การประกันภัยบุคคลที่3
การประกันภัยบุคคลที่3 (Third party insurance)
หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ซึ่งมักจะ อยู่ในกรมธรรม์ประกันภัย ประเภทต่างๆ เช่น
1.ประกันภัยรถยนต์ประเภทต่าง
2.ประกันภัยรถยนต์ พรบ
3.ประกันอัคคีภัย (ต้องซื้อเพิ่ม)
4.ประกันความรับผิดบุคคลภายนอก สำหรับสถานประกอบการ
5.ประกันภัยสำหรับผู้จัดงาน หรือ ประกันภัยงานอีเวนท์
6.ประกันภัยตามสัญญา (ประกันการก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้าง)
ฯลฯ
บุคคลที่3 , บุคคลที่สาม
บุคคลที่สาม ในทางกฏหมายแพ่ง มีความหมายเหมือนกับ บุคคลภายนอก
ประกันภัยบุคคลที่3 นั้น บริษัทประกันมักจะไม่ขายให้เดี่ยวๆ จะต้องซื้อพร้อมประกันภัยหลักอื่นๆ ดังตัวอย่างข้างต้น ซึ่งจะว่าไปแล้ว ประกันภัยบุคคลที่3 นั้นมักจะถูกบังคับให้ซื้อ โดยกฏหมาย ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองบุคคลที่3 นั่นเอง
ตัวอย่าง
ผู้ประสบภัยจากรถยนต์จำนวนมากที่ไม่ใช่ผู้ขับขี่ ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ เงินชดเชยต่างๆ ที่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ภาระจึงตกอยู่กับผู้ประสบภัยและครอบครัว จึงทำให้กฎหมายบังคับให้ต้องทำ
แม้แต่ พรบ อาคาร ล่าสุดยังมีการแก้ไขให้อาคารต่างๆต้องซื้อประกันภัยบุคคลที่3 ด้วย
เช่น
อาคารต้องประกันบุคคลที่3
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับ 5) เพิ่มบทบัญญัติให้เจ้าของอาคารต้องมีการประกันภัยบุคคลภายนอก ที่ได้รับความเสียหายจากอาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 27 ส.ค.2558 และมีผลบังคับตั้งแต่ 28 ส.ค.2558พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่กำหนดให้เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการสำหรับอาคารบางชนิดหรือประเภท ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
เพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับการชดใช้ค่าเสียหายในเบื้องต้นในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินจากอาคารนั้น
การประกันภัยบุคคลที่3 ถือเป็น ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก หรือ Third party liability ซึ่งปัจจุบันมีกรมธรรม์เฉพาะต่างๆ
เช่น
ประกันภัยความรับผิดสำหรับวิชาชีพแพทย์
ประกันภัยความรับผิดสำหรับวิชาบัญชี
ประกันภัยความรับผิดสำหรับผู้ตรวจสอบอาคารฯลฯ