ตัวแทนประกัน ย้ายค่ายบ้าระห่ำสถิติ5เดือนพุ่ง2.172คน (M7 2551)
130

ตัวแทนประกัน ย้ายค่ายบ้าระห่ำสถิติ5เดือนพุ่ง2.172คน (M7 2551)

ตัวแทนประกัน ย้ายค่ายบ้าระห่ำสถิติ5เดือนพุ่ง2.172คน (M7 2551)

คปภ.กางสถิติตัวเลข 5 เดือนประกันชีวิตทั้งระบบ “นักขาย” แห่ลาออกทะลัก 2,171 คน
ชี้ปัญหา “เงินเฟ้อ-ค่าครองชีพ” ผสมโรงปัญหา “การเมือง” ฉุดธุรกิจประกันฯ ทั้งระบบเหนื่อยหนักขึ้น คาดสิ้นปีกระแสตัวแทน “ลาออก-ย้ายค่าย” ระอุจนอาจลบสถิติในรอบ 8  ปีที่ผ่านมา

ลุ้นระทึก! “กรุงเทพประกันชีวิต” ระส่ำ!
หลังใช้พนักงานแบงก์ขายประกันฯ แทน  ตัดท่อน้ำเลี้ยงตัวแทนกระทั่งสมองไหลแห่กันลาออก

            สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจประกันภัย (คปภ.)รายงานสถิติตัวเลขตัวแทนประกันชีวิตของอุตสาหกรรมทั้งระบบได้มีการลาออกใน 5 เดือนแรก(ม.ค.-พ.ค.2551)ว่า  มีตัวแทนลาออกจากบริษัทประกันชีวิตที่ตนเองสังกัดรวมทั้งสิ้ น 2,172 คน  ในการนี้ประกอบด้วย

1.บริษัทอเมริกันอินเตอร์แนชชันแนล แอสชัวรันส์ จำกัด(เอไอเอ)  จำนวน 467  คน  ได้แก่ม.ค.ออก 80 คน  ก.พ.87 ราย มี.ค.99 คน  เม.ย.87 คน และพ.ค.114 คน
2 อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต(เอเอซีพี)  278 คน  ได้แก่ม.ค.ออก 46 คน ก.พ.81 คน มี.ค.79 คน เม.ย.40 คน และพ.ค. 32 คน
3.กรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิต 263 คน ได้แก่ ม.ค. 52 คน  ก.พ.52 คน มี.ค.56 คน เม.ย.47 คน และพ.ค.56 คน
4.ไทยประกันชีวิต 198  คนได้แก่ ม.ค.33 คน ก.พ.54 คน มี.ค.48 คน  เม.ย.41 คนและพ.ค.22 คน
5.ไอเอ็นจีประกันชีวิต  162 คน ได้แก่ ม.ค. 24 คน ก.พ.24 คน มี.ค.37 คน  เม.ย.35 คน และพ.ค.42 คน
6.กรุงเทพประกันชีวิต 118 คน ได้แก่ ม.ค. 11 คน ก.พ.20 คน มี.ค.28 คน เม.ย.34 คน และพ.ค.25  คน
7.ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ฯ  110 คน ได้แก่ ม.ค.21 คน ก.พ.31 คน มี.ค.24 คน เม.ย.20 คน และพ.ค.14 คน
8.พรูเดนเชียลทีเอสไลฟ์ฯ 106 คน  ได้แก่ ม.ค. 13 คน ก.พ. 19 คน มี.ค.27 คน เม.ย.20 คน และพ.ค.27 คน
9.เมืองไทยประกันชีวิต 88 คน ได้แก่ ม.ค.16 คน ก.พ.11 คน มี.ค.20 คน เม.ย.21 คน และพ.ค.20 คน
10.ฟินันซ่าฯ 79 คน ได้แก่ ม.ค.11 คน ก.พ.14 คน มี.ค.16 คน เม.ย.15 คน และพ.ค.24 คน
11.แมนูไลฟ์ฯ 62 คนได้แก่ ม.ค.6 คน ก.พ.9 คน มี.ค.21 คน  เม.ย.12 คน และพ.ค.14 คน
12.เอชไลฟ์ฯ 60 คน ได้แก่ ม.ค.13 คน ก.พ.8 คน มี.ค.9 คน เม.ย.15 คนและพ.ค.15 คน
13.มิลเลียไลฟ์ฯ 34 คน  ได้แก่ ม.ค.4 คน ก.พ.10 คน มี.ค.10 คน เม.ย.5 คนและพ.ค.5 คน
14.แอ๊ดวานซ์ไลฟ์  29 คน ได้แก่ ม.ค.4 คน ก.พ.5 คน  มี.ค.9 คน เม.ย.7 คน และพ.ค.4 คน
15.เจอเนอราลี่ฯ  21 คน ได้แก่ ม.ค.5 คน ก.พ.1 คน มี.ค.14 คน เม.ย.1 คน  ยกเว้นพ.ค.ไม่มี
16. ไทยสมุทรฯ 17 คนได้แก่ ม.ค.6 คน ก.พ.2 คน มี.ค.2 คน เม.ย.4 คน และพ.ค.3 คน
17.สยามซัมซุงฯ 17 คน ได้แก่ม.ค.4 คน ก.พ.6 คน มี.ค.5 คน เม.ย.1 คน และพ.ค.1 คน
18.ธนชาตประกันชีวิต 16 คนได้แก่ ม.ค.2 คน ก.พ.3 คน มี.ค.3 คน เม.ย.4 คน และพ.ค.4 คน
19.สยามประกันชีวิต 11 คน ได้แก่ม.ค. 8 คน ก.พ.3 คน มี.ค.-เม.ย.และพ.ค.ไม่มี
20.แม็กซ์ประกันชีวิต 10 คน ได้แก่ม.ค.2 คน ก.พ.6 และเม.ย.2 คน โดยมี.ค.และพ.ค.ไม่มี
21.สหประกันชีวิต 4 คน ได้แก่ม.ค.2 คน ก.พ.1 คน และพ.ค.1 คนโดยมี.ค.และเม.ย.ไม่มี
22. ไทยคาร์ดิฟฯ2 คน ได้แก่ ก.พ.1คนและมี.ค.1 คน โดยม.ค.-เม.ย.และพ.ค.ไม่มี
บริษัทบางกอกสหประกันชีวิตไม่มีรายชื่อลาออกของตัวแทน

                จากตัวแทนข้างต้นแหล่งข่าวจากสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเงินเฟ้อ ค่าครองชีพุ่ง และปัญหาการเมืองขณะนี้คงจะส่งผลกระทบให้ธุรกิจประกันชีวิตในครึ่งปีหลังอาจจะเติบโตก้าวกระโดดไปด้วยความยากลำบากแน่ โดยคาดว่า กระแสการดึงตัวแทนข้ามค่ายระหว่างกันคงจะเดือดระอุ และทำให้เกิดการลาออกของตัวแทนบริษัทต่างๆทยอยมาจำนวนมาก 
โดยแค่ตัวเลข 5 เดือนมีตัวแทนทั้งระบบลาออกปาเข้าไปแตะ 2,172 คนแล้ว  หากถึงสิ้นปีอาจจะลบสถิติการลาออกของตัวแทนที่ผ่านมาได้ โดยสถิติปี 2543  มีตัวแทนลาออก  3,600 คน ปี2544 ลาออก 4,835 คน ปี2545 ลาออก 5,547 คน ปี 2546 ลาออก4,386  คน ปี 2547 ลาออก 3,841 คน  ปี 2548 ลาออก4,055 คน ปี 2549 ลาออก 5,456 คน  และปี 2550 ลาออก 4,691 คน
              ทั้งนี้สืบเนื่องจากบริษัทประกันชีวิตต่างๆ กำลังต้องการกำลังบุคลากรฝ่ายขายที่มีประสบการณ์สูง เพื่อใช้ศักยภาพขายประกันชีวิตในกลุ่มค้ามีเงินก้อนในตลาดใหญ่ได้เต็มทีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะบริษัทเอเอซีพี เป็นบริษัทหนึ่งที่น่าจับตามากที่สุด  เนื่องจากใช้กลยุทธ์เปิดประตูบ้านต้อนรับตัวแทนจากทุกบริษัทเพื่อขยายงาน
โดยก่อนหน้านี้ “นายวิฟล์ แบล็คเบิร์น” กรรมการผู้จัดการบริษัท เอเอซีพี ก็กล่าวยอมรับโดยตรงว่า บริษัทมีแนวคิดเกี่ยวกับการต้อนรับตัวแทนจากบริษัทคู่แข่งเต็มที่ เปรียบเหมือนเป็นการทุ่มทุนเข้าไปเทคโอเวอร์บริษัทคู่แข่งทางอ้อมอยู่แล้ว
                  ขณะที่บริษัทที่น่าจับตารายต่อมา เป็นบริษัทกรุงเทพประกันชีวิตที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้พนักงานธนาคารกรุงเทพขายประกันชีวิตแทนตัวแทนประกันชีวิตค่อนข้างชัดเจนนับแต่ต้นปีมา  เพื่อเป็นการสกัดกั้นพนักงานธนาคารไปขายประกันชีวิตให้กับค่ายเอไอเอและอื่นๆ เพื่อรับค่าคอมมิชชัน
เหตุนี้จึงทำให้ตัวแทนบริษัทกรุงเทพประกันชีวิตส่วนใหญ่ที่เคยได้รับผลประโยชน์จากการขายกรมธรรม์บริษัทอื่นๆ ต้องถูกตัดช่องทางรายได้ไป จึงทำให้เกิดกระแสตัวแทนทยอยลาออกและย้ายค่ายไปอยู่กับบริษัทอยุธยาอลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต (เอเอซีพี) ที่มีนายทศพล ปานพรหม อดีตผู้บริหารการขายจากบริษัทกรุงเทพฯและเพิ่งย้ายไปผู้บริหารการขายระดับสูงคนหนึ่งในเอเอซีพีเป็นผู้ประสานติดต่อ
                นายสมชาย  จันทร์สว่าง  (AVP ของ กรุงเทพประกันชีวิต)  อดีตผู้บริหารการขายผู้มากประสบการณ์จากหลายๆ บริษัทอย่างเช่นไทยประกันชีวิต และปัจจุบันเป็นผู้บริการการขายของบริษัท กรุงเทพฯ สาขาเอกมัยถูกทาบทามให้ไปร่วมงานกับเอเอซีพี และได้ไปเเล้ว
อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 6 ฉบับที่ 136 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2551

เป็นธรรมดาของธุรกิจ ธุรกิจย่อมมองผลประโยชน์มาอันดับเเรก ไม่ว่าจะในมุของบริษัทหรือ บุคลากรก็ตาม แต่ในบางครั้งก็ลืมมองถึงประโยชน์ต่อระบบโดยส่วนรวม ตัวเเทนย่อมต้องดิ้นรน เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ซึ่งก็ไม่ต่างกับกับพนักงานกินเงินเดือนที่ต้องมีการย้ายบริษัททำงานเพื่อยกมาตรฐานชีวิต ความก้าวหน้า ของตนเองให้สูงขึ้น

และบริษัทประกันชีวิตเอง ก็มีนโยบาย การดำเนินธุรกิจที่มุ่งผลประโยชน์เป็นหลัก จนบางครั้งลืมคิดไปว่าครั้งหนึ่ง ก่อนนั้นตัวเเทนเหล่านี้ มิใช่หรือ ที่ทำให้บริษัทมีวันนี้ได้
การทอดทิ้ง บุคลากรที่เคยร่วมกันสร้างธุรกิจ ย่อมทำให้ความศรัทธาที่เคยมี ความจงรักภักดีต่อตราสินค้า (brand royalty) นั้นเหือดหาย เเละหมดไปในที่สุด

จรรยาบรรณ 10ข้อที่ให้ตัวเเทนประกันชีวิต ท่องบ่นอยู่เสมอๆ ในงานประชุมเเทบจะทุกครั้ง (หรือว่ามันเป็นเพียงแค่การสร้างภาพ ซึ่งคงมีหลายคนที่อิน กับ เรื่องดังกล่าวมิน้อย)
แต่แปลกเหลือเกิน ไฉนถึงไม่มีจรรยาบรรณของบริษัทให้ได้ปฏิบัติกันอย่างทัดเทียม หรือมันเป็นเพียงเกมส์ ของธุรกิจ!


ธุรกิจที่สามารถ balance ผลประโยชน์เเละมนุษย์ธรรม จะนำพาไปสู่ความรุ่งเรื่อง อย่างยั่งยืนต่อไป



INSURANCETHAI.NET
Line+