คปภ. หนุนบริษัทประกันภัยใช้เทคโนโลยีสกัดการฉ้อฉลประกันภัย
1211
คปภ. หนุนบริษัทประกันภัยใช้เทคโนโลยีสกัดการฉ้อฉลประกันภัย
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้นำคณะผู้บริหารของสำนักงาน คปภ. เข้าร่วมการประชุม Asia Conference on Claim Management and Insurance Fraud ระหว่างวันที่ 13 - 14 มิถุนายน 2560 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยการประชุมดังกล่าวมีการเชิญคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทั้งในด้านประกันภัยและด้านเทคโนโลยีจากหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลีย และประเทศเอสโตเนีย มานำเสนอข้อมูลพร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัย ตลอดจนการพัฒนาการตรวจสอบและการป้องกันการฉ้อฉลประกันภัย
จากการประชุมนี้ ทำให้ทราบพัฒนาการของธุรกิจประกันภัยในประเทศต่างๆว่าบริษัทประกันภัยและบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำส่วนใหญ่ต่างนำนวัตกรรมดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ มาอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า และช่วยในการบริหารจัดการเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ ทั้งยังเป็นมาตรการช่วยป้องกันการฉ้อฉลประกันภัย เช่น มีการนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสภาพอาคารที่เกิดวินาศภัย นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการคัดกรองและให้ความเห็นในเบื้องต้นแก่ผู้ที่จะต้องพิจารณาค่าสินไหมทดแทน รวมถึงตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะมีการฉ้อฉลประกันภัยผ่านทางการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว มีการนำข้อมูล big data และระบบอัตโนมัติมาช่วยในการร่นระยะเวลาการพิจารณาการเรียกร้องผลประโยชน์ของสัญญาประกันชีวิตให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน มีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียมาเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทำข้อมูลประวัติของลูกค้าผู้เอาประกันภัย
รวมทั้งมีการเชื่อมต่อกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย ตั้งแต่ ขั้นตอน
การขอเอาประกันภัย
การจ่ายเบี้ยประกันภัย
การแจ้งความเสียหาย
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
การจ่ายค่าสินไหมทดแทน
การติดตามการดำเนินการของบริษัทประกันภัย
มาไว้ในมือถือ smart phone เพียงเครื่องเดียว
นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยี Blockchain มาเป็นหนึ่งในกระบวนการตรวจสอบการฉ้อฉลประกันภัยอีกด้วย
ในการประชุมครั้งนี้ยังมีหัวข้อการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากมุมมองของผู้บริหารทั้งในภาคธุรกิจประกันภัยและธุรกิจด้านเทคโนโลยี ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความโปร่งใส โดยบริษัทประกันภัยควรมีการเผยแพร่ข้อยกเว้นที่จะไม่ให้ความคุ้มครองให้ชัดเจนเพื่อให้ลูกค้ารับทราบ ไม่ว่าจะบนเว็ปไซต์ของบริษัทในรูปของ FAQ หรือผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียอื่นๆ และในการต่อต้านการฉ้อฉลประกันภัย การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการมีฐานข้อมูลกลางเพื่อใช้ในการตรวจสอบเป็นสิ่งที่สำคัญ รวมถึงการใช้ระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการประมวลผลเพื่อลดการใช้ดุลพินิจลง ซึ่งในประเทศมาเลเซียหน่วยงานกำกับดูแลด้านประกันภัยได้กำหนดให้การจ่ายค่าสินไหมทดแทน บริษัทประกันภัยจะต้องชำระผ่านช่องทางออนไลน์ตรงเข้าไปที่บัญชีของผู้เอาประกันภัยโดยตรงเท่านั้น เพื่อลดขั้นตอนในการดำเนินงานและไม่เปิดช่องให้มีคนกลางหรือแก็งค์เคลมเข้ามาแทรกแซง และบริษัทประกันภัยในประเทศมาเลเซียได้เริ่มนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อให้การพิจารณาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทำได้เร็วขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้ก็จะตกแก่ผู้เอาประกันภัย
"จากข้อมูลที่ได้การประชุมครั้งนี้ เห็นได้ว่า บริษัทประกันภัยชั้นนำของโลกต่างนำนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาปรับใช้กับกระบวนการพิจารณาและจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยหลักสำคัญคือ ต้องมีข้อมูลที่แม่นยำและสร้างความสะดวกแก่ประชาชนผู้รับบริการให้มากที่สุด ทั้งนี้ในอนาคตความสะดวกในการรับบริการจะเป็นจุดสำคัญที่แข่งขันกันในตลาดในอนาคต โดยเมื่อพิจารณาจากรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เทคโนโลยี smart phone จะได้รับความนิยมมาก ซึ่งธุรกิจประกันภัยในต่างประเทศได้เล็งเห็นช่องทางในการพัฒนาในส่วนนี้ และคงจะนำเทคโนโลยีที่หลากหลายมาใช้กับการดำเนินการให้บริการของบริษัทของตนที่อยู่ในไทย ดังนั้น บริษัทประกันภัยของไทย โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจำเป็นจะต้องเร่งปรับตัวและปรับแผนในการดำเนินธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้า และเพื่อมิให้เกิดความเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาด ซึ่งการแชร์เทคโนโลยีก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ" เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
Blockchain คือรูปแบบการเก็บข้อมูล (Database) แบบหนึ่งของระบบที่ไม่มีศูนย์กลางแต่เชื่อถือได้และโกงยาก
Blockchain คือการให้ทุกคนถือเอกสารชุดเดียวกัน เมื่อมีการอัปเดตก็จะอัปเดตด้วยกัน โดยมั่นใจได้ว่าเอกสารเหล่านั้นเชื่อถือได้แน่นอนไม่มีการปลอมแปลง
ระบบธนาคาร เป็น ระบบรวมศูนย์กลาง (Centralized)
เปลี่ยนแนวคิดสู่ระบบที่ไม่มีศูนย์กลาง ทุกอย่างกระจายอยู่ในมือทุกคน เป็นระบบแบบกระจาย (Distributed)
แต่
ปัญหา "มีปัญหาความไว้เนื้อเชื่อใจ" ซึ่งปัญหานี้ไม่มีในระบบรวมศูนย์กลาง เพราะในกรณีนั้นคนกลางจะเป็นคนรู้ข้อมูลทุกอย่างและจัดการให้หมด
นี่คือเหตุผลว่าทำไมที่ผ่านมาเราถึงเห็นระบบศูนย์กลางกันทั้งหมด เพราะว่าปัญหามันน้อยกว่า จัดการง่ายกว่า แต่ด้วยเทคโนโลยี Blockchain สิ่งที่เคยเป็นปัญหาก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปเพราะ Blockchain เป็นวิธีแรกในโลกที่แก้ปัญหานี้ในระบบแบบกระจายได้อย่างอยู่หมัด
ปรับรูปแบบสมุดบัญชี ไม่เก็บยอดเงินไว้ในสมุด
ด้วยเหตุผลนี้เราจึงไม่เก็บยอดเงินไว้ในสมุดบัญชีที่แต่ละคนถือไว้กัน ในสมุดบัญชีจะมีแค่เลขบัญชีพร้อมลายเซ็นกำกับ โดยข้อมูลทั้งสองมีคุณสมบัติดังนี้
ลายเซ็น (Owner Key)
เป็นสิ่งที่เราใช้เป็นตัวแทนการแสดงความเป็นเจ้าของของสมุดบัญชี
ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตามกับบัญชี เช่น ต้องการจะโอนเงินออก แค่มีลายเซ็นตัวนี้เราก็สามารถทำได้เลยทันทีโดยไม่ต้องใช้อย่างอื่นอีก ดังนั้นเจ้าลายเซ็นนี้ต้องเป็นข้อมูลปกปิด ต้องเก็บไว้อย่างดี ห้ามให้คนอื่นรู้
เลขบัญชี (Address)
เป็นสิ่งที่เอาไว้ระบุว่าเรากำลังพูดถึงสมุดบัญชีเล่มไหน แต่ไม่ได้แสดงความเป็นเจ้าของ เมื่อลายเซ็นต์เป็นสิ่งห้ามเปิดเผย ด้วยเหตุนี้เราเลยสร้างสิ่งที่เรียกว่า "เลขบัญชี" เลขบัญชีจะถูกสร้างขึ้นมาจากรูปแบบของลายเซ็นต์ โดยใช้กลวิธีที่ถ้าลายเซ็นต์ต่างกันเพียงนิดเดียว เลขบัญชีที่ถูกสร้างออกมาก็จะต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ถึงแม้เลขบัญชีนี้จะสร้างจากลายเซ็นต์ แต่ก็ไม่สามารถสร้างย้อนกลับให้กลายเป็นลายเซ็นต์ได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะโดนโจรกรรม
แล้วจำนวนเงินหละ ถ้าไม่อยู่ในสมุดบัญชีแล้ว เราจะเก็บมันไว้ที่ไหน ?
มันไม่มีจำนวนเงิน มันมีแต่ข้อมูลการเดินบัญชี
การที่เรามีเงินอยู่ในบัญชี 1,000 บาท จริง ๆ มันคือผลรวมของรายการเดินบัญชีตั้งแต่เปิดบัญชีมา
ดังนั้นถ้าเราเก็บรายการเดินบัญชีตั้งแต่บัญชีเราถูกสร้างขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน เราก็รู้แล้วว่าเรามีเงินอยู่เท่าไหร่ ?
ในระบบกระจายนี้เราเลยไม่เก็บยอดเงินกัน แต่จะเก็บเป็นรายการเดินบัญชีทั้งหมดแทน พออยากรู้ว่าคน ๆ นี้มีเงินอยู่เท่าไหร่ ก็แค่เอารายการทั้งหมดมาบวกลบกัน นอกจากจะรู้ยอดที่ถูกต้องแม่นยำแล้ว เรายังสามารถตรวจสอบย้อนกลับที่มาของเงินได้ตลอดไป
ทั้งนี้ นี่เป็นเพียงวิธีการออกแบบหนึ่งเท่านั้น ในระบบที่ต่างออกไปก็สามารถออกแบบ Transaction ที่ต่างจากนี้ได้เช่นกัน
สรุปได้ว่า ในระบบกระจายที่เรากำลังจะทำขึ้นมานี้ เราจะเก็บ Transaction ทั้งหมดแทนยอดเงินธรรมดา ๆ
อ่านเพิ่ม https://nuuneoi.com/blog/blog.php?read_id=900
INSURANCETHAI.NET