INSURANCETHAI.NET
Tue 24/12/2024 10:45:49
Home » Uncategorized » หักภาษีณที่จ่ายเบี้ยประกันภัย1%\"you

หักภาษีณที่จ่ายเบี้ยประกันภัย1%

2022/07/26 37571👁️‍🗨️

จำนวนเงินได้ขั้นต่ำที่ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับรับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล คือ รายได้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป

เบี้ยประกันภัยรถยนต์ = เบี้ยประกันสุทธิ + อากรแสตมป์ + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
Insurance premium = net insurance premium + stamp duty + VAT

อากรแสตมป์ = 0.4% ของเบี้ยประกันสุทธิ เศษปัดขึ้น
ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT = 7% ของ (เบี้ยประกันสุทธิ + อากรแสตมป์)

ตัวอย่างคำนวณ ภาษี หัก ณ ที่จ่าย 1% ของเบี้ยประกัน

เบี้ยประกันสุทธิ 10,000.00 บาท
อากรแสตมป์ 40.00 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 702.80 บาท
เบี้ยประกันรวม 10,742.80 บาท

ผู้เอาประกันเป็นนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่าย อัตรา 1% ของยอด (เบี้ยประกันสุทธิ + อากรแสตมป์)
ยอดหัก ณ ที่จ่าย = 0.01 x (10000 + 40) = 100.40 บาท

เบี้ยประกันสุทธิ, อากร, vat และเบี้ยรวม สามารถดูได้จากหน้าตารางกรมธรรม์
หากต้องการหัก ณ ที่จ่าย ให้แจ้ง ตัวแทน/นายหน้า หรือ บริษัทประกัน

ทุกจำนวนเงิน 250 บาท หรือเศษของ 250 บาทของเบี้ยประกัน คิดอากร 1 บาท

ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีความผิด
ความผิดในการหลีกเลี่ยงไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือจ่ายไม่ครบ จ่ายไม่ตรงตามกำหนด ได้แก่

1. ถ้าผู้จ่ายเงินไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำเงินส่ง หรือหักและนำเงินส่งแต่ไม่ครบ ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการชำระเงินตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนเงินที่ขาดไป ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้วให้ผู้มีเงินได้พ้นความรับผิด ชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)

2. ถ้าผู้จ่ายเงินไม่นำเงินภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย ไปส่งภายในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

3. ผู้ที่เจตนาละเลยไม่ยื่นรายการเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ (มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

13 ธันวาคม 2542
https://www.rd.go.th/23787.html
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับประกันวินาศภัย
มาตรา79, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542

บริษัท ก จำกัด ได้เรียกเก็บค่าเบี้ยประกันภัย และค่าอากรแสตมป์จากลูกค้า
ผู้เอาประกันภัย บริษัทฯ จึงหารือว่า
1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้คำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเบี้ยประกันภัยสุทธิ บวกค่าอากรแสตมป์ หรือคำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเบี้ยประกันภัยสุทธิเท่านั้น
2. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้ จำเป็นต้องมีเศษสตางค์ทุกครั้งหรือไม่
มีความเห็นว่า การรับประกันวินาศภัยเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จะต้องนำค่าเบี้ยประกัน และค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับจากผู้เอาประกันมาเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะถือเป็นมูลค่าทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้รับ หรือ
พึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และหากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษสตางค์ ต้องแสดงเศษสตางค์นั้นไว้ในใบกำกับภาษีด้วย

เลขที่ตู้ 62/28676
1. การประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัยถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยให้ผู้ประกอบการนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ รวมถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

ดังนั้น บริษัทฯ จะต้องนำค่าเบี้ยประกันและค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยมาคำนวณเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด เพราะถือเป็นมูลค่าทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและปรากฏว่ามีเศษสตางค์ ให้บริษัทฯ แสดงเศษสตางค์นั้นไว้ในใบกำกับภาษีด้วย โดยถือปฏิบัติตามข้อ 4(6) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับกิจการประกันวินาศภัย
https://www.rd.go.th/26852.html

19 มีนาคม 2545
https://www.rd.go.th/25137.html
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการประกันวินาศภัย
มาตรา 79

สำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หารือเกี่ยวกับมูลค่าของฐานภาษีที่นำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้
1. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องนำเอาค่าอากรที่บริษัทรับประกันภัยเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยมารวมกับเบี้ยประกันภัยด้วย หรือไม่ และถ้าคู่สัญญาตกลงกันให้บริษัทผู้รับประกันภัยเป็นผู้เสียค่าอากร ฐานภาษีจะต้องนำเอาค่าอากรมารวมเข้าด้วยหรือไม่

2. ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์กำหนดให้ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องเสียค่าอากร ถ้าผู้รับประกันภัยจะผลักภาระไปให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้เสียค่าอากรแทนจะสามารถกระทำได้ หรือไม่ อย่างไร

เลขที่ตู้ 65/31314
การประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัยถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยให้ผู้ประกอบการนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ รวมถึงเงินทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน มารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และเนื่องจาก
บัญชีอัตราอากรแสตมป์กำหนดให้ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องเสียอากร

ดังนั้น การที่บริษัทผู้รับประกันภัยผลักภาระไปให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้เสียอากรแทน บริษัทผู้รับประกันภัยจึงต้องนำค่าเบี้ยประกันภัยและค่า
อากรที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยมาคำนวณเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด เพราะถือเป็นมูลค่าทั้งหมดที่บริษัทรับประกันภัยได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow