การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า Trade Credit Insurance
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า
ผู้ประกอบการหลายราย ขยายตลาดไปในกลุ่มผู้ซื้อรายใหม่ หรือประเทศที่ยังไม่เคยทำธุรกิจร่วมกัน กอปรกับแนวโน้มของการชำระเงินที่ผ่อนปรนแก่ผู้ซื้อสินค้า เช่น D/P, D/A, O/A และ T/T after shipment เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน รูปแบบการชำระเงินที่ผ่อนปรน ผู้ประกอบการอาจได้รับความเสี่ยงอันเกิดจากผู้ซื้อสินค้าไม่ชำระเงิน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย หรือผู้ซื้อล้มละลาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและธุรกิจของผู้ประกอบการโดยรวมได้ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัทรับประกันภัยต่อ ด้านการประกันภัยสินเชื่อทางการค้าชั้นนำของโลก ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงภัยของผู้ประกอบการในประเทศไทยที่อาจได้รับผลกระทบดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำและนำเสนอการประกันภัยสินเชื่อทางการค้า ซึ่งเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเครื่องมือทาง
การเงินในการบริหารสภาพคล่อง รวมทั้งสามารถใช้เป็นหลักประกันในการขอวงเงินจากทางธนาคารแก่ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของท่านอย่างไร?
เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารความเสี่ยง ในกรณีที่ผู้ซื้อสินค้าไม่ชำระค่าสินค้าตามที่กำหนดในสัญญาซื้อขายสินค้า หรือผู้ซื้อสินค้าล้มละลาย ท่านจะได้รับการชดเชยค่าสินค้านั้น ทำให้ธุรกิจของท่านไม่ได้รับผลกระทบ
ทางด้านการเงิน
เครื่องมือทางการตลาด
เพิ่มศักยภาพในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ จูงใจลูกค้าใหม่และช่วยขยายฐาน ลูกค้าเดิม โดยการเสนอเงื่อนไขการชำระเงินที่ผ่อนปรนให้แก่ลูกค้า
เครื่องมือทางการเงิน
ลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งใช้เป็นหลักประกันในการขอวงเงินจากธนาคาร
ทำไมจึงต้องทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้า
– ผลกระทบต่อธุรกิจอันเกิดจากหนี้สูญ ซึ่งมีความสำคัญมากต่อบริษัทฯ
– การบริหาร และจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง
– แนวโน้มการชำระเงินในรูป L/C ลดลงเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่รูปแบบการชำระเงินประเภท D/P, D/A, O/A และ T/T after shipment สามารถจูงใจผู้ซื้อได้มากกว่า
ความคุ้มครอง
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าให้ความคุ้มครองความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
ความเสี่ยงทางการค้า
– ผู้ซื้อล้มละลาย
– ผู้ซื้อปฏิเสธการชำระหนี้
ความเสี่ยงทางการเมือง
– การประกาศพักชำระหนี้ของรัฐบาล
– การห้ามโอนเงินออกนอกประเทศ
– การยกเลิกใบอนุญาตนำเข้า
– สงคราม การปฏิวัติ รัฐประหาร
– การปฏิเสธการชำระหนี้โดยหน่วยงานรัฐบาล
ข้อยกเว้น
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าไม่คุ้มครองความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
ความเสี่ยงทางการค้า
มีข้อโต้แย้ง/ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย
ความเสี่ยงทางการเมือง
การขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน
ผลจากสงครามระหว่าง 5 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และรัสเซีย
เบี้ยประกันภัยคำนวณจากอัตราเบี้ยประกันภัย (อยู่ในช่วงระหว่าง 0.1 % – 2.5 %) ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ยอดขายที่นำมาทำประกัน
ประเภทของอุตสาหกรรม
ความเสี่ยงของผู้ซื้อ เช่น ประเทศที่ผู้ซื้อตั้งอยู่ หรือ ศักยภาพทางการเงิน
ผู้ขอเอาประกันภัย
– บริษัทจดทะเบียนในประเทศรวมถึงสาขาในต่างประเทศ ที่มีการชำระเงินในรูปแบบของ D/P, D/A, O/A,
– T/T after shipment โดยมียอดขายที่นำมาทำประกันไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาทต่อปี และมีเทอมการชำระเงินไม่เกิน 5 เดือน
ทำธุรกิจขายสินค้าภายในประเทศ และ/หรือ ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
ข้อมูลประกอบการขอเอาประกันภัย
ยอดขายที่นำมาทำประกัน
ประเภทของอุตสาหกรรม
ความเสี่ยงของผู้ซื้อ เช่น ประเทศที่ผู้ซื้อตั้งอยู่ หรือ ศักยภาพทางการเงิน