INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 14:48:41
Home » กฏหมายประกันภัย » รถยนต์ฝ่ายถูก เรียกร้องค่าเสียหายได้เต็มจำนวน\"you

รถยนต์ฝ่ายถูก เรียกร้องค่าเสียหายได้เต็มจำนวน

2018/09/18 3545👁️‍🗨️

เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายที่เป็นฝ่ายถูกละเมิด (ฝ่ายถูก) สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายละเมิด (ฝ่ายผิด) ได้เต็มจำนวนรวมถึง ค่าเสียเวลา / ค่าขาดประโยชน์ / ค่าทำขวัญอื่นๆ ตามความเหมาะสม กฎหมายจากเหตุละเมิด

เช่นนี้แล้วเพื่อเป็นการจำกัดความเสี่ยง (หรือ บริหารความเสี่ยง) เจ้าของรถจึงซื้อประกันรถยนต์ เพื่อให้บริษัทประกันภัยรับความเสี่ยงแทน

ทางเลือก ที่จะเรียกร้องค่าเสียหาย
1.กรณีทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำประกันรถยนต์
ทางเดียวที่เราทำได้ คือ ให้คู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด รับผิดชอบค่าเสียหาย ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ฟ้องศาล ตามกระบวนการกฏหมาย
(หากคู่กรณีไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตามกระบวนการกฎหมาย)

2.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีประกัน
2.1 ฝ่ายถูกละเมิด สามารถเรียกร้องค่าเสียหาย จากผู้ละเมิดโดยตรง
2.2 ฝ่ายถูกละเมิด สามารถเรียกร้องค่าเสียหาย จากผู้ละเมิดโดยผ่านบริษัทประกันภัย

3.หากทั้งสองฝ่ายใดมีประกันรถยนต์
3.1 เลือกเคลมกับประกันของตัวเอง ซึ่งปกติก็จะใช้วิธีนี้ (ประกันของทางเราจะเไล่เบี้ยเอากับคู่กรณีต่อไป เพียงแต่มาคุมราคาให้)
3.2 เลือกเคลมกับประกันของคู่กรณี

หากเกิดปัญหาการชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ครอบคลุม
– เรียกร้องส่วนต่างเพิ่มกับคู่กรณี (หากชดใช้เสียหายไม่เพียงพอก็สามารถเรียกร้องจากคู่กรณีได้ตามกฎหมายต่อไป)
– ร้องเรียนบริษัทประกันภัยนั้น โดยร้องเรียนไปที่คปภ (ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลบริษัทประกันภัย) ทั้งช่องทางออนไลน์หรือ เดินทางไปด้วยตัวเองที่เขตต่างๆ ถ้าเห็นว่าบริษัทประกันนั้นไม่เป็นธรรม หรือ ตุกติก ทำการเคลมด้วยความไม่ชัดจน เอาเปรียบ

จะเห็นได้ว่า แม้เราจะอายุมากกว่า 3 หรือ 5 ปีไปแล้วและทำประกันชั้น 1 แบบ ซ่อมอู่ก็ตาม ถ้าหากรถยนต์ได้รับความเสียหายและเราเป็นฝ่ายถูก ก็สามารถ เรียกร้องได้เต็มจำนวน หลักการประกันภัยก็คือชดใช้หรือซ่อมให้คืนกลับมาสู่สภาพเดิม ถ้าซ่อมไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนอันใหม่ชิ้นใหม่ ที่ดีเท่าเดิม (ไม่ด้อยกว่าเดิม ) หรือ ดีกว่าเดิม เช่น ถ้าชิ้นส่วนเดิมเป็นของแท้ และก็สามารถหาได้ในขณะนั้นเราก็มีสิทธิ์ที่จะใช้ของแท้นั้น แทนการใช้ของเทียบ ประเด็นหลักๆของเรื่องนี้ก็คือ เราเป็นฝ่ายถูกนั่นเองซึ่งสามารถเรียกร้องได้เต็มจำนวน แม้ว่า ชิ้นส่วนรถยนต์ที่เสียหายนั้นซึ่งเป็นของแท้จะมี การเสื่อมค่าก็ตาม ทุกอย่างอยู่ที่คุยกัน

แต่ถ้าหากเราเป็นฝ่ายผิด อย่างนี้ก็จะเรียกร้อง ให้ได้ของแท้อย่างเดิมนั้นทำได้ยาก เพราะเราเป็นฝ่ายผิด (กฏหมายไม่ได้คุ้มครองผู้ละเมิด) บริษัทใช้สิทธิ เรื่องค่าเสื่อมตามหลักเกณฑ์ของประกันภัย (ฝ่ายถูก ต่อให้ไม่มีประกันภัยรถยนต์ก็เรียกร้อง คู่กรณีได้เต็มวงเงินอยู่แล้ว อาศัยกฏหมาย การละเมิด เพีงแต่กรณีนี้ มีประกันเข้ามาเกียวข้อง ก็เรียกร้องประกัน แต่ใช้สิทธิตามกฏหมาย ซึ่งได้สิทธิมากกว่า เงื่อนไขประกันภัย)

สำหรับกรณีของ ความเสียหาย บาดเจ็บต่อร่างกาย ก็ใช้หลักการ เรียกร้องเดียวกัน

สุดท้ายแล้วแม้จะมีประกัน การไม่เกิดอุบัติเหตุเลย น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ต้องวุ่นวาย เสียเวลา เสียความรู้สึก ฯลฯ

แล้วฝ่ายผิด จะเรียกร้องเต็มจำนวนไม่ได้เหรอ?

ถ้าเรียกร้องจาก ประกันก็สามารถทำได้

แต่บทความนี้ เราได้กล่าวถึงบริบทของ กรณีของ การประกันรถยนต์ ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่ “การถูกละเมิด” ผู้ถูกละเมิด ทางกฏหมายได้ให้ความคุ้มครองไว้ จึงสามารถเรียกร้องได้ตามกฏหมาย จากผู้ละเมิด ซึ่งก็คือ คู่กรณี (การถูกละเมิดในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประกันรถยนต์ ก็ทำได้เช่นกัน) แต่หากเป็นเรื่องของอุบัติเหตุรถยนต์แล้ว หากมีประกันรถยนต์เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็จะมีการเรียกร้องโดยใช้ประกันรถยนต์ที่มี ในการชดใช้ค่้าเสียหายนั่นเอง ดังนั้น “ฝ่ายถูก” จึงเป็น เป็น “ฝ่ายถูกละเมิด” ในทางกฏหมาย จึงเรียกร้องได้เต็มจำนวนความเสียหาย

มาดูฝ่ายผิดมั่ง ฝ่ายผิดนั้นไปละเมิด ผู้อื่น กฏหมายไม่คุ้มครอง จึงเรียกร้องคนที่ตัวเองไปละเมิดไม่ได้ (เพราะตัวเองผิดจะไปเรียกร้องค่าเสียหายจากใครละ?) แต่หากได้ทำประกันรถยนต์ไว้ ก็ไปเรียกร้อง กับ ประกันที่ตนเองได้ทำไว้ได้ตามความคุ้มครองที่ซื้อไว้

ถ้ากล่าวถึงกรณี ต่างคนต่างไม่มีประกัน ก็จะใช้กฏหมายในการเรียกร้อง
ฝ่ายถูก นั้นถูกละเมิด เรียกร้องได้เต็ม ตามความเสียหายที่ถูกละมิด จากผู้ละเมิด
ฝ่ายผิด เรียกร้องอะไรไม่ได้ มีเเต่จะถูกเรียกร้อง เพราะไปทำให้คนอื่น เสียหาย
แต่หากได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้ ก็ให้ประกัน ชดใช้ในความเสียหาย ที่ตนได้ละเมิดไปตามวงเงินคุ้มครอง แก่ผู้ที่ตนละเมิด หากวงเงินประกัน น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จ่ายส่วนต่าง หากไม่จ่ายก็อาจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันไป

สำหรับความเสียหายของตัวรถยนต์ของตนเอง ก็ได้รับคามคุ้มครอง ตามวงเงินประกันที่ตนได้ซื้อไว้ ถ้าไมไ่ด้ซื้อไว้ก็ซ่อมเอง เรียกร้องประกันไม่ได้ เพราะได้ทำประกันไว้

กฎหมายละเมิด

กฎหมายละเมิด (Violate Law) เป็น กฎหมายประเภทหนึ่งของกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ เพื่อใช้เรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนระหว่างกัน ซึ่ง “ละเมิด” จะหมายถึงการกระทำใดๆของบุคคล หรือการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยาได้ โดยการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้องให้ผู้ละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติในลักษณะอื่นๆแล้วแต่กรณี

ลักษณะของการกระทำละเมิด

1. กระทำต่อบุคคลอื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

การกระทำ หมายถึงการเคลื่อนไหวอิริยาบถ โดยรู้สำนึกในการเคลื่อนไหวนั้น กล่าวคือ การเคลื่อนไหวอิริยาบถนั้นมีผลมาจากความคิด ตกลงใจ และการกระทำตามที่ตกลงใจนั้น หากบุคคลเคลื่อนไหวโดยไม่รู้สำนึก เช่น สะดุ้ง ละเมอ หรือถูกจับมือให้กระทำ ดังนี้ไม่ถือว่ามีการกระทำ เพราะการเคลื่อนไหวต่างๆนั้นไม่ใช่มีผลมาจากการคิด ตกลงใจ และกระทำตามที่ตกลงใจ

การกระทำต่อบุคคลอื่นต้องเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฏหมาย หรือกล่าวอีกนัยหนี่งคือ เป็นการกระทำที่ผู้กระทำไม่มีอำนาจที่จะกระทำตามกฏหมาย เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ขับรถโดยประมาท หรือทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย เป็นต้น

2. เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ

กระทำโดยจงใจ หมายถึง กระทำโดยรู้สำนึกถึงผลหรือความเสียหายที่่่จะเกิดจากการกระทำของตน ส่วนผลหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นจะมากหรือน้อยเพียงใดไม่สำคัญ

กระทำโดยประมาทเลินเล่อ หมายถึงกระทำโดยไม่จงใจ แต่ไม่ได้ความระมัดระวังตามสมควร การกระทำอย่างใดเป็นประมาทเลินเล่อต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป

3. การกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย

การกระทำละเมิดนั้น นอกจากจะต้องเข้าตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้วยังต้องเป็นเหตุให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายด้วย หากการกระทำนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด

แค่ไหนเพียงใดจึงจะถือว่าเป็นความเสียหาย ต้องอาศัยการวินิจฉัยของบุคคลธรรมดาหรือปกติชนที่คิดเห็นในสังคมโดยชอบเป็นมาตรฐาน

การกระทำที่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวทั้ง 3 ประการจะเป็นความรับผิดฐานละเมิด ซึ่งผู้ทำละเมิดมีหน้าที่หรือความรับผิดตามกฏหมายในอันที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกทำละเมิดนั้น

4. ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของการกระทำ

ถือป็นหลักเกณฑ์ความรับผิดฐานละเมิดที่สำคัญแม้ถ้อยคำในตัวบทจะไม่ได้ระบุให้ชัดเจนเหมือนหลักเกณฑ์ข้ออื่นๆก็ตาม ในการวินิจฉัยว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลตามหลักเกณฑ์ข้อนี้หรือไม่นั้นควรจะต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ขั้นตอน

1. เป็นความสัมพันธ์ที่่เป็นและผลระหว่างการกระทำโดยไม่ชอบของจำเลย กับความเสียหายที่โจทก์ได้รับอยู่จริงหรือไม่ และ
2. ความเสียหายที่เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยนั้นไกลเกินกว่าเหตุที่จะให้จำเลยรับผิดหรือไม่

ความเห็นของนักนิติศาสตร์ในเรื่องนี้มีอยู่หลายประการ เช่น
1. ความเสียหายนั้นจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยโดยตรง
2. ความเสียหายนั้นจะต้องเป็นผลที่ใกล้ชิดกับการกระทำความผิด หรือ
3. ความเสียหายนั้นต้องเป็นความเสียหายที่ตามธรรมดาย่อมเกิดจากการกระทำนั้นๆไม่ใช่ความเสียหาย

นักนิติศาสตร์เยอรมัน กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ เป็น 2 ทฤษฎี
1. ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
2. ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม

หลักเกณฑ์ใน 2 ทฤษฎีส่งผลในทางกฎหมายแตกต่างกันไป โดยทฤษฎีที่ใช้ในกฎหมายไทยจึงมีการนำหลักจาก 2 ทฤษฎีนี้มาร่วมกัน โดยนำทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไขมาใช้เป็นหลักเบื้องต้น แล้วนำทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสมมาเป็นข้อยกเว้น

กฏหมายละเมิด





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow