้ว รถก็ต้องพร้อมด้วย ตรวจดูยางล้อ, น้ำมัน, กระจกมองข้างมองหลังให้เข้าทาง จัดที่นั่งให้เหมาะสม สตาร์ทอุ่นเครื่องสัก 1-2 นาที เอาละเราพร้อมจะออกเดินทางแล้ว

รัดแล้วล็อค

ช้าก่อน ถ้ายังไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัยและล็อคประตูรถให้เรียบร้อย เข็มขัดนิรภัยช่วยลดอันตรายจากอุบัติเหตุโดยป้องกันไม่ให้หน้าอกกระแทกกับ พวงมาลัยได้ถึง 90% นอกจากนี้ยังช่วยจัดท่านั่งของเราให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ อีกด้วย

ส่วนการล็อคประตูรถ จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ประสงค์ร้ายเข้ามาทำอันตรายได้ ในขณะก่อนออกรถและระหว่างรถติด

ทางซ้ายไปก่อน

การขับรถผ่านทางแยกที่ไม่มีไฟเขียวไฟแดง ใช้ชะลอความเร็วรถไว้ก่อนแล้วดูว่าในกรณีที่เรามาทางโท ต้องจอดรถให้รถทางเอกเขาไปก่อน แต่ในกรณีที่เป็นทางเอกด้วยกันให้รถที่อยู่ทางซ้ายมือไปก่อนเสมอ

ชิดซ้ายเสมอ

ไม่จริงเลย ที่ว่าเลนซ้ายมีไว้ให้เต่าคลาน
การขับรถชิดซ้าย ไม่ใช่เพียงข้อกำหนดของคนขับรถช้าขับขึ้นเขา หรือแซงคันอื่นแล้วเท่านั้น แต่ถือเป็นมารยาทมาตรฐานในการใช้ถนนร่วมกัน เพราะจะช่วยลดการเกิดเหตุได้ดีที่สุด
–   ถ้ากระจกบังลมหน้ารถยนต์แตกระหว่างเดินทาง ให้ทำความสะอาดเศษกระจกแล้วปิดกระจกบังลมประตูและช่องลมต่างๆ ในรถทั้งหมด ก็จะสามารถขับรถต่อไปได้ โดยที่ลมจะไม่พัดเข้าไปปะทะหน้าคนขับ (คล้ายกับปากเป่าลมเข้าขวด)
–   การวัดระดับน้ำมันเครื่องตอนเช้าต้องติดเครื่องยนต์ไว้สัก 3-5 นาทีก่อนทำการวัดจึงจะได้ระดับน้ำมันเครื่องที่ถูกต้อง (ห้ามดึงเหล็กวัดออกมาขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่)
–   รถที่ใช้งานในสภาพการจราจรติดขัด การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องต้องกระทำเร็วกว่าระยะที่กำหนด ถ้าการจราจรยิ่งติดขัดมากเท่าใด ระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องต้องถี่มากขึ้นตามกัน
–   ขณะที่วัดระดับน้ำมันเครื่อง ถ้าน้ำมันที่ติดปลายเหล็กวัดมีสีขาวขุ่นคล้ายสีน้ำนม แสดงว่ามีน้ำเข้าไปปนกับน้ำมันเครื่อง อาจเกิดจากประเก็นฝาสูบแตก
–   ขณะขับรถยนต์ในเวลาฝนตกถ้าเครื่องปัดน้ำฝนเสียกระทันหันและมีความจำเป็นที่ จะต้องเดินทางต่อโดยไม่หยุดรอฝนหยุดตก วิธีแก้ปัญหา ให้ใช้แชมพูสระผมทาที่กระจกหน้ารถด้านนอก หรือใช้ยาฉุน (จากก้นบุหรี่ฉีกๆ รวมกัน) ทาถูที่กระจกหน้ารถด้านนอก จะทำให้สามารถมองเห็นทางชัดเจนยิ่งขึ้นและขับรถต่อไปได้
–   ขณะตรวจ เติมน้ำมันเบรก ต้องระวังอย่าให้น้ำมันเบรกหยดเปื้อนสีตัวรถ เพราะน้ำมันเบรกจะทำลายสีรถให้เสียหาย
ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุกๆ 1 ปี หรือทุก 20,000 กม.
–   อย่าเปิดฝากระปุกน้ำมันเบรกไว้นานนับชั่วโมง เพราะน้ำมันเบรกจะดูดซับความชื้นจากอากาศ แล้วทำให้ปั้มเบรกในระบบเบรกเป็นสนิมได้ง่าย
–   ควรตรวจสอบยางรถยนต์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งหรือทุกครั้งที่เดินทางไกล
–   ขนาดความดันลมยางปกติ สำหรับรถเก๋งขนาดเล็ก 28 ปอนด์ / ตารางนิ้ว รถเก๋งขนาดกลาง 30 ปอนด์ / ตารางนิ้ว และรถเก๋งขนาดใหญ่ 32 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
–   ควรมีปั้มลมเล็กๆ ราคา 300-500 บาท ที่ใช้พลังจากแบตเตอรี่ติดรถไว้ เมื่อยางรถรั่วก็สามารถใช้สูบลมยางรถจนแข็งแล้วขับต่อไปจนถึงปั้มน้ำมันได้ อย่างสบาย ไม่ต้องเสียเวลาถอดล้อเปลี่ยนยางกันกลางถนนกลางแดด
–   ควรสลับยางทุกๆ 10,000 กม.
–   การทำความสะอาดไส้กรองอากาศเครื่องยนต์ ต้องใช้ลมเป่าจากด้านในของไส้กรองออกสู่ด้านนอกในลักษณะสวนทางกับอากาศที่ เครื่องยนต์ดูดเข้า
–   รถยนต์ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ ควรตรวจระดับน้ำมันเกียร์ทุกๆ 10,000 กม. หรือทุกๆ 3 เดือน
–   รถยนต์ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ ถ้ารถเสียไม่ควรใช้รถอื่นลาก (ระยะทางไกล) เพราะจะทำให้เกียร์ชำรุดได้ควรใช้รถยกให้ล้อหน้า (รถขับล้อหน้า) พ้นพื้นถนนก่อนลาก
–   รถยนต์ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ ควรมีสายไฟพ่วงแบตเตอรี่ติดรถไว้ เผื่อรถเสียจะได้ใช้พ่วงต่อไฟจากรถคันอื่น เพื่อสตาร์ทเครื่อง เพราะรถยนต์เกียร์อัตโนมัติใช้วิธีให้คนเข็นเพื่อกระตุกให้เครื่องติดเหมือน รถธรรมดาไม่ได้

–   ขณะถ่ายน้ำหม้อน้ำรถยนต์ถ้ายังไม่ได้เติมน้ำจนเต็ม อย่าเพิ่งปิดฝาหม้อน้ำ เพราะจะทำให้ลืมเติมน้ำ และเป็นเหตุให้เครื่องยนต์พังขณะใช้งาน

–   ถ้าพบว่าเครื่องยนต์ร้อนจัดขณะใช้งาน อย่าเปิดฝาหม้อน้ำทันทีทันใด เพราะไอน้ำในหม้อน้ำขณะนั้นจะมีอุณหภูมิ และความดันสูงมาก อาจพ่นใส่หน้าหรือแขนคนเปิดถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสได้ ต้องจอดรถให้เครื่องเย็นลงก่อน แล้วใช้ผ้าหนาๆ หรือกระสอบปิดทับฝาหม้อน้ำก่อนเปิด

เรื่องน้ำในรถยนต์

น้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำ ควรเปลี่ยนถ่ายทุก 6-9 เดือน, ควรตรวจดูฝาหม้อน้ำให้อยู่ในสภาพปกติ
น้ำฉีดกระจก ควรตรวจ-เติมให้อยู่ระดับ Max เสมอ
น้ำกลั่นแบตเตอรี่ ควรตรวจ-เติมทุกสัปดาห์
น้ำมันเบรก   ควรเปลี่ยนถ่ายทุก 1 ปี และตรวจสอบอย่าให้พร่อง
น้ำมันเกียร์, เฟื่องท้าย   ควรเปลี่ยนถ่ายทุก 1 ปี หรือ 20,000 กม.
น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ ควรตรวจ-เติมให้อยู่ในระดับ Max เสมอ
น้ำมัน เครื่อง  ควรเปลี่ยนถ่ายตามสเปกของน้ำมันแต่ละยี่ห้อๆ ที่กำหนดไว้หรือทุก 3,000 กม. สำหรับรถที่ใช้ในเมือง และไม่เกิน 5,000 กม. กับรถที่ใช้เดินทางไกลบ่อยๆ และ เปลี่ยนหม้อกรองน้ำมันเครื่องด้วยทุกครั้ง (ถ้าจะประหยัดก็เปลี่ยนครั้งเว้นครั้งก็ได้)

เบรกแตก
เมื่อเบรกแตก เหยียบแป้นเบรกแล้วจมหาย อย่าตกใจ ตั้งสติให้มั่นรีบใช้เท้าขวาย้ำเบรกถี่ๆ เพื่อเพิ่มแรงกดให้ผ้าเบรกในขณะที่ย้ำเบรกเท้าขวาเท้าซ้ายและมือซ้ายจะต้อง รีบเปลี่ยนเกียร์ (เกียร์ธรรมดา) จากเกียร์สูงลงเกียร์ต่ำทีละเกียร์พร้อมถอนเท้าจากคลัตช์ เมื่อความเร็วลดลงมากแล้วให้ดึงเบรกมือช่วย ดึงและปล่อยสลับกันไป เพื่อกันไม่ให้ล้อหลังล็อค (ถ้าล้อหลังล็อครถอาจจะหมุนได้) ทำไปพร้อมกับประคองรถเข้าข้างทางจนรถหยุด

วิธีง่ายๆ กับปัญหาเครื่องยนต์
สตาร์ทเครื่องแล้วเครื่องไม่หมุนหรือหมุนช้า เครื่องยนต์ไม่ติด

–   ตรวจว่ามีขี้เกลือขาวที่ขั้วแบตเตอรี่หรือไม่ ถ้ามีให้ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน หรือล้างด้วยน้ำเย็น และถอดขั้วมาทำความสะอาดด้วยกระดาษทราย
–   ตรวจขั้วแบตเตอรี่ หากสตาร์ทแล้วขั้วแบตเตอรี่ร้อน หรือขยับดูแล้วหลวม แสดงว่าไฟเดินไม่สะดวก ต้องขันขั้วแบตเตอรี่ให้แน่น
–   ตรวจสายพาน ถ้าพบว่าสายพานขาด หรือหย่อน ให้เปลี่ยนหรือปรับความตึงของสายพาน
–   สตาร์ทแล้วเครื่องหมุน แต่เครื่องไม่ติด ตรวจดูระดับน้ำมันในถัง โดยดูจากเกย์วัด
–   เครื่องยนต์เดินเบาไม่เรียบ สั่น และดับ ตรวจการหลุดหลวมของสายหัวเทียนที่ฝาจานจ่าย และหัวเทียน ถ้าหลวมต้องประกอบให้แน่น และตรวจการบอดของหัวเทียน
–   เครื่องยนต์กำลังตก ตรวจดูการหลุดหลวมของหัวเทียน หรือการทำงานของหัวเทียน ดูเกย์วัดความร้อน ถ้าพบว่ามีความร้อนสูงมาก แสดงว่าลูกสูบหรือชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ขยายตัว ทำให้เกิดความฝืด แก้ไขโดยหยุดรถดับเครื่อง เมื่อเครื่องยนต์เย็นแล้วเปิดฝาหม้อน้ำดูน้ำ ตรวจสอบความตึงของสายพาน หาจุดรั่วของน้ำ
–   เครื่องดับสตาร์ทไม่ติด เนื่องจากการขับรถขณะฝนตกหนัก หรือขับรถลุยน้ำใช้ผ้าแห้งเช็ดขั้วสายไฟ ฝาจานจ่าย และเรือนจานจ่ายให้แห้ง หรือฉีดน้ำยาสารพัดประโยชน์ (SONAX) ที่บริเวณหัวเทียนด้วย ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วค่อยสตาร์ทเครื่องใหม่

–   รถเร่งไม่ขึ้นหรือขึ้นช้า กลไกปั้มเร่งหลุดหลวม กรองอากาศอุดตัน ท่อยางสุญญากาศสำหรับเร่งไฟอัตโนมัติรั่ว หรือหลุด หรือหลวม ต้องประกอบเข้าที่เดิมผลของการสูบลมยางอ่อนเกินไป
–   ทำให้ยางลึกที่บ่าทั้งด้านนอก และด้านใน
–   ดอกยาง และผ้าใบร่อน
–   โครงผ้าใบขาด
–   ทำให้ยางเกิดความร้อนสูง

การตรวจลมยางต้องตรวจขณะยางเย็น หรือวิ่งไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร ควรสลับยางทุกๆ 10,000 กิโลเมตร

เครื่องปรับอากาศรถยนต์กินกำลังเครื่องยนต์ประมาณ 1 ถึง 3 แรงม้า หรือประมาณ 5% ของกำลังเครื่องยนต์ สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น 5-10%

–   ขณะเปิดสัญญาณไฟเลี้ยว ถ้าสังเกตเห็นดวงไฟที่โชว์ที่แผงหน้าปัดกระพริบเร็วหรือช้ากว่าปกติ หรือได้ยินเสียงทำงานของลีเลย์ไฟเลี้ยวดังถี่หรือช้ากว่าปกติแสดงว่าโคมไฟ เลี้ยวด้านหน้าหรือด้านท้ายรถอาจไส้หลอดขาด
–   ขณะขับรถอยู่ถ้าหลอดไฟสีแดงที่แผงหน้าปัด (ไฟชาร์ต) ติดขึ้นมาทันทีทันใดแสดงว่าอาจเกิดจากสายพานเครื่องยนต์ขาด
–   ขณะขับรถยนต์ลุยน้ำที่ท่วมขังอยู่ แล้วเกิดไฟสีแดงที่แผงหน้าปัด (ไฟชาร์ต) ติดขึ้นมากระทันหัน แสดงว่าน้ำท่วมเข้าไปถึงไดนาโม (ได-ชาร์ต) ของรถแล้ว ต้องระวังได-ชาร์ตจะเสียหาย
–   รถยนต์ที่ใช้เบรกแบบดรัม ถ้าลุยน้ำขึ้นมาใหม่ๆ ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ความเร็ว เพราะเบรกดรัมเปียกน้ำแล้วจะเบรกไม่อยู่ และผ้าเบรกจะแห้งช้ากว่าเบรกดิสต

ABS
ABS (Anti-lock Braking System) คือ ระบบเบรกที่ป้องกันล้อล็อค ABS ไม่ได้ทำให้เบรกดี หรือสั้นลง ABS จะช่วยได้เมื่อมีการเบรกอย่างกระทันหัน หรือบนถนนลื่น เพราะถ้าล้อล็อคในขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง จะทำให้ไม่สามารถบังคับทิศทางได้ด้วย รถจะไถลและเป๋ไปอย่างไม่มีทิศทางต้องปล่อยไป โอกาสชนย่อมสูง ถ้า ABS ทำงานระยะเบรกอาจจะยาวขึ้นก็เป็นได้ ไม่ใช่มี ABS แล้วเบรกจะดี หรือมีระยะสั้น    ดังนั้นการขับรถที่มี ABS ก็อย่าชะล่าใจ เพราะช่วยได้บางสถานการณ์เท่านั้น การเบรกกว่า 99% บนถนน ABS ไม่ได้ทำงาน แต่การที่มี ABS ย่อมดีกว่าไม่มี

เบรกแรง ถนนลื่น ล้อก็ล็อค และ ABS ก็ช่วยได้ ถนนลื่นไม่จำเป็นต้องเกิดจากฝนตกเท่านั้น ถ้ามีฝุ่นทรายมากถนนก็ลื่นได้ การป้องกันล้อล็อค ของ ABS ไม่ได้ช่วยบนถนนลื่นๆ เท่านั้น แต่การลื่นเฉพาะล้อใดล้อหนึ่ง และมีการเบรกกระทันหันอย่างรุนแรงล้อนั้นล็อคได้ รถจะปัดเป๋ ABS ช่วยได้ แต่ระยะเบรกอาจจะยาวขึ้น จึงควรเบรกพร้อมกับหาทิศทางหักหลบ ถ้าจำเป็นต้องหลบ ถ้าต้องเบรกหนักๆ สำหรับรถที่มี ABS ให้กดแช่ลงไปเลย เพราะการถอนเท้าและย้ำใหม่ ABS จะตัดการทำงาน และจะกลับทำงานใหม่ต้องใช้เวลาอีกหลายเสี้ยววินาที หรือไม่กลับมาทำงานเลยก็ได้

ถ้าไฟเตือน ABS ไม่ยอมดับหลังการบิดกุญแจทิ้งไว้ 3-5 วินาที หรือสว่างขึ้นขณะขับ แสดงว่าตอนนั้น ABS มีความบกพร่องให้ทดลองเบรกบนถนนที่ว่างๆ ว่าการเบรกยังเป็นปกติดีหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วการที่ ABS บกพร่องจะเป็นเพียงการป้องกันไม่ให้ล้อล็อค แต่ระบบเบรกพื้นฐานยังใช้งานได้ เป็นเหมือนรถที่ไม่มี ABS และยังสามารถขับต่อไปได้ ควรขับด้วยความระมัดระวัง และนำไปซ่อม ABS ต่อไป

เมาไม่ขับ (ง่วงก้ไม่ขับ)
จากสถานการณ์อุบัติเหตุยานยนต์ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้ทวีความรุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ ปี พ.ศ. 2536 คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุยานยนต์เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน และเกิดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจจากเหตุการณ์นี้ถึงปีละ 106,367 ล้านบาท ปัจจุบันอุบัติเหตุยานยนต์ยังคงเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตในคน วัยหนุ่มสาว หากไม่มีมาตรการรองรับคาดว่าในปี พ.ศ. 2545 จะมีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุยานยนต์เพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงละกว่า 3 คน และสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจอีกกว่า 300,000 ล้านบาท/ปี และจากปัญหาอุบัติเหตุยานยนต์ที่กล่าวมาข้างต้นมากกว่าร้อยละ 50 เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ขณะเมาสุรา กรมการแพทย์ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้เป็นแกนนำไปการรณรงค์ “เมาไม่ขับ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างจิตสำนึก ให้คนไทยได้ตระหนักว่าเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้ว ไม่ควรขับรถ

การตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด
ในปัจจุบันมีวิธีตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ 3 วิธีหลักๆ คือ
1.   ทางลมหายใจ โดยการเป่าจากปากเข้าไปในเครื่องตรวจตัวเลขที่ขึ้นอยู่บนเครื่องจะบอกระดับ แอลกอฮอล์ในเลือดเป็นมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
2.   ทางเลือดโดยตรง
3.   ทางปัสสาวะ

ในประเทศไทยได้กำหนดมาตรการในการตรวจจับผู้ขับขี่ที่เมาสุรา โดยถือเอาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เป็นผู้ขับขี่ที่เมาสุรา และมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43(2) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 160)

–   ชั่วโมงแรกก่อนขับรถคุณดื่มได้แค่ไหน
–   ชั่วโมงต่อไปดื่มได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่กำหนด
–   สุรา 6 แก้ว ผสมสุราแล้ว 1 ฝา (ฝาขวดแม่โขง)
–   เบียร์ปกติ 2 กระป๋อง หรือ 2 ขวดเล็ก
–   ไลท์เบียร์ 4 กระป๋อง หรือ 4 ขวดเล็ก
–   ไวน์ 2 แก้ว (แก้วละ 80 CC)
–   หากดื่มในปริมาณมากกว่านี้จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด (มากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

ข้อแนะนำในการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
–   เมื่อดื่มสุราไม่ควรขับรถเอง ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มสุราขับไปส่ง
–   เมื่อดื่มสุราไม่ควรขับขี่ยานยนต์ทุกชนิด
–   ใช้บริการแท็กซี่เมื่อรู้สึกเมา

อาการน่าเป็นห่วง
–   ขณะเปิดสัญญาณไฟเลี้ยว ถ้าสังเกตเห็นดวงไฟที่โชว์ที่แผงหน้าปัดกระพริบเร็วหรือช้ากว่าปกติ หรือได้ยินเสียงทำงานของลีเลย์ไฟเลี้ยวดังถี่หรือช้ากว่าปกติแสดงว่าโคมไฟ เลี้ยวด้านหน้าหรือด้านท้ายรถอาจไส้หลอดขาด
–   ขณะขับรถอยู่ถ้าหลอดไฟสีแดงที่แผงหน้าปัด (ไฟชาร์ด) ติดขึ้นมาทันทีทันใด แสดงว่าอาจเกิดจากสายพานเครื่องยนต์ขาด
–   ขณะขับรถยนต์ลุยน้ำที่ท่วมขังอยู่ แล้วเกิดไฟสีแดงที่แผงหน้าปัด (ไฟชาร์ด) ติดขึ้นมากระทันหัน แสดงว่าน้ำท่วมเข้าไปถึงไดนาโม (ได-ชาร์ต) ของรถแล้ว ต้องระวังได-ชาร์ตจะเสียหาย
–   รถยนต์ที่ใช้เบรกแบบดรัม ถ้าลุยน้ำขึ้นมาใหม่ๆ ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ความเร็ว เพราะเบรกดรัมเปียกน้ำแล้วจะเบรกไม่อยู่ และผ้าเบรกจะแห้งช้ากว่าเบรกแบบดิสต์

การแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์ โดยวิธีง่ายๆ
สตาร์ทเครื่องแล้วเครื่องไม่หมุนหรือหมุนช้า เครื่องยนต์ไม่ติด
–   ตรวจว่าเกิดขี้เกลือขาวที่ขั้วแบตเตอรี่หรือไม่ ถ้ามีให้ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อนหรือล้างด้วยน้ำเย็น และถอดขั้วมาทำความสะอาดด้วยกระดาษทราย
–   ตรวจขั้วแบตเตอรี่ หากสตาร์ทแล้วขั้วแบตเตอรี่ร้อน หรือขยับดูแล้วหลวม แสดงว่าไฟเดินไม่สะดวก ต้องขันขั้วแบตเตอรี่ให้แน่น
–   ตรวจสายพาน ถ้าพบว่าสายพานขาด หรือหย่อน ให้เปลี่ยนหรือปรับความตึงของสายพาน
–   สตาร์ทแล้วเครื่องหมุน แต่เครื่องไม่ติด ตรวจดูระดับน้ำมันในถัง โดยดูจากเกย์วัด

หลังจากเลี้ยวแล้วพวงมาลัยไม่คืน
–   ให้อัดจารบีระบบกันสะเทือนล้อหน้า
–   ล้อหน้าเสียศูนย์ ควรตรวจซ่อมหรือตั้งศูนย์ล้อใหม่ ล้อใดล้อหนึ่งตายเมื่อเวลาเบรก
–   ตรวจดูยางล้อหน้าและหลังว่า ทั้งสองข้างสึกไปเท่ากันหรือไม่
–   ตรวจดูน้ำมันเบรกที่ส่งไปที่ล้อ ถ้าท่อน้ำมันเบรกสึกควรเปลี่ยนใหม่

ผลของการสูบลมยางแข็งเกินไป
–   ทำให้ยางสึกตรงกลางดอกยาง
–   ทำให้โครงผ้าใบเสียหาย
–   เกิดอาการเต้นมากขณะขับขี่
–   ทำให้ดอกยางแตก

ผลของการสูบลมยางอ่อนเกินไป
–   ทำให้ยางสึกที่บ่าทั้งด้านนอกและด้านใน
–   ดอกยางและผ้าใบร่อน
–   โครงผ้าในขาด
–   ทำให้ยางเกิดความร้อนสูง

การตรวจลมยางต้องตรวจขณะยางเย็น หรือวิ่งไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร

เครื่องปรับอากาศรถยนต์กินกำลังเครื่องยนต์ประมาณ 1 ถึง 3 แรงม้า หรือประมาณ 5% ของกำลังเครื่องยนต์ สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น 5-10%

–   เครื่องยนต์เดินเบาไม่เรียบ สั่นและดับ ตรวจการหลุดหลวมของสายหัวเทียนที่ฝาจานจ่าย และหัวเทียน ถ้าหลวมต้องประกอบให้แน่น และตรวจการบอดของหัวเทียน

–   เครื่องยนต์กำลังตก ตรวจดูการหลุดหลวมของหัวเทียน หรือการทำงานของหัวเทียน ดูเกย์วัดความร้อน ถ้าพบว่ามีความร้อนสูงมาก แสดงว่าลูกสูบหรือชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ขยายตัว ทำให้เกิดความฝืด แก้ไขโดยหยุดรถดับเครื่อง เมื่อเครื่องยนต์เย็นแล้วเปิดฝาหม้อน้ำดูน้ำ ตรวจสอบความตึงของสายพาน หาจุดรั่วของน้ำ

–   เครื่องดับสตาร์ทไม่ติด เนื่องจากการขับรถขณะฝนตกหนัก หรือขับรถลุยน้ำใช้ผ้าแห้งเช็ดขั้วสายไฟ ฝาจานจ่าย และเรือนจานจ่ายให้แห้ง หรือฉีดน้ำยาสารพัดประโยชน์ (SONAX) ที่บริเวณหัวเทียนด้วย ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วค่อยสตาร์ทเครื่องใหม่

–   รถเร่งไม่ขึ้นหรือเร่งขึ้นช้า กลไกปั้มเร่งหลุดหลวม กรองอากาศอุดตัน ท่อยางสุญญากาศสำหรับเร่งไฟอัตโนมัติรั่ว หรือหลุด หรือหลวม ต้องประกอบเข้าที่เดิมพวงมาลัยหนักผิดปกติ
–   ตรวจดูกะทะล้อหน้าว่า มีรอยบุบหรือเบี้ยวหรือไม่
–   ถ้าเป็นพวงมาลัยเพาเวอร์ให้ตรวจระดับน้ำมันในระบบพวงมาลัยแบบเพาเวอร์
–   วัดดูแรงลมล้อหน้า ถ้ายางล้อหน้าอ่อนอาจทำให้พวงมาลัยหนัก
–   ตรวจดูน๊อตยึดล้อหน้าว่าแน่นหรือไม่
–   ตรวจสายพานของพวงมาลัยแบบเพาเวอร์ว่าหย่อนหรือลื่นหรือไม่
–   หล่อลื่นระบบกันสะเทือนล้อหน้า โดยอัดจารบีตามจุดต่างๆ ให้ครบ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow