“ซีซีอาร์” (CCR) บริษัทยักษ์รีอินชัวเรอร์จากฝรั่งเศสทิ้งธุรกิจในไทย (2011)
121

“ซีซีอาร์” (CCR) บริษัทยักษ์รีอินชัวเรอร์จากฝรั่งเศสทิ้งธุรกิจในไทย (2011)

“ซีซีอาร์” (CCR) บริษัทยักษ์รีอินชัวเรอร์จากฝรั่งเศสทิ้งธุรกิจในไทย
บริษัทประกันไทยช็อกทั้งวงการ “ซีซีอาร์” (CCR) บริษัทยักษ์รีอินชัวเรอร์จากฝรั่งเศสทิ้งธุรกิจในไทยร่อนจดหมายหยุดรับงานทั้งในออสเตรเลียนิวซีแลนด์และไทยทันทีชี้จ่ายเคลมน้ำท่วมอ่วมกว่าหมื่นล้านกระทบบริษัทประกันไทยครึ่งตลาดป่วนวิ่งหารีอินชัวเรอร์ใหม่วงในฟันธงปีหน้าเบี้ยพุ่งโหด 400% ซ้ำตีกรอบเงื่อนไขละเอียดยิบไทยพาณิชย์สามัคคีฯชี้อังกฤษ-เยอรมนีส่งสัญญาณถอนตัวตามฝรั่งเศส

ขณะนี้กำลังเกิดปัญหาปั่นป่วนในวงการประกันจากที่บริษัทประกันภัยในประเทศไทยได้รับจดหมายจาก Caisse Centrale de Reassurance (CCR) ซึ่งเป็นรีอินชัวเรอร์ (บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ) รายใหญ่แจ้งขอถอนตัวจากการรับประกันภัยต่อทั้งในออสเตรเลียนิวซีแลนด์และไทยมีผลตั้งแต่ปี 2555 เป็นผลมาจากมหันตภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศเหล่านี้ที่เกิดขึ้นช่วงที่ผ่านมา

จดหมายดังกล่าวถูกส่งจากสำนักงานใหญ่ CCR ในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสลงวันที่ 21 พ.ย. 2554 ชี้แจงว่าบริษัทได้ทบทวนนโยบายการรับประกันภัยต่อในตลาดต่างๆทั่วโลกและเห็นว่าจำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากรด้านความสามารถในการรับประกันภัยไปยังจุดที่เป็นตลาดหลักรวมถึงมหันตภัยจากภัยธรรมชาติในเอเชียที่เกิดบ่อยครั้งมากขึ้นในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจึงตัดสินใจถอนตัวจากการทำธุรกิจในบางประเทศเพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้มีคุณภาพมากขึ้นบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์การทำกำไรในระยะยาว

แหล่งข่าวกล่าวว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือบรรดาบริษัทประกันภัยในไทยโดยเฉพาะกลุ่มที่รับประกันภัยทรัพย์สินและประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด (IAR) มากกว่า 50% ล้วนมีบริษัท CCR เป็นแกนนำในการรับงานประกันภัยต่อการที่ CCR ตัดสินใจถอนตัวออกจากไทยจึงทำให้บริษัทมากกว่าครึ่งตลาดได้รับผลกระทบในการจัดการประกันภัยต่อ

“กรณีนี้ช็อกตลาดมากเพราะไม่ส่งสัญญาณล่วงหน้าตอนนี้บริษัทประกันภัยต้องวิ่งหาประกันภัยต่อปีหน้าเร่งด่วนมีเวลาแค่ 1 เดือนต้องสรุปให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้และต้องหารีอินชัวเรอร์รายใหม่มาเป็นแกนหลักแทน“

นอกจากการรับประกันภัยจะยากขึ้นแล้วรายได้ค่านายหน้า (คอมมิสชั่น) ที่บริษัทจะได้รับจากรีอินชัวเรอร์ก็จะถูกบีบด้วยเช่นประกันอัคคีภัยที่เคยได้ค่าคอมฯค่อนข้างดีก็จะยากขึ้นหรือประกัน IAR ที่เคยได้ค่าคอมฯประมาณ 20% ก็จะถูกบีบให้น้อยลงไปอีกทั้งที่บริษัทประกันก็มีค่าคอมฯที่ต้องจ่ายให้โบรกเกอร์อีกทอดหนึ่งถึง 18% แล้ว

ในที่สุดคงต้องมีรีอินชัวเรอร์รายใหญ่เข้ามาสู่ตลาดนี้แต่จะมีเงื่อนไขและอัตราเบี้ยที่โหดมากขึ้นเช่นจำกัดการรับประกันภัยถูกให้แยกแต่ละภัยในการรับประกันจำกัดวงเงินแต่ละบล็อกพื้นที่จัดแบ่งชั้นความเสี่ยงมากขึ้นรวมถึงแยกประเภทอุตสาหกรรมที่รับประกันเป็นต้น

สถานการณ์ของตลาดประกันภัยในปีหน้านอกจากเบี้ยประกันปรับเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากความเสียหายมหาศาลในปีนี้แล้วการถอนตัวของ CCR ก็ทำให้ความสามารถในการรับประกันภัยหรือซัพพลายหายไปจากตลาดด้วยจะกดดันให้เบี้ยประกันภัยปรับเพิ่มแน่นอน

“การถอนตัวของ CCR อาจทำให้รีอินชัวเรอร์รายอื่นขยับขึ้นเป็นแกนหลักแทนแต่จะกำหนดเงื่อนไขเข้มงวดขึ้น“

ด้านนายธีระบุนนาคผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ไทยศรีประกันภัยกล่าวว่าผลจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะทำให้ค่าเบี้ยประกันภัยในปีหน้าจะถูกปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 20-400% เนื่องจากความสามารถในการรับประกันภัยที่มีอยู่ปัจจุบันหายากมากขึ้นรวมถึงบริษัทแต่ละบริษัทก็ต้องเลือกรีอินชัวเรอร์ที่มั่นคงและเชื่อถือได้ว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วจะได้เงินสินไหม

สิ่งที่ลูกค้าต้องพิจารณาตัดสินใจซื้อประกันในวันนี้นอกจากจะมองเรื่องค่าเบี้ยประกันแล้วต้องดูความมั่นคงของบริษัทด้วย

CCR เข้ามารุกหนักการทำตลาดประกันภัยต่อในไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาโดยเน้นที่ประกันภัยทรัพย์สินเป็นหลักพอมาเจอเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 ทำให้เกิดความเสียหายค่อนข้างมากจากนั้นก็จะมีปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติอยู่เป็นระยะโดยเฉพาะน้ำท่วมใหญ่ปีนี้ซึ่งคาดว่า CCR จะเจอปัญหาสินไหมไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท

นางสาวอรวรรณวรปัญญาผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการหัวหน้าสายงานรับประกันภัยธุรกิจบมจ.ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัยกล่าวว่าที่ผ่านมา CCR เป็นแกนนำรับประกันภัยต่อต้องรับความเสี่ยงไว้เอง 25-30% CCR มีส่วนแบ่งตลาดในประกันภัยต่อของไทยไม่น้อยกว่า 30% ทั้งรับประกันภัยต่อแบบรับงานตามสัดส่วนของทุนประกัน (Proportional Treaty) และเพื่อคุ้มครองส่วนเกินความเสียหาย (Excess of Loss)

“จากนี้บริษัทประกันในไทยและรีอินชัวเรอร์คงต้องเจรจากันมากขึ้นเชื่อว่ารีอินชัวเรอร์ที่ต้องการขึ้นมาเป็นแกนนำในตลาดก็ยังมีแต่ส่งสัญญาณแล้วว่าต้องอยู่บนระดับราคาที่สูงขึ้นและเงื่อนไขต่างไปจากเดิมค่าเบี้ยก็ต้องแพงขึ้นและถูกบังคับให้ตัดสินใจในระยะเวลาอันสั้น“

จากการหารือกับโบรกเกอร์รีอินชัวรันซ์ประเมินว่าน่าจะมี 4 บริษัทรีอินชัวเรอร์ที่สามารถขึ้นมาเป็นแกนหลักในการรับประกันภัยต่อในปีหน้าประกอบด้วย
1) Swiss Re รีอินชัวเรอร์สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์
2) Hannover Re ประกันภัยต่อจากเยอรมนีซึ่งแอ็กทีฟมากขึ้นเรื่อยๆเน้นรับงานกลุ่มความเสี่ยงต่ำเบี้ยถูกโอกาสเสียหายน้อย
3) Allianz Re รีอินชัวเรอร์สัญชาติเยอรมันอีกแห่งที่มีแนวโน้มที่จะขยายงานในไทยมากขึ้นและ
4) SCOR Re ประกันภัยต่อจากฝรั่งเศสอีกแห่ง

บริษัทรีอินชัวรันซ์ส่วนใหญ่ในยุโรปทั้งอังกฤษ, ฝรั่งเศสและเยอรมนีเริ่มแสดงความจำนงขอหยุดหรือปรับเงื่อนไขรับประกันภัยต่อโดยเดินทางมาสำรวจและประเมินความเสียหายจากปกติจะต่อสัญญาเดือนต.ค.-พ.ย. ซึ่งบริษัทยังรอความชัดเจนของเงื่อนไขสัญญาในไตรมาส 1/55 โดยแพ็กเกจใหม่ปีหน้าอัตราเบี้ยจะปรับขึ้น 30% ของเบี้ยเดิม 0.15-0.2% ของราคาหลักประกัน

ขณะที่นายวีรพงษ์รามางกูรประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) เปิดเผยหลังเดินทางกลับจากประเทศอังกฤษว่าได้เดินสายชี้แจงแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมของไทยเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกับบริษัทประกันภัยชั้นนำของโลก 13 แห่งและได้เข้าพบประธานและซีอีโอของลอยด์ออฟลอนดอนบริษัทรับประกันภัยต่อที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งยังมีทัศนคติค่อนข้างดีต่อประเทศไทย

โดยประธานและซีอีโอของลอยด์ประกาศพร้อมให้การสนับสนุนไทยและค่อนข้างพอใจที่ไทยจะจัดทำมาตรการทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำท่วมทั้งระบบอย่างไรก็ตามลอยด์ขอติดตามการทำงานตามแผนที่ได้เสนอไว้และขอให้คณะทำงานกลับไปรายงานผลการปฏิบัติในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า

ส่วนกรณี CCR มีจดหมายขอถอนตัวไม่รับประกันภัยต่อโดยระบุสาเหตุหลักมาจากวิกฤตภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นเท่าที่ทราบในกลุ่ม CCR มีบริษัทประกันภัยที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลฝรั่งเศสรวมอยู่ด้วยวัตถุประสงค์หลักคือการรับประกันภัยต่อภายในประเทศฝรั่งเศสแต่ช่วง 6 เดือนก่อนหน้านี้กลุ่มดังกล่าวเข้ามารับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยในไทยบังเอิญตรงกับช่วงเกิดภัยน้ำท่วมพอดีทำให้มีภาระจ่ายค่าเคลมในระดับสูงจึงถูกพรรคการเมืองฝ่ายค้านตรวจสอบและใช้ประเด็นนี้โจมตีรัฐบาลฝรั่งเศสจึงสั่งระงับไม่ให้ CCR รับประกันภัยต่อทั้งในไทยและอีกหลายประเทศ



INSURANCETHAI.NET
Line+