Pizza hot vs pizza company
1298

Pizza hot vs pizza company

ศึกเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด สงครามระหว่าง Pizza Company และ Pizza Hut

เราคงเคยได้ยินว่า “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร” เรื่องราวที่เราจะเล่าต่อไปนี้คือเรื่องราวของ (อดีต) เพื่อนรักที่ต้องมาห่ำหั่นกันในศึกธุรกิจพิซซ่า

เรื่องราวในครั้งนี้เริ่มต้นมาจากทางเครือ The Minor Food Group ต้องการทำธุรกิจพิซซ่าจึงได้ติดต่อไปยังบริษัทเป๊ปซี่โคฯ ซึ่งในขณะนั้น คือผู้ถือลิขสิทธิ์ Pizza Hut ด้วยเงินเพียง 5,000 เหรียนสหรัฐ

หลังจากที่ซื้อมาแล้วก็ต้องคิดหนักเพราะว่าเมื่อ 36 ปีที่แล้ว คนยังไม่รู้จักเลยว่าพิซซ่าคืออะไร ทาง Minor เลยคิดหนักเลยว่าจะวางขายยังไงให้ประสบความสำเร็จโดยเริ่มสาขาแรกที่พัทยา ในปี 2524 โดยให้เหตุผลที่เลือกสาขาที่พัทยาก็เพราะว่ามีชาวต่างชาติอยู่เยอะอย่างน้อยๆก็จะมีลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวยืนพื้น

ปรากฏว่าทำไปทำมาเกิดประสบความสำเร็จมากทาง Minor เลยจัดการขยายสาขาจนกระทั้งมีสาขา 100 กว่าสาขาทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เขาเลยกลายมาเป็นผู้ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับหนึ่งในตลาดพิซซ่า หลังจากการประสบความสำเร็จนี้แล้ว ก็มีคนที่เห็นโอกาสเลยเข้ามาแข่งแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ นั้นแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ Pizza Hut ได้เป็นอย่างดี

แต่เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทเป๊ปซี่โคฯได้ขายกิจการ The Pizza และ KFC ให้กับคนใหม่คือ ไทรคอน เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อบริษัทแม่ที่ให้แฟรนไชน์เปลี่ยนคนไป ความสัมพันธ์ที่เคยมีมากับบริษัทเป๊ปซี่โคฯ กลายเป็นสิ่งที่ไร้ค่าในทันที อนาคตของ Pizza Hut เริ่มมีความไม่แน่นอน

ต่อมาทางไทรคอนมีนโยบายที่จะเข้ามาทำการตลาดเองในไทย ความสัมพันธ์เริ่มที่จะไม่สู้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ (โดยปกติแล้วตามมารยาท เมื่อขายแฟรนไชน์ไป หากยังอยู่ในสัญญาเราไม่ควรที่จะไปขายแข่งกับคนที่ซื้อแฟรนไชน์เราไป แม้ว่าจะไม่มีสัญญาระบุเอาไว้ นึกถึงกรณีของ Oishi และอิชิตัน)

หลังจากนั้นก็จุดแตกหักเกิดขึ้นคือทาง Minor ได้ไปซื้อแฟรนไชน์ ชิคเก้น ทรีทจาก ออสเตรเลียเข้ามาแข่งกับ KFC ซึ่งเป็นเจ้าตลาดไก่ทอดอยู่ในตอนนั้น ทางไทรคอนเลยเกิดอาการหัวร้อนมาทันที แสบทรวงอก ในขณะนั้นสัญญาที่ทำไว้กับ Pizza Hut กำลังจะหมดลงในรอบ 20 ปีพอดี ทางไทรคอนเลยยื่นข้อเสนอในการต่อสัญยามาว่า ค่า Royalty Fee เพิ่ม 50%, ค่าธรรมเนียมในการเปิดร้านใหม่เพิ่ม 50% และขอส่วนแบ่งจากยอดขาย เพิ่มอีก 50% และถ้าหากว่าจะเปิดร้านประเภทไก่ แฮมเบอร์เกอร์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากไทรคอนก่อน

ซึ่งแน่นอนข้อเสนอที่ทางไทรคอนยื่นมาเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เลยนำไปสู่การฟ้องร้องกันไปมาเป็นเรื่องราวใหญ่โต ลงหนังสือพิมพ์ด่ากันก็มี

จนในที่สุดก็เจรจาหย่าศึกกันได้ ให้ทาง Minor ทำต่อไปได้อีก 1 ปี หลังจากนั้นทาง Minor จึงยุติการทำธุรกิจ Pizza Hut ในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 แบรนก์ที่เคยทำมา 20 ปีต้องตกไปอยู่ในมือคนอื่น เป็นคุณจะทำยังไง?

แต่ว่าทาง Minor มาถึงระดับนั้นได้ ไม่ได้เกิดมาจากโชคช่วยแต่เกิดมาจากผู้บริหารระดับเทพ เวลา 1 ปีที่ขอต่ออายุมาทาง Minor ก็เริ่มต้นไปทำโครงการลับๆของเขา เมื่อมาถึงวันที่หมดสัญญา ทาง Minor จึงได้เอาป้าย Pizza Hut เปลี่ยนเป็น Pizza Company ทั้งหมด เปลี่ยนชุดเครื่องแบบร้านหมด คนกินเขาก็คงไม่ได้คิดอะไรมาก คิดว่าคงแค่เปลี่ยนชื่อเฉยๆ

ทางไทรคอนแทบกรี๊ด จากเงินค่า Loyalty Fee และค่าธรรมเนียมต่างๆที่เคยได้มาจาก Minor เหลือ 0 ร้านสาขาอะไรไม่มี เหลือแต่ความว่างเปล่าและชื่อของ Pizza Hut ในขณะที่ทาง Minor มีสาขา 116 สาขาสามารถขายได้ต่อไม่สะดุด แถมยังได้รายได้เต็มไม่ต้องไปแบ่งให้ใครอีก จะไปที่ไหนก็ได้ในโลก ถึงตอนนี้ทาง Minor คงแทบขำกันทั้งบริษัท

ปัจจุบัน Pizza Company มีสาขาในไทยที่ลงทุนเองทั้งสิ้น 231 สาขา, แฟรนไชส์ในประเทศจำนวน 83 สาขา และสาขาในต่างประเทศจำนวน 77 สาขา รวมเป็นสาขาทั้งหมด 391 สาขา

Pizza Hut ในไทย มีสาขาอยู่ทั้งหมด 92 สาขา ต่างกับ Pizza Company เกือบ 3 เท่าในไทย และในปัจจุบัน Pizza Hut ถูกขายให้แก่ บริษัท พีเอช แคปปิตอล จำกัด (PHCapital) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  ^-^

ซื้อpizza hut สัญญา20 พอครบ ก็ปรับราคา
คนซื้อก็เปลี่ยนชื่อbrand เป็น​ pizza company



INSURANCETHAI.NET
Line+