ธุรกิจประกันวางแผนเชิงรุกรับมือ AEC (2012)
122

ธุรกิจประกันวางแผนเชิงรุกรับมือ AEC (2012)

ธุรกิจประกันวางแผนเชิงรุกรับมือ AEC

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/96/50096/images/asian-aec.gif">

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean มีประเทศ ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า

AEC โอกาสหรือวิกฤติประกันชีวิตไทย?
การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) จะทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจและการทำงาน แต่มีความเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นด้วย และจะนำไปสู่การปรับตัวอย่างจริงจังรองรับการแข่งขัน

การเปิดเสรีใน 3 ด้าน คือ
ธุรกิจบริการ
การเคลื่อนย้ายเงินทุน
การเคลื่อนย้ายแรงงาน

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/26/47026/images/AEC2.jpg">

โดยเฉพาะแรงงานฝีมือนั้น ในบางประเทศอาจใช้วิธีการตั้งรับ แต่บางประเทศอาจใช้วิธีเชิงรุก ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยต้องพร้อมจะขยายงานไปยังระบบเศรษฐกิจอื่นๆ ด้วย

ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่น่าสนใจในอาเซียนสำหรับการขยายธุรกิจเข้ามาลงทุน
เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ใจกลางภูมิภาค มีความเชื่อมโยงกับทุกด้าน ทั้งการบริการ การคมนาคมผ่านการผลิตและการบริโภค
ดังนั้นประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนจะเข้ามาขยายฐานการผลิตและการทุนอย่าง

สำหรับธุรกิจบริการ รวมถึงธุรกิจประกันชีวิตไทยจะต้องตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่ามัวคิดเพียงแค่การตั้งรับ แต่ต้องคิดหาวิธีในการขยายธุรกิจต่อไปเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จต่อไป

ภายใต้สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป และการที่ไทยทำงานร่วมกับ AEC อย่างใกล้ชิด และสามารถรวมเป็นประชาคมเดียวกันได้
ดังนั้นไทยจึงไม่ควรคิดที่จะเป็นประเทศที่เก่งแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ควรปรับเปลี่ยนแนวคิดที่จะเดินไปด้วยกัน เพราะการทำงานร่วมกันถือเป็นสิ่งสำคัญ และแม้จะเกิดการรวมตัวเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจเดียวกัน แต่อาเซียนไม่ได้มีการใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะอัตราแลกเปลี่ยนถือเป็นปัจจัยเศรษฐกิจที่พิเศษ และมีส่วนช่วยปรับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศได้

"นอกจากฝากเอกชนให้ต้องปรับตัวแล้ว ฝ่ายกำกับดูแลคงต้องปรับตัวเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำงานได้ ทั้งในแง่การตั้งรับ และการขยายตัว"

ขณะที่ การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนนั้น กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะร่วมกันดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เกิดความสมดุลต่อการค้าและการลงทุนให้อยู่ได้ด้วยกลไกราคาที่สมดุล ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนในระดับปัจจุบันยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะมองว่าการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่า

ส่วนการเตรียมความพร้อมของภาครัฐต่อการเข้า AEC นั้น ที่ผ่านมาได้มีการทำงานร่วมกันและสอดคล้องกับภูมิภาค แต่ยอมรับว่าในหลายเรื่องจะต้องมีการเร่งปรับปรุง เช่น ระบบการศึกษาของไทย โดยยอมรับว่าในอนาคตภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของอาเซียน และอาจจะจำเป็นต้องมีภาษาที่สาม ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งปรับตัว

นอกจากนี้ การเตรียมการในระบบคมนาคมขนส่งจะต้องทำให้การขนส่งสินค้ามีความเข้มแข็ง เชื่อมโยง และปรับปรุงให้คล่องตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันภาคเอกชนต้องมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้วยเช่นกัน



INSURANCETHAI.NET
Line+