การประกันภัยเพื่อการขนส่งสินค้า
การประกันภัยเพื่อการส่งออก 2 กลุ่ม
การประกันภัยการขนส่ง สินค้า (Cargo Insurance) ได้แก่ การประกันภัยความเสี่ยงต่อตัวสินค้าจากอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นระหว่าง และ/หรือเกิดจากการขนส่งและการจัดเก็บ หรือพัก
สินค้าระหว่างการขนส่ง ทั้งระหว่างที่อยู่ในและนอกประเทศไทย
ความเสี่ยงต่อตัวสินค้า ได้แก่ สินค้าสูญหาย สินค้าเสียหาย เช่น แตกหรือเปียกน้้าเป็นต้น ทั้งนี้ไม่รวมการเสื่อมสภาพตามปกติของสินค้า
การประกันภัย อื่น ๆ เช่น การประกันสินเชื่อทางการค้า (Trade Credit Insurance) ซึ่งคุ้มครองผู้ส่งออก ในกรณีที่ส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้ว ไม่ได้รับช้าระค่าสินค้าของตนจากผู้ซื้อ และการประกันภัยลักษณะอื่นที่ขึ้นอยู่กับสินค้าและความต้องการของผู้ส่งออก ซึ่งการประกันภัยลักษณะนี้มีความหลากหลายจะต้องติดต่อและให้รายละเอียด กับบริษัทประกันภัยเป็นกรณี เช่น ผู้ส่งออกเป็นห่วงเรื่องสินค้าเดินทางไปไม่ทันฤดูกาลขายสินค้า และอยากทำประกันภัยลักษณะนี้ ต้องเป็นการสอบถามและให้ บริษัทประกันภัยพิจารณาเป็นกรณีไป
การประกันภัย มักจะถูกมองว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและยุ่งยาก ผู้ส่งออกมักจะละเลยที่จะให้ความสนใจ แต่แท้ที่จริงการประกันภัยมีความส้าคัญระดับที่เรียกว่า ชี้เป็นชี้ตายของธุรกิจส่งออกได้เลยทีเดียว
ขั้นตอนการทำประกันภัยขนส่งสินค้า
การทำประกันภัยการขนส่งสินค้า ผู้ส่งออกสามารถติดต่อทำประกันภัย ผ่านบริษัท shipping ที่ผู้ส่งออกใช้บริการในการขนส่งสินค้า หรือจะติดต่อบริษัทประกันภัยโดยตรง เพื่อปรึกษาและติดต่อทำประกันภัยก็ได้
ข้อมูลที่จะต้องเตรียม
-สินค้าคืออะไร
-มีการบรรจุภัณฑ์อย่างไร
-จุดหมายปลายทางที่ใด
-ยานพาหนะที่จะใช้ขนส่งชื่ออะไร
การประกันภัย มีความหลากหลาย และมีการพัฒนาสินค้าใหม่ ให้สนองความต้องการของผู้ซื้อประกันภัยอยู่ตลอดเวลา แต่หลักการของประกันภัย ยังคงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบรรเทาภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุที่สุดวิสัยเท่านั้น จึงทำให้ความคุ้มครองที่ผู้ซื้อบางครั้งอยากจะได้บริษัทประกันภัย ไม่สามารถคุ้มครองให้ได้ เช่น ต้องการรับประกันว่า ข้าวสารที่ส่งไปขายจะไม่เก่าลงตามวันเวลาที่ผ่านไปย่อมไม่สามารถทำประกันภัยได้
การประกันภัย แบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทและมีรายละเอียดมาก แต่ในส่วนของการประกันภัยเพื่อการส่งออกนั้น แบ่งได้เป็น 3
-การประกันภัยตัวสินค้า คือ การประกันภัยความเสียหาย หรือสูญหายของตัวสินค้า จากอุบัติเหตุ ในระหว่างการขนส่ง มีมาตรฐานสากลให้ผู้ขายกับผู้ซื้อ มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน โดย กรมธรรม์ประกันภัย จะระบุความคุ้มครองหลักของตัวสินค้าแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
(1) Institute Cargo Clauses (C)
คุ้มครองความเสียหายหรือสูญเสีย (ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด) เนื่องจากเพลิงไหม้ , ระเบิด , เรือเกยตื้น , จมหรือล่ม , ยานพาหนะทางบกพลิกคว่้าหรือตกจากราง ,เรือหรือยานพาหนะชนหรือโดนกับวัตถุอื่นใด ,การขนส่งสินค้า ลงจากเรือ ณ ท่าหลบภัย , ความเสียหายที่เกิดกับส่วนรวม , สินค้าถูกโยนทิ้งทะเล
(2) Institute Cargo Clauses (B)
นอกจากความคุ้มครองตาม ICC (C) แล้ว ยังรวมความคุ้มครองถึงแผ่นดินไหว , ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า, สินค้าถูกน้้าทะเลซัดตกเรือไป , น้้าจากแม่น้้า , ทะเลสาบ หรือ น้้ารั่วไหลเข้ามาในเรือ , ในยานพาหนะ ในระวางหรือในตู้ล้าเลียง หรือในสถานที่เก็บสินค้า , สินค้าทั้งหีบห่อเสียหายโดยสิ้นเชิง เพราะตกจากเรือ หรือเกิดจากการขนขึ้นขนลง จากเรือหรือยานพาหนะ
(3) Institute Cargo Clauses (A)
ระบุให้ความคุ้มครองความเสียหายจากภัยทุกอย่าง ยกเว้นที่ระบุไว้ในข้อยกเว้นการพิจารณารับประกันภัย ของบริษัทประกันภัยในกรณีที่เป็นภัยมาตรฐานแล้ว บริษัทประกันภัย จะพิจารณาจากลักษณะสินค้า บรรจุภัณฑ์ จ้านวนเงินเอาประกันภัย พาหนะที่ใช้การขนส่ง เมืองท่าปลายทาง และระหว่างทางส้าหรับการประกันภัยขนส่งสินค้า ส่วนการประกันภัยสินเชื่อการค้า โดยปกติแล้ว ผู้ส่งออกจะต้องแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้า ของตน เช่น ประเภทธุรกิจ ประเภทสินค้าที่ขาย ประเทศที่ขายสินค้าไปให้ รายชื่อผู้ซื้อสินค้าทุก ๆ ราย ฯลฯ
เพื่อผู้รับประกันภัย จะได้น้าข้อมูลทั้งหมดไปประมวล และเสนอเงื่อนไขความคุ้มครอง วงเงินจ้ากัดความคุ้มครอง และอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมแก่ผู้ส่งออก
การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย
การประกันภัยการขนส่งสินค้า ตามหลักสากลนิยมมักจะก้าหนดมูลค่าของสินค้าที่เอาประกันภัยเป็นร้อยละ 110 ของราคาสินค้าที่ซื้อขายกันในเงื่อนไขแบบ C.I.F. หรือ C&F ซึ่งการก้าหนดจ้านวนเงินเอาประกันภัย ร้อยละ 10 ที่บวกเข้าไปนั้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการออกของและขนส่งต่อ
การเลือกซื้อความคุ้มครอง ข้อแนะนำในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
และหลักฐานที่ใช้ประกอบในการขอเอาประกัน
การเลือกซื้อความคุ้มครอง สำหรับการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น มีแนวทางในการขอเอาประกันภัย ดังนี้
1.ควรเลือกเงื่อนไขความคุ้มครองให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้า กล่าวคือ สินค้าโดยทั่ว ๆ ไปที่มีการบรรจุหีบห่อ เงื่อนไขความคุ้มครองมักใช้เงื่อนไขแบบมาตรฐานที่เรียกว่า Institute Cargo Clauses มีให้เลือก 3 เงื่อนไข
เงื่อนไข “A” คุ้มครองที่กว้างที่สุด
เงื่อนไข “B” คุ้มครองอุบัติเหตุที่ร้ายแรง เช่นรถคว่ำ เรือชนกัน เกยตื้น ไฟไหม้ และรวมถึง
ความเสียหายจากการเปียกน้ำด้วย
เงื่อนไข “C” คุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุที่ร้ายแรงเท่านั้น
สำหรับสินค้าบางประเภท การเลือกใช้เงื่อนไข Institute Cargo Clauses แบบหนึ่งแบบ
ใดอาจจะไม่เหมาะสม ควรเลือกเงื่อนไขความคุ้มครอง ที่ร่างขึ้นสำหรับสินค้านั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกรวม ๆ
ว่าเงื่อนไขพิเศษ (Trade Clauses) เช่น
Bulk Oil Clauses สำหรับคุ้มครองน้ ามันที่บรรทุกในเรือบรรทุกน้ ามัน
Institute Frozen Foods Clauses สำหรับสินค้าที่แช่แข็ง
Institute Frozen Meat Clauses สำหรับสินค้าที่เป็นเนื้อแช่แข็ง
Institute Coal Clauses สำหรับคุ้มครองถ่านหิน
2.ควรระบุให้กรมธรรม์มีผลคุ้มครองตลอดเส้นทางของการขนส่ง
3.ควรพิจารณาดูว่าสัญญาซื้อขายเป็นเงื่อนไขแบบใด ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายแบบ C.I.F. ในกรณีที่เป็นสินค้าส่งออกจะต้องตรวจดูเงื่อนไขของ L/C ที่ผู้ซื้อสินค้าระบุมาว่า ให้ใช้เงื่อนไขความคุ้มครองแบบใด ถ้าผู้ซื้อระบุการคุ้มครองที่กว้างกว่าประเพณีนิยมของการซื้อขายชนิดนั้น ผู้ซื้อมีหน้าที่รับภาระค่าเบี้ยประกันภัยส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปกติ
4.ควรพิจารณาทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยภายในประเทศ โดยเฉพาะกรณีที่เป็นสินค้านนำเข้าเพราะนอกจากจะเป็นการสงวนเงินตราไว้ภายในประเทศได้ส่วนหนึ่งแล้ว ในกรณีที่สินค้าได้รับความเสียหายหรือสูญหาย ขั้นตอนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัยในประเทศ จะสะดวกรวดเร็วกว่าการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัยซึ่งตั้งอยู่ต่างประเทศ
5.ข้อมูลทำประกันภัย
-ชื่อผู้เอาประกันภัย
-ชื่อและประเภทของสินค้าที่เอาประกันภัย
-จำนวนเงินเอาประกันภัย
-เส้นทางการขนส่ง ระบุเมืองต้นทาง เมืองปลายทางให้ชัดเจนในกรณีที่มีการถ่ายลำจะต้องระบุเมืองท่าที่มีการถ่ายลำด้วยทั้งนี้ เงื่อนไขความคุ้มครองที่ต้องการภายหลังจากที่สินค้าขึ้นเรือเรียบร้อย จะต้องแจ้งข้อมูลให้บริษัททราบ เพื่อออกกรมธรรม์ ดังนี้
-ชื่อเรือหรือยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้า ชื่อเรือที่มีการถ่ายลำ (ถ้ามี)
-วันที่เรือออกเดินทาง
-ชื่อเมืองท่าต้นทางและปลายทาง
-จำนวนหีบห่อและเครื่องหมายบนหีบห่อ
เอกสารที่ใช้ประกอบในการขอเอาประกันภัย
1.Letter of Credit
2.ใบกำกับสินค้า (Commercial Imvoice)
3.ใบตราส่ง (Bill of Lading)
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องได้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ของผู้เอาประกันภัยและ/หรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัย พึงจะต้องปฏิบัติดังนี้
1.สำรวจสภาพสินค้าในทันทีทุกครั้งก่อนรับมอบสินค้า
2.ถ้าพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย ให้ผู้ขนส่ง/ผู้รับฝากสินค้า ออกหลักฐานระบุความเสียหายหรือทำเป็นหมายเหตุลงในใบรับสินค้า
3.กรณีขนส่งด้วยตู้ล าเลียง (Container) ต้องตรวจว่า ตู้ล าเลียง และ Seal มีสภาพเรียบร้อยถูกต้องถ้าตู้ลลำเลียงหรือ Seal เสียหาย/สูญหาย หรือเป็น Seal อื่นต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นหลักฐาน
4.ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทันที
5.กรณีไม่พบความเสียหายขณะรับมอบ แต่พบในภายหลังต้องทำหนังสือแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน 3วัน นับจากวันรับมอบสินค้า
6.ในทุกกรณีเมื่อพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย รีบแจ้งให้ผู้ประกันภัยทราบในทันที
ทั้งนี้ การจัดเตรียมและส่งมอบหลักฐาน และเอกสารประกอบในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ครบถ้วน จะช่วยให้การพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สามารถดำเนินการไปด้วยความสะดวกรวดเร็วหลักฐานในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
1.หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน Claim Bill
2.ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง Original Marine Insurance Policy
3.ใบกำกับสินค้าและใบแสดงการบรรจุหีบห่อ Invoice & Packing List
4.ใบตราส่งสินค้า Bill of Lading
5.หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น Survey Report, Wharf Survey Note, Shortlanded Cargo List
6.หลักฐานหรือเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น Charter Party, Sale Contract, Stowage Plan
7.สำเนาหนังสือเรียกร้องค่าเสียหาย ถึงผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมหนังสือตอบจากผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในความรับผิดต่อความเสียหาย