วิริยะ ถูกปรับประวิง (กรณีศึกษา)
124

วิริยะ ถูกปรับประวิง (กรณีศึกษา)

ยกกรณีศึกษาทบทวนระบบสินไหม

กลาย เป็น “ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์” ไปฉับพลัน เมื่อขาใหญ่ประกันวินาศภัยถูกเปรียบเทียบปรับฐานประวิงสินไหม และปรากฏชื่อบนเว็บไซต์คปภ. หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เพราะเป็นที่รับรู้กันดีว่า วิริยะประกันภัยเป็นหนึ่งในเรื่องของการจ่ายสินไหมมาโดยตลอดแทบไม่เคยปรากฏ เป็นข่าวในเรื่องมาตลอด 60 ปี เกิดอะไรขึ้นกับการถูกเปรียบเทียบปรับครั้งนี้? คำถามผุดขึ้นมาในทันใด และอดไม่ได้ที่ต้องถามไถ่เมื่อเจอะหน้า “กฤตวิทย์ ศรีพสุธา” กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด เพื่อให้ความกระจ่างชัด ซึ่งเจ้าตัวบอกได้คำเดียวว่า มี “ทั้งดีใจและเสียใจ”ในขณะเดียวกันต่อเรื่องที่เกิดขึ้น

เคสที่ทำ ให้วิริยะประกันภัยต้องด่าง พร้อยในเรื่องสินไหมหนนี้ กฤตวิทย์เล่าให้ฟังว่าสืบเนื่องมาจากเกิดรถเฉี่ยวชน โดย รถคันที่ทำประกันกับวิริยะประกันภัยขับตามรถคันแรกมาตามถนนสายหนึ่ง แล้วต่อมารถคันแรกเกิดไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์แล้วหักหลบขวากะทันหัน ก็ทำให้รถคันที่ขับตามมาซึ่งทำประกันไว้กับ วิริยะฯ เบรกไม่อยู่ก็เลยขับไปชนกับรถที่สวนมา ทำให้กลายเป็นประมาทร่วมกับคัน แรก

โดย ทางวิริยะได้จ่ายค่าเสียหายเบื้อง ต้นให้กับผู้บาดเจ็บในรถคันที่ถูกชนไป ซึ่งมี 2 คน คือ ผู้ขับที่บาดเจ็บไม่มากนัก 5,000 บาท ส่วนผู้ที่นั่งมาด้วยเป็นสุภาพ สตรีบาดเจ็บหนักอีก 40,000 บาท ต่อมาตำรวจได้ดำเนินคดีต่อรถ 2 คันที่ไปชนผู้บาดเจ็บในฐานะผู้ประมาทร่วม ซึ่งทางเจ้าทุกข์ ได้ว่าจ้างสำนักงานทนายความแห่งหนึ่งมาติดต่อเรื่องคดีให้ และขณะเดียวกันเจ้าของรถคันแรกที่ประมาทร่วมกับรถคันที่ทำประกันไว้กับ วิริยะฯ ก็ได้ว่าจ้างสำนักงานทนายความแห่งเดียวกันกับเจ้าทุกข์มาเป็นผู้แทนในการรับ ทราบข้อกล่าวหา

โดยทางตำรวจได้ตั้งข้อหาฐานประมาทร่วม ซึ่งวิริยะฯ ได้ให้ลูกค้าคันที่ไปชน ยอมรับผิดฐานประมาท ต้องโทษจำคุก 6 เดือน แต่รอลงอาญา 2 ปี และจ่ายค่าปรับ 3,000 บาท แต่รถคันแรกที่ถือเป็นผู้ประมาทร่วมไม่ยอมรับผิด จึงถูกแยกฟ้อง และต่อมาศาลตัดสินให้มีความผิดเช่นเดียวกัน ซึ่งรายนั้นยอมติดคุก 6 เดือน ไม่ยอมเสียค่าปรับ

ทั้งนี้ ทางวิริยะฯ ได้ทำเช็คสั่งจ่ายค่าสินไหมให้กับผู้เสียหายแล้ว พร้อมกับดอกเบี้ยอัตรา 15% ต่อปีล่วงหน้าอีก 1 เดือนไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระ เพราะต้อง การรอคำตอบจากรถคันแรก ซึ่งเป็นผู้ประมาทร่วม และจะต้องร่วมรับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมให้กับรถคันที่ถูกชนด้วย ว่าจะร่วมรับผิดชอบด้วยหรือไม่ โดยแจ้งถามผ่านยังทนายความที่เป็นตัวแทนของเจ้าของรถคันแรกนั้นไป แต่หลังจากที่รอมาหลายวันก็ได้รับลคำตอบว่าไม่ ทางวิริยะฯ จึงได้ทำการจ่ายเช็คค่าสินไหมไป ซึ่งล่าช้าไปจากกำหนดชำระไป 1 สัปดาห์

จาก นั้นต่อมา ก็เกิดการร้องเรียนลง ชื่อผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายว่า วิริยะ ประกันภัยจ่ายเช็คล่าช้าเข้าข่ายประวิงสินไหม ขอให้ลงโทษบริษัทที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งทางอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินให้มีความผิด และถูกเปรียบเทียบปรับในที่สุด

“ที่ ดีใจเพราะเชื่อว่าต่อไปนี้ประ ชาชนจะมีความเชื่อมั่นในธุรกิจประกันภัยมากขึ้น เพราะถือว่ากฎหมายย่อมเป็น กฎหมาย เมื่อทำผิดก็ต้องยอมรับผิด ถาม ว่าวิริยะผิดไหม? ก็ผิด แล้วเราจ่ายช้าไหม? จ่ายช้าไป 7 วัน”

แต่หากถามต้นสายปลายเหตุ ก็จะรู้ว่าวิริยะฯ ไม่ได้มีเจตนาที่จะจ่ายช้า เพราะ ต้องการรอคำตอบจากผู้ผิดร่วมเท่านั้น เพราะเช็คก็ทำรอไว้แล้ว

“ที่ เสียใจ เพราะไม่คิดว่าจะถูกฟ้อง เนื่องจากวิริยะฯ เราให้ความสำคัญกับการ จ่ายสินไหมมาโดยตลอด เคสที่เกิดขึ้นถือเป็นกรณีศึกษาที่เราจะต้องกลับไปทบทวน ระบบการจ่ายสินไหมของเรา เพื่อไม่ให้เกิด ความผิดพลาดขึ้นอีก ซึ่งบทเรียน 250,000 บาทนี้ถือว่าไม่แพง แต่ทำให้เราได้รู้ว่ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นด้วย”

กฤตวิทย์ บอกว่า เดิมคิดจะไม่ฟ้องผู้ประมาทร่วมทั้งๆ ที่มีสิทธิ แต่ตอนนี้กำลังคิดเปลี่ยนใจ แต่สิ่งที่กังวลมากกว่า ในยามนี้ คือ การสาดโคลนโดยไม่รู้ข้อเท็จ จริง เพราะมีกระแสข่าวว่ามีการนำเรื่องนี้ไปโจมตีว่า วิริยะฯ มีปัญหา ไม่มั่นคง ซึ่งเป็น “คนละเรื่อง” และ “ไม่เป็นความจริง” เกรงว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปใหญ่โต

“แต่เราก็เชื่อว่าลูกค้าวิริยะฯ เชื่อมั่นเราอยู่ ไม่หลงไปกับข่าวลือแน่”

นอก จากนี้เขายังเชื่อมั่นว่า จากกรณีที่เกิดขึ้นกับวิริยะฯ รวมทั้งสถานการณ์ของตลาดประกันภัยในปัจจุบัน จะยิ่งตอกย้ำความเชื่อมั่นในธุรกิจให้กับประชาชนมากขึ้น เพราะความเข้มงวดของกฎหมายที่ ผิดจริงลงโทษจริง

“ประการแรก กรณีคำสั่งปิดกิจการ บริษัทประกันภัยที่เกิดปัญหา อย่างสัมพันธ์ประกันภัย ประการต่อมา คือ มีการตั้งกองทุนประกันวินาศภัยมาดูแลลูกค้าได้ทันท่วงที ก็ถือว่าคปภ.ได้สร้างพื้นฐานความเชื่อมั่นให้เกิดกับประชาชนต่อธุรกิจประกัน ภัย ถือเป็นสัญญาณที่ดี”

ส่วนคำถามในฐานะค่ายประกันเบอร์หนึ่ง ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการของบรรดาค่ายประกันมีปัญหาอย่างไร บ้างนั้น กฤตวิทย์ บอกว่า ปิดไป 3 บริษัท ตั้งแต่รัตนโกสินทร์ประกันภัย พาณิชย์การประกันภัย และล่าสุดสัมพันธ์ประกันภัย ก็ช่วยแบกรับดูแลลูกค้าในเรื่องซ่อมรถซ่อมราให้ เบ็ดเสร็จร่วม 300 ล้านบาทได้ ซึ่งรายล่าสุดนี้มูลค่าหนี้ค่าซ่อมรถร่วม 40 ล้านบาท ทั้งหมดทำใจเตรียมแทง “หนี้สูญ” อย่างเดียวคงไม่คิดไปเรียกร้องเอากับผู้ชำระบัญชีแต่อย่างใด



INSURANCETHAI.NET
Line+