INSURANCETHAI.NET
Thu 21/11/2024 17:09:24
Home » การเงิน การลงทุน ธุรกิจ » Time Value of Money\"you

Time Value of Money

2013/07/19 1629👁️‍🗨️

nytimesoped
ก๋วยเตี๋ยวเมื่อ 40 ปีก่อนขายกันในราคาเพียง 25 สตางค์ แต่สำหรับ พ.ศ. นี้  เราต้องมีเงินประมาณ30บาทเพื่อและกับก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม  ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในราคานั่นคืออัตราเงินเฟ้อ ( Inflation ) อสูรกายทางการเงินตัวนี้จะค่อยๆกัดกินมูลค่าที่แท้จริงของเงินเราได้ลดลงไป เรื่อยๆ โดยแต่ละปีอัตราเงินเฟ้อก็จะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพเศรษกิจโดยรวม

สมมติว่าอัตราเงินเฟ้อของปีที่แล้วเท่ากับ 5% และปีที่แ้ลวเรามีเงินที่เก็บใส่ไว้ในกระปุก 100 บาท  ผ่านไปเพียง 1 ปีเจ้าอัตราเงินเฟ้อก็ได้ทำลายมูลค่าที่แท้จริงของเงินในกระปุกเราจนเหลือ เพียง 95 บาทเท่านั้น

คำถามคือเราจะมีวิธีการจัดการกับปีศาจเงินเฟ้อได้อย่างไร  คำตอบคือเจ้าปีศาจตัวนี้แพ้วิชาการลงทุน ( Investment )  ซึ่งการสู้รบกับปีศาจเงินเฟ้อเราต้องศึกษาคัมภีร์วิชาการลงทุน  ในคัมภีร์นี้ก็ประกอบไปได้กระบวนท่าหลายอย่าง เช่น การลงทุนในเงินฝาก การลงทุนในพันธบัตร การลงทุนในหุ้นกู้ การลงทุนในหุ้น การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ การลงทุนในสิ้นค้าเกษตร การลงทุนในอัญมณี การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์  บางคนก็เลือกใช้เพียง 1 กระบวนท่า แต่อีกหลายคนก็นำหลายๆกระบวนท่ามาผสมผสานกัน แต่สุดท้ายทุกกระบวนท่าก็สร้างพลังเพื่อเอาชนะเจ้าเงินเฟ้อ พลังนั้นมีชื่อว่า ผลตอบแทน (return) หากอัตราผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ  แสดงว่าเราแพ้  มูลค่าที่แท้จริงของเงินเราก็จะลดลง  แปลว่าเราจนลงนั่นเอง  แต่ถ้าผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ  แปลว่าเราชนะ  มูลค่าที่แท้จริงของเงินเราก็จะเพิ่มขึ้น  ก็คือเรารวยขึ้น

ทีนี้เราลองมาดูกันถึงผลจากอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนกันดีกว่า

สูตรของมันคือ FV = PV*(1+r)^n

FV = มูลค่าเงินในอนาคต

PV = มูลค่าเงินในปัจจุบัน

r = อัตราของผลตอบแทนต่อปี (ถ้าเงินเงินเฟ้อจะเป็นค่าลบ) [1% ให้แทนค่าในสูตรด้วย 0.01]

n= จำนวนปี

หมายเหตุสูตรนี้ใช้ได้เมื่ออัตราผลตอบแทนเท่ากันทุกปี

ตัวอย่างที่ 1 ถ้าเรานำเงิน 1,000 บาท ไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 3 % ต่อปี  เงินของเราในบัญชี ณ สิ้นปีที่5 จะเป็นเท่าไร

FV=1000*(1+0.03)^5

FV= 1,159.27 บาท

ตัวอย่างที่ 2 สืบเนื่องจากตัวอย่างที่ 1 หากตลอด 5 ปีที่ฝากเงินมีอัตราเงินเฟ้อ 4% มูลค่าเงินที่แท้จริง ณ สิ้นปีที่5จะเป็นเท่าไหร่

FV=1000*(1+0.03-0.04)^5

FV=950.99 บาท   จะเห็นได้ว่าถึงเงินในบัญชีเราจะเพิ่มเป็น 1,159.27 บาท แต่ด้วยข้าวของที่แพงขึ้นจาก inflation ทำให้เงินเราเสมือนว่าเหลือมูลค่าซื้อของได้ 950.99 บาท ณ วันปัจจุัน  นั่นแปลว่าเราจนลงเพราะเราสร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่าเงินเฟ้อ

สูตรด้านบนจะใช้ไม่ได้ถ้า rate of return เปลี่ยนไปทุกปี  หลักการคิดสำหรับกรณีแบบนี้ต้องคิดทีละปี โดย FV=PV(1+r) โดยที่ FV ของปีนี้จะเป็น PV ของปีหน้า

ตัวอย่างที่3 ถ้าเรานำเงิน 1,000 บาท ไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 0.5 % ต่อปีในปีแรก และเพิ่มขึ้น 1% ต่อปี  เงินของเราในบัญชี ณ สิ้นปีที่5 จะเป็นเท่าไร

เท่ากับว่า rate of return ของปีที่ 1-5 เป็นดังนี้  0.5%, 1.5%, 2.5%, 3.5%, 4.5%

เงินในบัญชี ณ สิ้นปีที่ 1     FV1  =   1000*(1+0.005) = 1005   บาท

เนื่องจากเงิน ณ สิ้นปีที่1 = เงิน ณ ต้นปีที่ 2

เงินในบัญชี ณ สิ้นปีที่ 2     FV2  =   1005*(1+0.015) = 1020.075 บาท

เงินในบัญชี ณ สิ้นปีที่ 3     FV3  =   1020.075*(1+0.025) = 1045.57687 บาท

เงินในบัญชี ณ สิ้นปีที่ 4     FV4  =   1045.57687*(1+0.035) = 1082.17206 บาท

เงินในบัญชี ณ สิ้นปีที่ 5     FV5  =   1082.17206*(1+0.045) = 1130.8698 บาท





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow