ศิลปะการรักษาและการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง : บาดเจ็บที่ศีรษะ และโรคแทรกซ้อน
1127
ศิลปะการรักษาและการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง : บาดเจ็บที่ศีรษะ และโรคแทรกซ้อน
ผู้ป่วยชายอายุ27ปี ประสบอุบัติเหตุรถชนกัน บาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงเลือดออกใต้เยื่อบุสมองได้รับการผ่าตัดรักษา(Decompressive craniectomy remove bloodclot)โดยประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1ที่รพ.แห่งหนึ่งในกทม. ผู้ป่วยหายเป็นปกติไม่มีความพิการ อยู่รพ.2สัปดาห์ กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านต่างจังหวัด ประมาณ 2เดือนต่อมา ผู้ป่วยมีอาการซึมลงได้เข้ารับการรักษาตัวที่รพ.ใกล้บ้านต่างจังหวัดโดยประสาทศัลยแพทย์ท่านที่2 วินิจฉัยโรคแทรกซ้อนน้ำคั่งในโพรงสมอง(Communicating hydocephalus)ผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองลงช่องท้อง(Ventriculoperitoneal shunt) หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น อ่อนแรงครึ่งซีก ไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนได้ ซึม ญาติได้สอบถามอาการกับประสาทศัลยแพทย์ท่านที่2 ไม่ทราบว่าเป็นจากอะไร,รักษาอยางไรก็ไม่หาย,ไม่อยากจะรักษาต่อจากแพทย์ท่านอื่น ญาติจึงพาผู้ป่วยกลับมารักษากับประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1ที่รพ.ในกทม. ตรวจวินิจฉัยพบว่าShunt malfunction,Missed position(Iatrogenic complication) ปลายสายยาวข้ามฝั่งย้อยไปปักโดนMid brain
ผู้ป่วยจึงกลอกตาขึ้นบนไม่ได้ ประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1จึงผ่าตัดรักษาโรคแทรกซ้อนถอดสายระบายน้ำในโพรงสมองอันเก่าออกแล้วใส่ใหม่ ผลการรักษาดีเยี่ยมผู้ป่วยรู้ตัวดีอาการอ่อนแรงหายเป็นปกติ สามารถกลอกตาขึ้นบน ประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1ได้ให้กำลังใจ บอกผู้ป่วยจะหายดีกลับไปวิ่งได้เมื่อฟื้นตัวจากโรคแทรกซ้อนต่างๆและ สอนผู้ป่วยให้ใช้มือซ้ายแทนมือขวาที่อ่อนแรง เมื่อหายเป็นปกติผู้ป่วยสามารถเขียนหนังสือได้ทั้ง2มือและวิ่งได้จริง
ญาติผู้ป่วยได้ดำเนินการฟ้องร้องประสาทศัลยแพทย์ท่านที่2
ตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.)สาเหตุของการฟ้องร้อง
2.)การแก้ไขและการป้องกันการฟ้องร้อง
3.)ถ้าท่านเป็นผู้พิพากษาท่านจะตัดสินคดีอย่างไรให้ยุติธรรม
4.)ท่านจะประพฤติตนเช่นใด (ประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1 หรือ2) เพราะเหตุใด
ควรฝึกสมองคิด ก่อนอ่านเฉลย ซึ่งแต่ละคนอาจคิดเห็นแตกต่างกันไป
1.)สาเหตุการฟ้องร้อง
1.1)ความบกพร่องด้านความรู้ความสามารถ ทักษะการผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม
1.2)ความบกพร่องด้านจริยธรรม:การติดต่อสื่อสาร(Communication skill),การยินยอม(Informed consent),การแจ้งข่าว(Tell the truth)
1.3)ผู้ป่วยได้รับความเสียหาย(พิการ),ญาติไม่พอใจ
2.)การแก้ไขและป้องกัน
การสร้างแพทย์ ศัลยแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ ที่มีความรู้ความสามารถ(Competency)และมีจริยธรรม(Ethic) เช่น ประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1 ไม่ปฏิเสธที่จะรักษาผู้ป่วยที่เกิดโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัดของแพทย์ผู้อื่น มีความรู้ความสามารถ(Good competency)และทักษะการผ่าตัดที่จะรักษาโรคทำให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม มีจริยธรรม การติดต่อสื่อสารที่ดี(Good communication skill)อธิบายให้ญาติทราบ หายกังวล ให้ความมั่นใจในการรักษาที่ดีและสามารถทำนายผลการรักษาอย่างแม่นยำ จะหายเป็นปกติ ก็หายเป็นปกติจริง,การให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดเพื่อขอความยินยอมผ่าตัด(Informed consent) ,การพูดความจริง(Tell the truth)เกี่ยวกับโรค การรักษา ผลการรักษา โรคแทรกซ้อนและการแก้ไข, การเห็นอกเห็นใจ(Sympathy Empathy) ให้กำลังใจและดูแลรักษาเอาใจใส่เช่นเดียวกับญาติตนเองดังที่แพทย์ท่านที่1ใช้คำพูดที่แสดงความเห็นใจและแนะนำสิ่งที่ดี ให้ความหวังและโอกาสผู้ป่วยรักษาคนไข้จากโคม่าให้กลับไปทำงานได้ (เช่น กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้มือซ้ายแทนมือขวา เมื่อผู้ป่วยหายเป็นปกติสามารถใช้มือทั้งสองข้างเขียนหนังสือได้) ไม่ทับถมสบประมาทแพทย์ท่านอื่นแต่สอนนักศึกษาแพทย์ให้เห็นความจริงของการรักษาที่ดีเพื่อเป็นแพทย์ที่ดีที่มีความเป็นมนุษย์
คดียุติที่ผู้ป่วยและญาติพอใจผลการรักษาโดยประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1 ผู้ป่วยหายเป็นปกติ และประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1 ช่วยไกล่เกลี่ย สอนให้ผู้ป่วยเลิกพยาบาท และใช้ความรู้ความสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและสามารถอธิบายว่าที่ฟ้องร้องเพื่อสั่งสอนประสาทศัลยแพทย์ท่านที่2 ไม่ให้ประมาทและประพฤติเช่นนั้นกับผู้ป่วยรายอื่น ไม่ได้ประสงค์ทรัพย์สินเงินทอง
ระบบประกันการฟ้องร้องเพื่อชดเชยสินไหมไม่ได้ช่วยป้องกันและแก้ไขที่สาเหตุ แต่อาจก่อให้เกิดการฟ้องร้องเพื่อทรัพย์สินมากขึ้นดังตัวอย่างที่เกิดในต่างประเทศ และ จากกรณีศึกษาที่บางกรณีผู้ป่วยไม่ได้ต้องการเรียกค่าเสียหาย
ควรแก้ไขวิกฤติศรัทธาที่ผู้ป่วยมีต่อแพทย์ โดยสร้างความเชื่อถือศรัทธาวิชาชีพแพทย์ เมื่อแพทย์เป็นผู้ที่น่าเชื่อถือและศรัทธา ไม่ประมาท
3.)การตัดสินคดี
เนื่องจากผู้พิพากษาไม่มีความรู้ด้านการแพทย์ การจะพิจารณาโดยดูจากเจตนา การกระทำ และผลการกระทำ อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากแพทย์ทุกท่านมีเจตนาที่จะรักษา ไม่ฆ่า หากมีเจตนาฆาตกรรมก็ผิดตั้งแต่ต้น ดังนั้นควรพิจารณาจาก
1.)Competency ผิดในเรื่องความรู้ความสามารถ
2.)Ethic ผิดในเรื่องจริยธรรม
ถ้ามีข้อบกพร่องผิดทั้ง2ด้าน โดยเฉพาะผิดจริยธรรมและมีเจตนาในทางที่ชั่ว จนผู้ป่วยพิการและถึงแก่ความตายก็ควรพิจารณาว่า แพทย์ผิดจริง ควรได้รับการลงโทษตามความรุนแรง เช่น ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ ถอนใบประกอบโรคศิลป์ ปรับ จำคุก
ผู้พิพากษาควรให้ความยุติธรรมแก่ผู้ป่วยและแพทย์ ทั้งนี้ควรมีความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยซึ่งได้รับความเสียหาย และแพทย์ซึ่งมีจริยธรรม ถ้าไกล่เกลี่ยได้ควรไกล่เกลี่ย และหาทางช่วยเหลือทั้ง2ฝ่าย
แพทย์ที่มีจริยธรรม จะรู้จักผิดชอบชั่วดี ย่อมรู้ตนว่าผิดพลาดเช่นใดและการพูดความจริงยอมรับข้อผิดพลาด ขอโทษในเวลาอันเหมาะสม แสดงเจตนาดีที่จะรักษาผู้ป่วยและพูดอธิบายแก่ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งรอบคอบไม่ประมาทก็จะไม่เกิดการฟ้องร้อง
4.)ท่านควรประพฤติตนให้เหมาะสมกับวิชาชีพแพทย์ ที่น่านับถือ สร้างความไว้วางใจและศรัทธาแก่ผู้ป่วย ด้วยความรู้ควบคู่จริยธรรมซึ่งสอดคล้องกันในการปฏิบัติวิชาชีพเวชกรรม เป็นทั้งศาสตร์ และ ศิลปะ ในการรักษาโรค เช่นเดียวกับประสาทศัลยแพทย์ท่านที่1 ที่ชนะใจและครองใจผู้ป่วยและญาติ แม้ผู้ป่วยจะถึงแก่ความตายก็ยังคงได้รับความนับถือจากญาติคนไข้ ผู้ป่วยรายนี้หายเป็นปกติซึ่งเหนือความคาดหมายของแพทย์ท่านอื่น การรักษาคนป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะให้หายอาจเป็นเรื่องธรรมดาแต่การรักษาที่ดีและสามารถทำให้ผู้ป่วยเขียนได้ทั้ง2มือคือใช้ได้ทั้งข้างที่ไม่พิการและข้างที่พิการที่ฟื้นตัวขึ้นแสดงให้เห็นผลสำเร็จของการรักษาและการที่คนไข้เข้าใจและเลิกพยาบาทไปบวชระยะหนึ่งยุติการฟ้องร้องซึ่งถ้าพิจารณาจากหลักฐานแล้วชนะคดีแน่นอนถ้าเป็นต่างประเทศแพทย์ท่านที่2จะเดือดร้อนเพราะมูลค่าการฟ้องร้องมหาศาล
ผู้ป่วยได้ฝากคำพูดไปยังแพทย์ทุกท่าน ที่เขาฟ้องร้องไม่ใช่เพราะเงิน แต่ต้องการสั่งสอนแพทย์ที่ประพฤติตัวเช่นแพทย์ท่านที่2 ไม่ให้ไปทำไม่ดีกับผู้ป่วยรายอื่น
คำสอนSir William Osler :
It is not for you to do the black cab take hope away from the patient ,Hope that come to us all.
แพทย์ไม่ควรทำตัวเป็นผู้พิพากษา ตัดสินชีวิตผู้อื่น ไม่ควรพรากความหวังที่ผู้ป่วยฝากไว้กับเรา
แพทย์ควรยึดมั่นในความดี ตั้งใจรักษาผู้ป่วยโดยคิดถึงใจเขาใจเราอันเป็นศิลปะการรักษาโรค
แพทย์ท่านที่1ได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีมีหัวใจของความเป็นมนุึษย์ช่วยคนไข้ด้วยความตั้งใจด้วยความรู้ความสามารถที่ดี เห็นอกเห็นใจ และช่วยแพทย์ท่านที่2ทางอ้อมคือแก้ไขโรคแทรกซ้อนจนผู้ป่วยพอใจผลการรักษา(หายเป็นปกติ) ช่วยไกล่เกลี่ยดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นการสร้างศรัทธา ความเชื่อถือต่อวิชาชีพแพทย์
ยังคงมีแพทย์ที่กระทำเช่นแพทย์ท่านที่2(ขาดความรู้ทักษะทางการผ่าตัดและขาดจริยธรรม ไม่มีหิริโอตัปปะ ความเกรงกลัวและละอายต่อการกระทำชั่ว ไม่ยอมรับข้อผิดพลาด ไม่คิดถึงความรู้สึกผู้ป่วย มุ่งจะเอาชนะคดีที่ไม่มีทางชนะ) อีกมากซึ่งเป็นหน้าที่ของอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์ที่ดีทั้งหลายต้องรับรู้และช่วยกันปลูกฝังความดีแก่ศิษย์แพทย์เพื่อให้มีแพทย์ที่ดีเช่นแพทย์ท่าน1(มีความรู้ความสามารถทักษะการผ่าตัดอย่างดี สามารถอธิบายและทำนายผลได้แม่นยำ พูดความจริงไม่โอ้อวดเกินจริง หายจริง วิ่งได้จริง เขียนสองมือได้จริงซึ่งแสดงถึงความรู้ที่ดีจริง มีคุณธรรม มีหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นให้โอกาสสร้างความหวังที่ผู้ป่วยฝากไว้กับแพทย์ รับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รู้จักศึกษาเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอันนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีเลิศ เหนือความคาดหมายของแพทย์ท่านอื่น มีศาสตร์และศิลปะในการรักษา สร้างศรัทธาต่อวิชาชีพแพทย์อันเป็นการแก้ปัญหาการฟ้องร้องที่ต้นเหตุซึ่งใช้วิธีชนะด้วยความดี ซึ่งควรศึกษาวิธีแก้ปัญหาทั้งเรื่องการรักษาโรค(ศาสตร์)และการใช้จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ(ศิลปะ)เพื่อจรรโลงวิชาชีพมากขึ้นซึ่งจะช่วยแก้วิกฤติศรัทธาแพทย์ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและสังคม
แพทย์ที่เรียนเก่งและดีจะมิใช่ผู้เห็นแก่ตัว (ทำเพื่อตนเอง) เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเพื่อผูู้ป่วยพ้นจากความทุกข์ทางกายและใจ รักษาผู้ป่วยด้วยความรู้ความสามารถ,สั่งสอนลุกศิษย์ให้เป็นคนดี เสียสละด้วยอุดมการณ์ที่ดีมีีความสุขเมื่อเห็นผู้ป่วยพ้นจากความทุกข์ทางกายและใจ
การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นการทำบุญที่ไม่หวังผลตอบแทนซึ่งผลลัพธ์มักจะย้อนกลับสู่้ผู้กระทำเสมอ
ศรัทธาที่ผู้ป่วยมีต่อแพทย์ได้มาด้วยความดีที่แท้จริง ชนะใจด้วยความดี
การเรียนแพทย์มิใช่การท่องจำตำรา เป็นการเรียนจากผู้ป่วย ทั้งเรื่องของโรค,ศิลปะในการดูแลรักษาและการติดต่อสื่อสารอย่างมีคุณธรรม รวมไปถึงกรณีศึกษาที่ท่านกำลังอ่านอยู่ ควรทำความเข้าใจให้ดี แก้ปัญหาที่ต้นเหตุก็จะได้รับผลที่ดีที่แท้จริง
เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ควรพิจารณาประพฤติตนเป็นแพทย์ที่ดี การจะสอนผู้อื่นได้ผู้สอนต้อง รู้จริงทำได้จริง ดีจริง เรียนรู้จากความเป็นจริง และใช้กรณีศึกษาจริง ผลลัพธ์ที่ดีเลิศจริงเกิดขึ้นจริง จึงจะสามารถสร้างแพทย์ที่ดีจริงได้
บุคคลที่เป็นครูควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถรวมทั้งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความดีที่แท้จริง
INSURANCETHAI.NET