รายการลดหย่อนภาษี 2562
เงินเดือน เป็นรายได้ประเภทที่ 1 ตามกฎหมาย หักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาเท่านั้นในอัตรา 50% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
Ex เงินเดือน +bonus 910,000
เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนส่วนตัว
750,000 = 910,000 – 100,000 – 60,000
จากตารางอัตราภาษี
เงินได้สุทธิ 750,000 คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เสียภาษี 65,000 บาท
หากเราถูก หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เดือนละ 3,000 ปีละ 36,000
ภาษีที่ต้องจ่าย = 65,500
หัก ณ ที่จ่ายแล้ว = 36,000
ภาษีต้องจ่ายเพิ่ม = 65,000 – 36,000 =29,000
(หาก หัก ณ ที่จ่าย หรือ ตอนรับเงินเดือนถูกหักไป รวมแล้วเกินกว่า 65,000 ก็สามารถขอคืนภาษีได้)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่ต้องเอามายื่นภาษี เพราะ เป็นเพียงภาษีประมาณการที่ถูกหักไปในระหว่างปีที่รับรายได้ ซึ่งอาจจะหักเกินหรือ หักน้อยไปก็ได้ ดังนั้นเมื่อคำนวณแล้ว อาจจะได้รับเงินคืนภาษีหรือ ต้องจ่ายภาษีเพิ่มนั่นเอง
ค่าลดหย่อนภาษี
ค่าลดหย่อน / ค่าลดหย่อนภาษี คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีจากเงินได้สุทธิ = (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี
ค่าใช้จ่าย กฎหมายจะกำหนดมาให้หักตามประเภทของรายได้ (เงินได้) เราจึงต้องรู้ว่ามีรายได้ประเภทใด และรายได้ประเภทนั้นหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร มีทั้งหักได้แบบเหมาและตามที่จ่ายจริง
ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000
ค่าลดหย่อนสำหรับ ผู้มีเงินได้ทุกคนที่ยื่นแบบแสดงรายการ ได้สิทธิค่าลดหย่อนนี้ได้
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000
ค่าลดหย่อนของคู่สมรส ( สามีหรือภรรยา ตามกฎหมาย) กรณีที่คู่สมรส ที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ และเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี เราจะได้สิทธิค่าลดหย่อนส่วนนี้
ค่าลดหย่อนบุตร 30,000
บุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม นำมาหักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท
บุตรโดยกฎหมายสามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน
บุตรบุญธรรม หรือ มีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมายจะหักได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน (เฉพาะที่มีชีวิตอยู่) มีเงื่อนไข ..
- บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี
- หากอายุอยู่ในระหว่าง 21-25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
- บุตรต้องมีเงินได้ในปี ไม่เกิน 30,000 (ยกเว้นกรณีเงินปันผล)
ตั้งแต่ปี 2561 สำหรับคนที่มีลูกคนที่ 2 เป็นต้นไป จะได้รับสิทธิเพิ่มอีก 30,000 บาทต่อคนรวมเป็น 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000
- ต้องจ่ายเป็น ค่าฝากครรภ์ และ ค่าคลอดบุตร
- จำนวนเงินสูงสุดต่อครรภ์ คือ 60,000 บาท
ถ้าจ่ายสำหรับการคลอดบุตรคนเดิม แต่จ่ายมากกว่า 1 ปี (ท้องปีนี้ คลอดปีหน้า) ให้ลดหย่อนตามปีที่ใช้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาของเราและของคู่สมรส คนละ 30,000
ถ้าหากเราหรือคู่สมรสมี บิดามารดา ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท เราก็จะมีสิทธิหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท หากเราเลี้ยงดูทั้งหมด 4 คนก็จะได้รับสิทธิสูงสุดถึง 120,000 บาท แต่.. มีเงื่อนไขว่า บิดามารดาของคู่สมรสที่จะนำมาลดหย่อนได้เฉพาะกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้เท่านั้น
เรื่องเอกสารหลักฐานนั้น บิดามารดา ต้องลงลายมือชื่อในหนังสือรับรอง (แบบ ลย.03) ว่าลูกคนไหนเป็นคนเลี้ยงดู และสิทธิในการเลี้ยงดูนั้นจะสามารถใช้สิทธิได้เพียงครั้งเดียว ใช้ซ้ำกันไม่ได้ กรณีมีพี่น้องหลายคนอาจแบ่งกัน หรือ ให้คนใดทั้งหมดก็ได้ อาจจะให้คนที่มีรายได้มากที่สุด เพราะจะได้คืนเงินมากที่สุด แม้เราจะไม่ได้เลย แต่นั่นเพราะ สายเลือดความผูกพัน สำคัญกว่าเงินทอง
ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000
สำหรับผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพที่มีใบรับรองแพทย์ มาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท เงื่อนไข .. คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่นำมาลดหย่อนนั้นต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
กรณีที่คนพิการหรือคนทุพพลภาพเป็น บิดามารดา – บุตร – คู่สมรส ของเรา เราสามารถใช้สิทธิได้ทั้งสองส่วน เช่น คู่สมรสไม่มีรายได้และพิการ ก็จะสามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท ( 60,000 + 60,000 บาท)
ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ / ช่วยเหลือ / สนับสนุน
กลุ่มนี้มักเป็นนโยบายของรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ตรวจสอบในแต่ละปีว่ามีหรือไม่อย่างไร
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000
ที่จ่ายเพื่อซื้อบ้าน/คอนโด เพื่ออยู่อาศัย หักได้ตามที่จ่ายจริง
กู้ร่วมหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆกัน แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท จะกี่หลังก็ได้
ไม่เกิน 100,000/หลัง และ สูงสุดไม่เกิน 100,000 / คน
ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต
คนทำธุรกิจที่มีการจ่ายค่าธรรมเนียมในการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ตั้งแต่ 1/11/2559 – 31/12/2564 กลุ่มที่มีรายได้ประเภทที่ 5-8 (ค่าเช่า วิชาชีพอิสระ รับเหมา และ ธุรกิจอื่นๆ) ไม่เกิน 30 ล้าน/ปี จึงจะได้รับสิทธิ
ค่าลดหย่อนกรณีซ่อมแซมบ้านและรถที่เสียหายจากน้ำท่วม บ้าน 100,000 รถ 30,000
ค่าลดหย่อนที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายจากพายุปาบึกที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3-7 /1/ 2562 (ณ วันที่ 31 มกราคม 2562 ยังไม่ได้ประกาศเป็นกฎหมาย )
- ซ่อมบ้าน บ้านที่ได้รับความเสียหายจากพายุ ตามที่จ่ายจริงสูงสุด 100,000
- ซ่อมรถ รถที่ได้รับความเสียหายจากพายุ ตามที่จ่ายจริงสูงสุด 30,000
ค่าซ่อม ต้องจ่ายภายในวันที่ 31 มีนาคม 2562 หลักฐานการจ่ายค่าซ่อม
เงินลงทุนในธุรกิจ Startup 100,000
ธุรกิจ Startup ในที่นี้ หมายถึง .. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ตลอดช่วงเวลาที่เราลงทุนในธุรกิจนั้น ประกอบธุรกิจอยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของ สวทช. และผ่านการรับรองจากทาง สวทช. แล้ว มีรายได้จากการประกอบกิจการในส่วนนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด
กลุ่มลดหย่อนเพื่อการท่องเที่ยวทั่วไทย
ค่าลดหย่อนท่องเที่ยวเมืองหลัก 15,000 บาท
ค่าลดหย่อนท่องเที่ยวเมืองรองจำนวน 20,000 บาท
มีเงื่อนไขร่วมกัน คือ ค่าลดหย่อนรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 บาท ให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 – 30 มิถุนายน 2562 เฉพาะค่าทัวร์ ค่าที่พักโรงแรม (ที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายพรบ.การโรงแรม) และโฮมสเตย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว รวมถึงสถานที่พักต่างที่ไม่ใช่โรงแรม ใช้ ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีชื่อของเรา
กลุ่มค่าลดหย่อนเพื่อการใช้จ่าย
ค่าลดหย่อนซื้อสินค้า OTOP ค่าลดหย่อนซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา ค่าลดหย่อนซื้อหนังสือหรืออีบุ๊ค โดยทั้งสองกลุ่มนี้ได้สิทธิลดหย่อนภาษีเท่ากัน คือ กลุ่มละ 15,000 บาท
1.ค่าลดหย่อนซื้อสินค้า OTOP สินค้า OTOP ต้องลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนอย่างถูกต้อง ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีชื่อผู้ซื้อ ส่วนทางผู้ขายจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่จดนั้นไม่มีปัญหา ใช้สิทธิ 30 เมษายน – 30 มิถุนายน 2562
2.ค่าลดหย่อนซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา ใบกำกับภาษีที่มีชื่อผู้ซื้อ เพราะต้องซื้อจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ใช้สิทธิ1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2562 แต่สำหรับเงื่อนไขของประเภทสินค้า
3.ค่าลดหย่อนซื้อหนังสือและอีบุ๊ค ใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษี (กรณีร้านหนังสือบางร้านมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT เพื่อประกอบกิจการอื่นด้วย) ต้องมีข้อมูลผู้ซื้อผู้ขายและรายละเอียดครบถ้วน ค่าลดหย่อนภาษีตัวนี้รวมกับรายการค่าลดหย่อนช็อปช่วยชาติ (ส่วนที่เป็นค่าซื้อหนังสือ) เมื่อตอนต้นปีแล้วจะต้องไม่เกิน 15,000 ใช้สิทธิในปี 2562
ค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์
ค่าลดหย่อนซื้อบ้านหรือคอนโดหลังแรก สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 200,000 บาท สำหรับบ้าน (พร้อมที่ดิน) หรือคอนโดหลังแรกของเราซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นมือหนึ่ง ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 5,000,000 และต้องซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ช่วง 30 เมษายน – 31 ธันวาคม 2562
อีกตัวที่มาใหม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นค่าลดหย่อนในปี 2562 ปีเดียว 200,000 บาทเต็มจำนวนเลยไม่เหมือนกับค่าลดหย่อนบ้านหลังแรกตัวก่อนหน้านี้ ที่ต้องทยอยแบ่งใช้ถึง 5 ปี (ปลายปี 2562 มีเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป สามารถลดหย่อนได้เฉพาะที่เป็นมือหนึ่งเท่านั้น อย่างไรให้ตรวจสอบดูอีกครั้ง)
กลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน
เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000
ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ การหักค่าเบี้ยประกันจะหักได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าหากคู่สมรสมีรายได้จะหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาท
– ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
– ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
– ได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000
- ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เนื่องจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ ชดเชยทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนืองจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
- ประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
- การประกันภัยโรคที่ร้ายแรง (Critical Illnesses)
- การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000
ใช้กับกรณีที่บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี หากเรามีการซื้อประกันสุขภาพให้ท่าน สามารถนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนได้สูงสุดถึง 15,000 บาท และค่าเบี้ยแบ่งกันสำหรับลูกหลายคนได้
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000
ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
จ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ
กำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อเรามีอายุ 55 ขึ้นไป
ต้องจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนได้รับผลประโยชน์
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว โดยเน้นลงทุนในตลาดหุ้นเป็นหลัก ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท โดยกองทุนรวม LTF นั้นมีเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทิน สำหรับการซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ปี 2562 ซื้อ LTF ได้เป็นปีสุดท้ายแล้ว
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ลงทุนไว้ในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ไว้ใช้ในการวางแผนเกษียณของเรา ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF มีเงื่อนไขเพิ่มเติม ..
- ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี (แต่ถ้าผิดเงื่อนไขสามารถผิดได้ 1 ปี)
- ต้องซื้อเป็นจำนวนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ 5,000 บาท
- ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงจะสามารถขายได้
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. /กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถสะสมเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดกับนายจ้างไว้
เงินประกันสังคม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท ได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของบำนาญ ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
RMF +
กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน +
กองทุนการออมแห่งชาติ +
ประกันชีวิตแบบบำนาญ +
ค่าลดหย่อน บริจาคพรรคการเมือง
จำนวนที่บริจาคแต่ไม่เกิน 10,000 สำหรับบุคคลธรรมดา ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อน บริจาคตอบแทนสังคม
ได้สิทธิหักได้สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตัวอื่นแล้ว => [(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) – เงินบริจาค] x อัตราภาษี
เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และช่วยเหลือสังคม ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่ได้จ่ายไปจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ ( เงื่อนไขใหม่ จะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e – Donation เท่านั้น )
ค่าลดหย่อนบริจาคสถานพยาบาลรัฐ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนนั้น เมื่อรวมกับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่นๆ
ข้อมูลอัพเดท หัวข้อการหักลดหย่อนภาษี ดูได้ที่แบบฟอร์มการหักลดหย่อนภาษีในแต่ละปี ซึ่งจะมีเขียนหัวข้อหมวดหมู่ไว้ชัดเจน ถูกต้อง