TOYOTA WISH เลขแจ้ง FM60009367 การคุมราคาของแอกซ่า กับลูกค้าตัวเองที่เป็นฝ่ายถูก
1297

TOYOTA WISH เลขแจ้ง FM60009367 การคุมราคาของแอกซ่า กับลูกค้าตัวเองที่เป็นฝ่ายถูก

TOYOTA WISH ถูกรถคู่กรณี ชนเสียหาย

เข้าซ่อมอู่นอกเครือ โดยให้บริษัทประกันภัยตัวเองเป็นผู้ดูแล และต่อมาบริษัทประกันภัยปฏิเสธเคลมหลายรายการ เช่น  ชุดซ่อมเบรคหน้า / ผ้าเบรคหน้า / ลูกปืนล้อหน้าซ้าย / เกียร์ จากอุบัติเหตุรถูกชนเสียหายและ ตก แช่น้ำครึ่งวัน น้ำไหลเข้าแช่รถยนต์ น้ำเข้าเกียร์ (น้ำมันขุ่น) โดยให้เหตุผลในอีเมล์ว่า ยังไม่ชัดเจน ,ไม่น่าจะเสียหายได้ แถมยังแนะนำลูกค้า ให้ขับดูก่อน ถ้าเจอปัญหา ค่อยมาแจ้ง (อ้างอิงจากคำพูดลูกค้า)

ครั้งแรก อู่ส่งรายการค่าใช้จ่าย 169,380 บริษััทประกัน อนุมัติ 69,100
ต่อมามีการคุยกันบริษัทเพิ่มจาก 69,100 เป็น 75,000 และเป็น 85,000






ต่อมาผู้เอาประกันส่งหลักฐานเพิ่มเติม ยืนยันความเสียหาย
อู่แจ้ง 53,540 แอกซ่า อนุมัติจ่าย 20,300
  ^-^




ลูกค้ากล่าวกับทีมงานว่า
อุบัติเหตุครั้งนี้ลูกค้าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด และ คู่กรณีก็ยอมรับผิดยินดีชดใช้ความเสียหายให้ แต่ประกันภัยที่ลูกค้าไว้วางใจให้ดูแลจัดการ กลับทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวแทนของประกันคู่กรณี เป็นคู่ขัดแย้งเสียเอง แทนที่จะรักษาสิทธิ์ให้ลูกค้าตัวเอง ที่เป็นฝ่ายถูก
  O0



--






ถ้าเป็นบริษัทประกันคู่กรณี โดยสถานะของประกันคู่กรณี ย่อมพอเข้าใจได้ ว่าต้องการรักษาผลประโยชน์ของบริษัทตัวเอง
แต่ประเด็น คือ บริษัทประกันที่มาดูแลให้ เป็นบริษัทประกันของตัวลูกค้าเอง ซึ่งลูกค้าก็เป็นฝ่ายถูกอีกต่างหาก

Re: TOYOTA WISH เลขแจ้ง FM60009367 การคุมราคาของแอกซ่า กับลูกค้าตัวเองที่เป็นฝ่ายถูก
1297

Re: TOYOTA WISH เลขแจ้ง FM60009367 การคุมราคาของแอกซ่า กับลูกค้าตัวเองที่เป็นฝ่ายถูก

เรื่องนี้มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายฝ่าย
1.บริษัทประกันภัยคู่กรณีฝ่ายละเมิด (ซึ่งอาจจะไม่รู้เรื่องอะไรด้วยเลย)
2.บริษัทประกันภัยของผู้เอาประกัน (ซึ่งทำหน้าที่แทนบริษัทประกันคู่กรณี จนเป็นเรื่อง)
3.ผู้เอาประกันภัย ที่ถูกละเมิด (ฝ่ายถูก)

4.อู่รถนอกเครือประกัน (ที่ให้ข้อมูล ตวจสอบรถอย่างละเอียดตรงไปตรงมา)
5.ตัวแทน/นายหน้า
6.หน่วยงาน คปภ.

^-^

อัพเดทล่าสุด
1.ผู้เอาประกันร้องเรียนไปที่ คปภ (เดินทางไปด้วยตัวเอง)
2.คปภ แจ้งอีเมล์ไปยัง บริษัทประกัน
3.บริษัทประกัน ส่งเมล์ ให้ผู้เอาประกัน ยืนยันจ่ายเท่าเดิม
4.ผู้เอาประกัน ส่งเมล์กลับให้บริษัทฯ ให้ตอบคำถามชี้แจ้งประเด็นต่างๆก่อน
5.บริษัทประกันให้เจ้าหน้าที่เคลม โทรหาผู้เอาประกัน และยืนยันจะจ่ายเท่าเดิม
6.ผู้เอาประกันไม่ยินยอม สุดท้ายบริษัทยอมถอย พร้อมให้ถอนเรื่อง

O0


ทางทีมงาน มองว่า เคสนี้ที่ทางผู้เอาประกันชนะได้ มีองค์ประกอบหลายอย่าง

หลักๆโดยตัวผู้เอาประกันเอง มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านวิศกรรม ความรู้เรื่องรถ และเป็นเจ้าของบริษัท มีประสบการณ์ต่างๆ สิ่งสำคัญคือ รักความเป็นธรรม ไม่กลัวความยุ่งยาก กล้าชน และ ผู้เอาประกันเอง บอกกับทีมงานเสมอว่า เงินแสนสองแสน เขาไม่ได้ซีเรียส เขาต้องการทำให้เป็นเคสตัวอย่าง แม้จะเสียเวลางาน ก็ไม่เป็นไร เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป (เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม)

นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลจากอู่ซ่อมรถ (อู่นอกเครือ ซึ่งเขาจะบอกความจริงกับลูกค้าอยู่แล้ว ถ้าเป็นอู่ในเครือมักจะไม่ค่อยกล้าบอกลูกค้าเพราะกลัวมีปัญหาบริษัทประกัน จึงยอมรับการกดราคาและสุดท้ายผลเสียก็อาจจะตกอยู่กับผู้เอาประกันเอง ที่อาจะได้ชิ้นส่วนรถ อะไหล่ที่มาตรฐานต่ำ ฯลฯ)

รวมถึงตัวแทน/นายหน้าที่ให้บริการช่วยเหลือประสานงานให้ด้วยส่วนหนึ่ง (ซึ่งสำหรับบางบริษัทประกันเองก็คงไม่ได้ ให้ความสำคัญหรือสนใจอะไรมากนัก)

ทางทีมงานกลับมาคิดเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่เข้าใจว่า เหตุใดบริษัทประกันที่ไม่ใช่คู่กรณี แต่ทำตัวเหมือนเป็นคู่ขัดเเย้งเสียเอง (หรือ อาจจะยิ่งกว่าคู่กรณีก็ได้) คือ ถ้าหากมีความจริงใจกับลูกค้าผู้เอาประกัน ก็น่าจะให้ราคา คุมราคาที่เป็นมิตรมากกว่านี้ ตั้งแต่เเรกๆ ต้องให้เกิดปัญหา เกิดเรื่องร้องเรียนถึงจะยอมทำอะไรเพิ่ม แถมยังไม่ยอมดีๆ ยังมีลูกเล่น วัดใจกับลูกค้าอีก ทำให้คิดไปได้ว่า ... แท้จริงแล้วบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งอาจจะมีการตกลงอะไรกันหรือไม่ ที่เป็นลักษณะการรักษาผลประโยชน์ของกันและกัน ทางทีมงานขอตั้งข้อสงสัยและข้อสังเกตุนี้ไว้ เพราะก็ไม่เข้าใจว่า ทั้งที่ตัวเองไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบการจ่ายสินไหมครั้งนี้ (เป็นบริษัทประกันที่ผู้เอาประกันภัยของตนเองถูกละเมิด โดยถูกชนจากคู่กรณี) เป็นเพียงบริษัทคู่กรณีของฝ่ายที่ละเมิด แต่กลับทำงานเสมือนว่ารักษาผลประโยชน์ของบริษัทประกันคู่กรณี จนถูกร้องเรียน ขึ้นบัญชี เสียชื่อเสียง แบบนี้มันคุ้มกันหรือไม่?

ถ้าเป็นบริษัทหรือพนักงานที่มีความจริงใจกับลูกค้า เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ก็น่าจะแจ้งข้อมูล วิธีในการอนุมัติเคลม ชี้เเจงให้ผู้เอาประกันทราบ ถึงที่มาที่ไป มีราคากลางอย่างไร เอามาให้ดู แบให้เห็น แล้วถ้าไม่ได้ยังไงก็ให้คำแนะนำช่วยเหลือต่อไป หรือ อาจแนะนำให้สละสิทธิ์ไปเคลมกับประกันคู่กรณีโดยตรงก็ทำได้ เมื่อทำเช่นนี้ แล้ว ผู้เอาประกันก็ย่อมเข้าใจ บริษัทก็ได้ใจลูกค้า ตัวเองก็ไม่ต้องมาถูกลูกค้าร้องเรียนด้วย

แน่นอนว่า บริษัทประกันภัยที่มีจริยธรรม มีธรรมาภิบาลก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตัวเอง ให้สังคม ให้ลูกค้ารับรู้กันต่อไป

เข้าไปโหวตบริษัทประกันที่ท่านชื่นชอบที่ลิ้งนี้กันสิ

บริษัทประกันวินาศภัย http://www.insurancethai.net/nonlife-insurance-company-list/
บริษัทประกันชีวิจ http://www.insurancethai.net/life-insurance-company-list/

8)



INSURANCETHAI.NET
Line+