ประเภทประกันภัยรถยนต์
การทำประกันภัยรถยนต์ ไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุได้ แต่ช่วยชดเชยค่าใช้จ่ายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ และทำให้เกิดความสงบทางใจได้
ประกันภัยรถยนต์ 2 แบบ
- ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
หรือ ประกันภัยพรบ.
– รถยนต์ทุกคันต้องทำ บังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
– รับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสพภัยจากรถยนต์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน - การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้จะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(พรบ)
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัคร แบ่งประเภทต่างๆ
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
คุ้มครองแบบครบที่สุด ความสูญเสีย/เสียหายต่อชีวิต อนามัย และ/หรือ ทรัพย์สิน ค่ารักษาพยาบาล ทั้งของฝ่ายผู้เอาประกันภัยและฝ่ายคู่กรณี
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2
รับผิดชอบคุ้มครองค่าเสียหายในกรณีที่รถยนต์ของผู้เอาประกันภัยสูญหายหรือเสียหายจากไฟไหม้ รวมถึงค่าเสียหายต่อชีวิต / ค่ารักษาพยาบาล และทรัพย์สินของ ฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3
รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต / ค่ารักษาพยาบาล และทรัพย์สิน
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4
รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ทรัพย์สินของฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
คล้ายกับประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แต่จะรับผิดชอบค่าเสียหายในทรัพย์สินของผู้เอาประกัน เฉพาะอุบัติเหตุที่มีจากการชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
ถ้าชนกับต้นไม้ ขอบทาง ฯ ไม่คุ้มครอง
ปัจจุบันได้มีประกันภัยรถยนต์รูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นและที่แตกต่างจากการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1, 2, 3, และ 4 จะเรียกว่าประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 แต่ตลาดมากนิยมเรียก ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 นี้ว่า ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2+ ,3+
วิธีเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์
ดูได้จากพฤติกรรมการขับขี่ของเรา
การใช้งาน อายุรถ สภาพรถ งบประมาณ ฯลฯ
จำนวนเงินเอาประกันภัย | จำนวนเงินสูงสุดที่บริษัทประกันจะจ่ายให้ตามความ คุ้มครองด้านต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้น เช่น ความเสียหายต่อตัวรถที่เอาประกันเนื่องจากการชนไม่เกิน 600,000 บาทต่อครั้ง หรือ ความเสียหายของต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยและ ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่เกิน 5,000,000 ต่อครั้ง เป็นต้น |
เบี้ยประกันภัย | จำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้บริษัทประกันภัยเพื่อแลกกับความคุ้มครองที่จะได้รับ คิดเป็นต่อปี มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัย ความคุ้มครอง และทุนประกันของตัวรถที่เอาประกัน |
การระบุผู้ขับขี่ | เป็นปัจจัยอีกตัวที่กำหนดเบี้ยประกัน การระบุชื่อผู้ขับขี่จะลดเบี้ยประกันลงได้บ้าง ในกรณีที่เกิดเหตุโดยผู้ขับขี่ที่ไม่ใช่บุคคลตามที่ได้ระบุชื่อไว้กรมธรรม์ ก็ยังคงให้ความคุ้มครอง เพียงแต่ผู้เอาประกันภัย จะต้องรับผิดชอบเองสำหรับความเสียหายส่วนแรก |
Excess หรือ Deductible | คือความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้อง รับผิดชอบเอง ในแต่ละครั้งที่เกิดความเสียหาย เป็นเงื่อนไขที่มีระบุอยู่ในหน้าตาราง กรมธรรม์ โดยจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจะแตกต่างไปตามสาเหตุ เช่น 2,000 บาท จากการชนที่ไม่สามารถแจ้งคู่กรณีได้ หรือ 6,000 บาท สำหรับกรณีที่ผู้ขับขี่ในขณะเกิดเหตุมิใช่ชื่อที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ กรณีเป็นกรมธรรม ์แบบระบุผู้ขับขี่ เป็นต้น |
ส่วนลดประวัติดี | ส่วนลดนี้จะปรับขึ้นลงได้ขึ้นอยู่กับประวัติ ของรถที่เอาประกัน ว่าเคยมีการเรียกร้องค่าเสียหาย หรือไม่ เท่าใด ปกติจะได้รับอยู่ที่ 20%-50% |
บริษัทประกันภัย | การเลือกบริษัทประกันภัย ดูจาก ..
ส่วนใหญ่แล้ว จะหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากสื่อต่างๆ รวมถึงคนรู้จัก เพื่อมั่นใจได้ว่าบริษัทประกันภัยที่เลือกไว้มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้ในกรณีที่เกิดการเคลม การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และการบริการ |