INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 17:07:30
Home » ข่าวประกันภัย » ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยื่นฟ้องบริษัทประกัน!!\"you

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยื่นฟ้องบริษัทประกัน!!

2019/07/07 1040👁️‍🗨️

สรุป

ผู้ฟ้อง ได้ทำ ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด (All risk) กับ บริษัทประกันภัย (ซึ่งมีการ re-insurance คือ ส่งต่องานประกันภัยให้บริษัทอื่นๆด้วยเนื่องจากวงเงินทุนประกันสูง ถึง 3000+ ล้าน) แต่มีการพิพาทประเด็นเรื่อง เป็นการก่อการร้ายหรือไม่?

ถ้าเป็นการก่อการร้าย ก็จะเข้ายกเว้นในกรมธรรม์ ศาลจึงต้องตีความเหตุการณ์ดังกล่าว ว่าใช่หรือไม่จึงจะสรุปได้

ตามที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีประกันภัย หมายเลขดำ 8132/2561 ที่ …
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทศูนย์รับฝากทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท แฟมิลี่ โนฮาว จำกัด
เป็นโจทก์ที่ 1-3 ยื่นฟ้อง
บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัท ฟอลคอล ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดเรื่องประกันภัย กรณี เหตุวางเพลิงระหว่างการชุมนุมการเมืองปี 2553 ทั้งนี้ โจทก์ที่ 1-3 ได้ทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่อยู่ภายในอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไว้กับจำเลยที่ 1-6 คุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิด จำนวนเงินเอาประกันภัยรวม 3,474,408,510.33 บาท ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2553 – 31 มกราคม 2554 โดยแบ่งสัดส่วนการรับประกันภัยดังนี้ จำเลยที่ 1 ร้อยละ 30 จำเลยที่ 2 ร้อยละ 20 จำเลยที่ 3 ร้อยละ 15 จำเลยที่ 4 ร้อยละ 15 จำเลยที่ 5 ร้อยละ 10 และจำเลยที่ 6 ร้อยละ 10 ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 – 6 ชดใช้เงินค่าสินไหมให้กับโจทย์ทั้งสามเป็นจำนวนเงินรวม 98.057 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในตอนหนึ่งมีสาระสำคัญว่า …

เหตุความเสียหายต่อทรัพย์สินตามฟ้องเป็นผลมาจากมีกลุ่มบุคคลบุกรุกเข้าไปในอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารจนทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามที่อยู่ภายในอาคารและตัวอาคารดังกล่าวได้รับความเสียหาย ความเสียหายดังกล่าวจึงเป็นภัยที่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้และการกระทำด้วยเจตนาร้ายซึ่งเป็นภัยที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ขณะที่ทางนำสืบของคู่ความทั้งสองฝ่ายรับฟังได้ว่าเหตุเพลิงไหม้อาคารเกิดขึ้นตอน 15.00 น. ภายหลังแกนนำประกาศยุติชุมนุมตอน 13.00 น. ตลอดจนผู้ก่อเหตุทุบทำลายและเผาอาคารก็มีประมาณ 10 คน ทั้งเป็นกลุ่มบุคคลที่ปิดบังอำพรางใบหน้า และกลุ่มที่ทำในลักษณะมีเจตนาก่อเหตุร้ายแล้วหลบหนีไปทันที โดยไม่มีประชาชนอื่นใดร่วมกระทำการ พยานหลักฐานของจำเลยทั้งหกไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังว่าเหตุเพลิงไหม้ตามฟ้องเป็นผลมาจากการก่อความไม่สงบของประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลและเป็นการก่อการร้ายเพื่อหวังผลทางการเมืองตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งหก ดังนั้นจำเลยทั้งหกจึงไม่อาจอ้างข้อยกเว้นความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน

เลขาธิการ คปภ. กล่าวต่อไปว่า..

สำนักงาน คปภ. มีความเห็นในเบื้องต้นว่าจำเป็นจะต้องศึกษาและวิเคราะห์โดยละเอียดว่าจะต้องนำคำวินิจฉัยนี้มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยหรือไม่ เนื่องจากข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีมีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงมีความคล้ายคลึงกัน อาจจำเป็นต้องใช้เกณฑ์ที่เหมือนกัน จึงได้สั่งการให้สายกฎหมายและคดี เร่งศึกษาวิเคราะห์โดยเร็วเพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เงื่อนไขความคุ้มครอง และข้อยกเว้นความรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้เกิดความชัดเจน เป็นธรรม และเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“คำพิพากษาศาลฎีกา ถือเป็นคำพิพากษาที่มีลำดับชั้นสูงสุดและเป็นที่ยุติ ซึ่งบริษัทประกันภัย ทั้ง 6 บริษัท ต้องเคารพและปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว จากการตรวจสอบพบว่าทั้ง 6 บริษัทประกันภัยมีฐานะการเงินมั่นคง และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาดังกล่าวได้มีการตั้ง Outstanding Loss ไว้แล้วตั้งแต่ปี 2553 จึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท”

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา.. ให้ 6 บริษัทประกันภัย ชดใช้ค่าสินไหมเกิดจากวินาศภัย กรณีกลุ่มบุคคลบุกเข้าทุบทำลายวางเพลิงเผาอาคาร เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ซึ่งจำเลยต่อสู้ว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหม เพราะเกิดจากการก่อความไม่สงบ เป็นการก่อการร้ายเข้าข้อยกเว้น

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภค พิพากษากลับ ให้จำเลยร่วมกันชดใช้สินไหมแก่โจทก์ที่ 1 รวม 89 ล้านบาทเศษ โจทก์ที่ 2 รวม 57,500 บาท และโจทก์ที่ 3 รวม 9 ล้านบาทเศษ พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 4 ม.ค. 2554

จำเลยทั้งหกแบ่งสัดส่วนการรับประกันภัยดังนี้ จำเลยที่ 1 ร้อยละ 30 จำเลยที่ 2 ร้อยละ 20 จำเลยที่ 3 ร้อยละ 15 จำเลยที่ 4 ร้อยละ 15 จำเลยที่ 5 ร้อยละ 10 และจำเลยที่ 6 ร้อยละ 10 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 มีกลุ่มบุคคลไม่ทราบจำนวนบุกเข้าทุบทำลายและวางเพลิงเผาอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายจากการทุบทำลาย เพลิงไหม้ น้ำที่ใช้ดับเพลิงจากอุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ โดยโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย 94,107,577.53 บาท โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย 380,059 บาท และโจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหาย 14,568,504.27 บาท
โจทก์ทั้งสามแจ้งความเสียหายให้จำเลยทั้งหกทราบและแจ้งว่าจะดำเนินการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นและประโยชน์ของการใช้งาน แต่จำเลยทั้งหกส่งบุคคลผู้มีชื่อสำรวจและประเมินความเสียหายแล้วมีหนังสือแจ้งปฏิเสธความรับผิด เป็นการโต้แย้งสิทธิทำให้โจทก์ทั้งสามเสียหาย โจทก์ทั้งสามบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งหกรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่จำเลยทั้งหกเพิกเฉยไม่ชำระ โดยอ้างว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากการก่อความไม่สงบของประชาชนที่ถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาลและเป็นการก่อการร้ายเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย และโจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภค พิพากษายืน โจทก์ทั้งสามฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า ความเสียหายต่อทรัพย์สินตามฟ้องเป็นผลมาจากมีกลุ่มบุคคลบุกรุกเข้าไปในอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคาร จนทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามที่อยู่ภายในอาคารและตัวอาคารดังกล่าวได้รับความเสียหาย ความเสียหายดังกล่าวจึงเป็นภัยที่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้และการกระทำด้วยเจตนาร้าย ซึ่งเป็นภัยที่อยู่ภายใต้ความ คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ขณะที่ทางนำสืบของคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เหตุเพลิงไหม้อาคารเกิดขึ้นตอน 15.00 น. ภายหลังแกนนำประกาศยุติชุมนุมตอน 13.00 น. ตลอดจนผู้ก่อเหตุทุบทำลายและเผาอาคาร ก็มีประมาณ 10 คน ทั้งเป็นกลุ่มบุคคลที่ปิดบังอำพรางใบหน้า และกลุ่มที่ทำในลักษณะมีเจตนาก่อเหตุร้ายแล้วหลบหนีไปทันที โดยไม่มีประชาชนอื่นใดร่วมกระทำการ พยานหลักฐานของจำเลยทั้งหกไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังว่าเหตุเพลิงไหม้ตามฟ้องเป็นผลมาจากการก่อความไม่สงบของประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านรัฐบาล และเป็นการก่อการร้ายเพื่อหวังผลทางการเมืองตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งหก ดังนั้นจำเลยทั้งหกจึงไม่อาจอ้างข้อยกเว้นความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันความสี่ยงภัยทรัพย์สิน
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคก็มีอำนาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์ จึงเห็นควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 89 ล้านบาท ส่วนโจทก์ที่ 2 ที่เรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 8 ชุด ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่อยู่ในความคุ้มครองตามกรมธรรม์ฯ ส่วนค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผ้าหุ้มเก้าอี้พนักงาน จำนวน 13,209 บาท ก็ไม่มีหลักฐานการชำระเงิน คงมีเฉพาะส่วนที่จำเลยทั้งหกได้นำสืบยอมรับค่าเสียหายของโจทก์ที่ 2 มีเพียง 50,414 บาท ดังนั้นศาลจึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 57,500 บาท ส่วนโจทก์ที่ 3 ศาลเห็นควรกำหนดค่าเสียหายจำนวน 9 ล้านบาท
และเมื่อปรากฏว่าหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคาร พวกโจทก์ได้มีหนังสือเรียกร้องค่าสินไหม และหนังสือแจ้งปรับปรุงข้อมูลความเสียหายให้จำเลยทั้งหกชำระ แต่พวกจำเลยมีหนังสือแจ้งปฏิเสธความรับผิด โจทก์ทั้งสามขอให้บังคับจำเลยทั้งหกรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย มิใช่ผู้กระทำละเมิด เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2554 จึงถือว่าจำเลยทั้งหกผิดนัดชำระตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2554 จึงต้องได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสามมานั้น ศาลฎีกาฯ ไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสามฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 26,700,000 บาท จำเลยที่ 2 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 17,800,000 บาท จำเลยที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 13,350,000 บาท จำเลยที่ 4 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 13,350,000 บาท จำเลยที่ 5 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 9,8000,000 บาท และจำเลยที่ 6 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 8,900,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 ม.ค. 2554 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1
ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 17,250 บาท จำเลยที่ 2 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 11,500 บาท จำเลยที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 8,625 บาท จำเลยที่ 4 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 8,625 บาท จำเลยที่ 5 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 5,750 บาท และจำเลยที่ 6 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 5,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 ม.ค. 2554 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 2
ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 2,700,000 บาท จำเลยที่ 2 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 1,800,000 บาท จำเลยที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 1,350,000 บาท จำเลยที่ 4 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 1,350,000 บาท จำเลยที่ 5 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 900,000 บาท และจำเลยที่ 6 ใช้ค่าสินไหมทดแทน 900,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 ม.ค. 2554 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 3

เพิ่มเติม

โจทก์ทั้งสามฟ้องระบุ ว่า โจทก์ทั้งสามทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่อยู่ภายในอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ไว้กับจำเลยทั้ง 6 บริษัท ความคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิด จำนวนเงินเอาประกันภัยรวม 3,474,408,510.33 บาท ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.2553 ถึงวันที่ 31 ม.ค.2554 โดยแบ่งสัดส่วนการรับประกันภัย ดังนี้ จำเลยที่ 1 ร้อยละ 30 จำเลยที่ 2 ร้อยละ 20 จำเลยที่ 3 ร้อยละ 15 จำเลยที่ 4 ร้อยละ 15 จำเลยที่ 5 ร้อยละ 10 และจำเลยที่ 6 ร้อยละ 10

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 มีกลุ่มบุคคลไม่ทราบจำนวนบุกเข้าทุบทำลายและวางเพลิงเผาอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายจากการทุบทำลาย เพลิงไหม้ น้ำที่ใช้ดับเพลิงจากอุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ โดย
โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย 94,107,577.53 บาท
โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย 380,059 บาท
โจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหาย 14,568,504.27 บาท

โจทก์ได้แจ้งความเสียหายให้จำเลยทั้ง 6 บริษัททราบ และแจ้งว่าจะดำเนินการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นและประโยชน์ของการใช้งาน แต่จำเลยส่งบุคคลผู้มีชื่อสำรวจและประเมินความเสียหายแล้วมีหนังสือแจ้งปฏิเสธความรับผิด โดยอ้างว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากการก่อความไม่สงบของประชาชนที่ถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล และเป็นการก่อการร้ายเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย และโจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภค พิพากษายืน โจทก์จึงได้ยื่นฎีกาต่อ

ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า ความเสียหายต่อทรัพย์สินตามฟ้องเป็นผลมาจากมีกลุ่มบุคคลบุกรุกเข้าไปในอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ และก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคาร จนทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่อยู่ภายในอาคารและตัวอาคารได้รับความเสียหาย ความเสียหายดังกล่าวจึงเป็นภัยที่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้และการกระทำด้วยเจตนาร้าย ซึ่งเป็นภัยที่อยู่ภายใต้ความ คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน

ขณะที่การนำสืบของคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เหตุเพลิงไหม้เป็นผลมาจากการก่อความไม่สงบของประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านรัฐบาล และเป็นการก่อการร้ายเพื่อหวังผลทางการเมืองตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งหก ดังนั้นจำเลยทั้ง 6 บริษัท จึงไม่อาจอ้างข้อยกเว้นความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันความสี่ยงภัยทรัพย์สิน

ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภค จึงเห็นควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 89 ล้านบาท ส่วนโจทก์ที่ 2 ที่เรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 8 ชุด ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่อยู่ในความคุ้มครองตามกรมธรรม์ฯ ส่วนค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผ้าหุ้มเก้าอี้พนักงาน จำนวน 13,209 บาท ก็ไม่มีหลักฐานการชำระเงิน คงมีเฉพาะส่วนที่จำเลยทั้งหกได้นำสืบยอมรับค่าเสียหายของโจทก์ที่ 2 มีเพียง 50,414 บาท ดังนั้นศาลจึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 57,500 บาท ส่วนโจทก์ที่ 3 ศาลเห็นควรกำหนดค่าเสียหายจำนวน 9 ล้านบาท

และเมื่อปรากฏว่าหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคาร พวกโจทก์ได้มีหนังสือเรียกร้องค่าสินไหม และหนังสือแจ้งปรับปรุงข้อมูลความเสียหายให้จำเลยทั้งหกชำระ แต่พวกจำเลยมีหนังสือแจ้งปฏิเสธความรับผิด โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย มิใช่ผู้กระทำละเมิด เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2554 จึงถือว่าจำเลยทั้งหกผิดนัดชำระตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2554 จึงต้องได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาฯ ไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

จำเลยทั้ง 6 แบ่งสัดส่วนการรับประกันภัยดังนี้ จำเลยที่ 1 ร้อยละ 30, จำเลยที่ 2 ร้อยละ 20, จำเลยที่ 3 ร้อยละ 15, จำเลยที่ 4 ร้อยละ 15, จำเลยที่ 5 ร้อยละ 10, จำเลยที่ 6 ร้อยละ 10

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 มีกลุ่มบุคคลไม่ทราบจำนวน บุกเข้าทุบทำลายและวางเพลิงเผา อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้ง 3 ได้รับความเสียหายจากการทุบทำลาย เพลิงไหม้ น้ำที่ใช้ดับเพลิงจากอุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ โดยโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย 94,107,577.53 บาท โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย 380,059 บาท และโจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหาย 14,568,504.27 บาท
โจทก์ทั้ง 3 แจ้งความเสียหายให้จำเลยทั้ง 6 ทราบและแจ้งว่าจะดำเนินการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นและประโยชน์ของการใช้งาน จำเลยทั้ง 6 ส่งบุคคลผู้มีชื่อสำรวจและประเมินความเสียหายแล้วมีหนังสือแจ้งปฏิเสธความรับผิด เป็นการโต้แย้งสิทธิทำให้โจทก์ทั้ง 3 เสียหาย

โจทก์ทั้ง 3 บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้ง 6 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่จำเลยทั้ง 6 เพิกเฉยไม่ชำระ

ตลาดหลักทรัพย์ฯโจทก์ที่ 1
ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 31,881,197.89 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 28,232,273.26 บาทนับจากวันฟ้อง ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 21,254,131.93 บาท ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 15,940,598.95 บาท ให้จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 15,940,598.95 บาท ให้จำเลยที่ 5 ชำระเงิน 10,627,065.96 บาท ให้จำเลยที่ 6 ชำระเงิน 10,627,065.96 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับจากวันฟ้อง

บจก.ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โจทก์ที่ 2
ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 128,754.10 บาท ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 85,836.07 บาท ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 64,373.04 บาท ให้จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 64,373.04 บาท ให้จำเลยที่ 5 ชำระเงิน 42,918.03 บาท ให้จำเลยที่ 6 ชำระเงิน 42,198.03 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับจากวันฟ้อง

บจก.แฟมิลี่ฯ โจทก์ที่ 3
ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 4,935,430.07 บาท ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 3,290,289.44 บาท ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 2,467,715.03 บาท ให้จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 2,467,715.03 บาท ให้จำเลยที่ 5 ชำระเงิน 1,645,143.35 บาท ให้จำเลยที่ 6 ชำระเงิน 1,465,840.43 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับจากวันฟ้อง

โดยจำเลยที่ 1-6 ให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยทั้ง 6 ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพราะความเสียหายจากการวางเพลิงเผาอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ และทรัพย์สินของโจทก์ทั้ง 3 ที่อยู่ในอาคารของโจทก์ที่ 1 เกิดจากการก่อความไม่สงบของประชาชนที่ถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล และเป็นการก่อการร้ายเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยทั้ง 6 ไม่ต้องรับผิดทั้งความเสียหายจากการทุบทำลาย เพลิงไหม้ น้ำที่ใช้ดับเพลิงจากอุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ และควันไฟมิใช่ภัยเนื่องจากการกระทำอันป่าเถื่อน และกระทำด้วยเจตนาร้ายมุ่งหวังเพื่อทำลายตัวทรัพย์ที่เอาประกันเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการกระทำของกลุ่ม นปช. ที่กระทำโดยมุ่งหวังให้เกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง และเป็นการกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเป็นสำคัญ โจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายสูงเกินส่วนขอให้ยกฟ้อง คดีนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภค พิพากษายืนให้ยกฟ้อง ต่อมา โจทก์ที่ 1-3 ได้ยื่นฎีกา
ทั้งนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภค ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์โดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งปันกัน จัดให้มีการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน จัดระบบและวิธีการซื้อขายหลักทรัพย์ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดโดยโจทก์ที่ 2 ประกอบกิจการรับฝากหลักทรัพย์
ส่วนโจทก์ที่ 3 ประกอบกิจการจัดการงานนิทรรศการการ แสดงสินค้าการฝึกอบรม และประชุมสัมมนา จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจดทะเบียน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับหนังสือรับรองให้ประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัย
เมื่อวันที่ 31 ม.ค.53 โจทก์ที่ 1-3 ร่วมกับผู้เอาประกันรายอื่นทำสัญญาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขที่ 26 ถ.รัชดาภิเษก แขวง-เขตคลองเตย กทม. (รวมฐานราก) และทรัพย์สินอื่น ๆ ทุกชนิดในอาคารดังกล่าวไว้ต่อจำเลยทั้ง 6 โดยคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 53-31 ม.ค.54 จำนวนเงินเอาประกันภัย 3,474,408,510.33 บาท
โดยระหว่างวันที่ 12-19 มี.ค.53 มีเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เพื่อประท้วงรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และมีการตั้งเวทีย่อยบริเวณแยกคลองเตยใกล้อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีการปิดการจราจรบนถนนรอบพื้นที่การชุมนุมทุกแห่งการชุมนุมมีการใช้ความรุนแรงรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548 เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 รัฐบาลส่งกำลังทหารสลายการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์และได้เกิดเหตุเพลิงไหม้สถานที่หลายแห่งรวมทั้งอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้ง 3 ได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้ง 3 จึงได้แจ้งเหตุความเสียหายต่อจำเลยทั้งหก ซึ่งจำเลยทั้งหกมอบให้บริษัท แม็คลาเรนส์ (ประเทศไทย) จำกัด สำรวจความเสียหายจากเหตุดังกล่าว แล้วปฏิเสธความรับผิด อ้างว่าเหตุความเสียหายเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ทั้งสามบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งหกรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่จำเลยทั้งหกเพิกเฉยไม่ชำระ
คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ทั้งสามได้รับอนุญาตให้ฎีกา ประการแรกว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเกิดจากภัยประเภทใดและเป็นภัยที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยตามฟ้องหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าเหตุความเสียหายต่อทรัพย์สินตามฟ้องเป็นผลมาจากมีกลุ่มบุคคลบุกรุกเข้าไปในอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารจนทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามที่อยู่ภายในอาคารและตัวอาคารดังกล่าวได้รับความเสียหาย ความเสียหายดังกล่าวจึงเป็นภัยที่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้และการกระทำด้วยเจตนาร้ายซึ่งเป็นภัยที่อยู่ภายใต้ความ คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
ขณะที่ทางนำสืบของคู่ความทั้งสองฝ่ายรับฟังได้ว่าเหตุเพลิงไหม้อาคารเกิดขึ้นตอน 15.00 น. ภายหลังแกนนำประกาศยุติชุมนุมตอน 13.00 น. ตลอดจนผู้ก่อเหตุทุบทำลายและเผาอาคารก็มีประมาณ 10 คน ทั้งเป็นกลุ่มบุคคลที่ปิดบังอำพรางใบหน้า และกลุ่มที่ทำในลักษณะมีเจตนาก่อเหตุร้ายแล้วหลบหนีไปทันที โดยไม่มีประชาชนอื่นใดร่วมกระทำการ พยานหลักฐานของจำเลยทั้ง 6 ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังว่าเหตุเพลิงไหม้ตามฟ้องเป็นผลมาจากการก่อความไม่สงบของประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านรัฐบาล และเป็นการก่อการร้ายเพื่อหวังผลทางการเมืองตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้ง 6 ดังนั้นจำเลยทั้ง 6 จึงไม่อาจอ้างข้อยกเว้นความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันความสี่ยงภัยทรัพย์สิน
ส่วนจำเลยที่ 1-6 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1-3 เพียงใด ข้อนี้โจทก์ทั้ง 3 นำสืบความเสียหายของโจทก์แต่ละรายไว้แล้ว พร้อมตารางสรุปจำนวน โดยโจทก์มิได้นำสืบแสดง รายละเอียดความเสียหายตามที่กล่าวอ้างในแต่ละรายการ แต่กลับปรากฏความเสียหายบางรายการไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากวินาศภัยภายใต้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งตามคำเบิกความของเจ้าหน้าที่วิศวอาคารและหัวหน้าช่างซ่อมบำรุงอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ พยานโจทก์ระบุว่าทรัพย์สินบางรายการ เช่น พรม หรือเฟอร์นิเจอร์อาจไม่ต้องซ่อมแซมเพียงแต่ทำความสะอาดก็สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม และเมื่อจำเลยทั้งหกสู้ว่าโจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายสูงเกิน
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคก็มีอำนาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์ จึงเห็นควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 89 ล้านบาท ส่วนโจทก์ที่ 2 ที่เรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 8 ชุด ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่อยู่ในความคุ้มครองตามกรมธรรม์ฯ ส่วนค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผ้าหุ้มเก้าอี้พนักงาน จำนวน 13,209 บาท ก็ไม่มีหลักฐานการชำระเงิน คงมีเฉพาะส่วนที่จำเลยทั้งหกได้นำสืบยอมรับค่าเสียหายของโจทก์ที่ 2 มีเพียง 50,414 บาท ดังนั้นศาลจึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 57,500 บาท ส่วนโจทก์ที่ 3 ศาลเห็นควรกำหนดค่าเสียหายจำนวน 9 ล้านบาท
และเมื่อปรากฏว่าหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคาร พวกโจทก์ได้มีหนังสือเรียกร้องค่าสินไหม และหนังสือแจ้งปรับปรุงข้อมูลความเสียหายให้จำเลยทั้ง 6 ชำระ แต่พวกจำเลยมีหนังสือแจ้งปฏิเสธความรับผิด โจทก์ทั้ง 3 ขอให้บังคับจำเลยทั้ง 6 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ไม่ใช่ผู้กระทำละเมิด เมื่อวันที่ 4 ม.ค.54 จึงถือว่าจำเลยทั้งหกผิดนัดชำระตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.54 จึงต้องได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสามมานั้น ศาลฎีกาฯ ไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสามฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ 26.7 ล้านบาท จำเลยที่ 2 ชดใช้ 17.8 ล้านบาท จำเลยที่ 3 ชดใช้ 13,350,000 บาท จำเลยที่ 4 ชดใช้ 13,350,000 บาท จำเลยที่ 5 ชดใช้ 8.9 ล้านบาท จำเลยที่ 6 ชดใช้ 8.9 ล้านบาทให้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 4 ม.ค.54 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ 17,250 บาท
จำเลยที่ 2 ชดใช้ 11,500 บาท
จำเลยที่ 3 ชดใช้ 8,625 บาท
จำเลยที่ 4 ชดใช้ 8,625 บาท
จำเลยที่ 5 ชดใช้ 5,750 บาท
จำเลยที่ 6 ชดใช้ 5,750 บาท
ให้กับ บจก.ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โจทก์ที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 4 ม.ค. 2554 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

ให้
จำเลยที่ 1 ชดใช้ 2.7 ล้านบาท
จำเลยที่ 2 ชดใช้ 1.8 ล้านบาท
จำเลยที่ 3 ชดใช้ 1,350,000 บาท
จำเลยที่ 4 ชดใช้ 1,350,000 บาท
จำเลยที่ 5 ชดใช้ 900,000 บาท
จำเลยที่ 6 ชดใช้ 900,000 บาท
ให้กับ บจก.แฟมิลี่ฯ โจทก์ที่ 4 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 4 ม.ค.54 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow