ตะลึง! ตัวแทนนับหมื่นย้ายรัง ‘เอไอเอ’โดนหนักสุด‘เมืองไทย’แชมป์รีครูต
131
ตะลึง! ตัวแทนนับหมื่นย้ายรัง ‘เอไอเอ’โดนหนักสุด‘เมืองไทย’แชมป์รีครูต
ตะลึง! ตัวแทนนับหมื่นย้ายรัง ‘เอไอเอ’โดนหนักสุด‘เมืองไทย’แชมป์รีครูต
ธุรกิจประกันชีวิตไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกการเงิน ทั้งในแง่ของสินค้า และช่อง ทางการขายที่ปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ปรากฏการณ์หนึ่งที่ไม่เคยหายไปจากธุรกิจประกันชีวิตไทย คือ การย้ายค่ายของตัวแทนประกันชีวิต ช่องทางขายหลักของธุรกิจที่ไม่เคยเปลี่ยน และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนตัวแทนในธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรม การกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า ในปี 2554 ที่ผ่านมา ธุรกิจประกันชีวิตมีตัวแทนย้ายบริษัทมากถึง 9,272 คน ซึ่งหากเทียบกับเมื่อปี 2544 หรือเมื่อ 10 ปีก่อนที่มีจำนวนตัวแทนย้ายค่ายเพียง 4,835 คน หรือหากเทียบกับปี 2550 มีจำนวนตัวแทน ย้ายบริษัทเพียง 4,691 คน ถือว่าเพิ่มขึ้นเท่าตัวทีเดียว
สำหรับบริษัทประกันชีวิตที่มีการย้าย ออกของตัวแทนมากที่สุดในปี 2554 ได้แก่ เอไอเอ หรือ บ. อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จก. มีการย้ายค่ายออกไป 1,815 คน อันดับ 2 เอเอซีพี หรือบมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต ย้ายออก 1,480 คน, อันดับ 3 บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ย้ายออก 1,028 คน, อันดับ 4 บ. ไทยประกันชีวิต จก. ย้ายออก 894 คน และอันดับ 5 บ. กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จก. ย้ายออก 755 คน ตามลำดับ
ส่วนบริษัทที่มีตัวแทนย้ายเข้ามากที่สุด คือ บ. เมืองไทยประกันชีวิต จก. มีตัวแทนจากบริษัทประกันชีวิตอื่นย้ายเข้ามา 1,802 คน มากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนที่ย้ายออก 608 คน รองลงมาอันดับ 2 ได้แก่ เอเอซีพี มีตัวแทนย้ายเข้ามา 1,187 คน ขณะที่จำนวนที่ย้ายออกไป 1,480 คน, อันดับ 3 ไทยพาณิชย์ประกันชีวิตมีตัวแทนย้ายเข้า 1,110 คน ขณะที่จำนวน ย้ายออกไป 1,028 คน, อันดับ 4 ไทยประกันชีวิต ย้ายเข้า 799 คน ขณะที่จำนวนย้ายออก 894 คน และอันดับ 5 เอไอเอ ย้ายเข้า 643 คน ขณะจำนวนย้าย ออกมากถึง 1,815 คน ตามลำดับ
ชี้ย้ายค่ายไม่กระทบลูกค้าเหมือนอดีตช่องซื้อมากขึ้น-คนรู้เรื่องประกัน
อย่างไรก็ดี การย้ายค่ายของตัวแทน นั้น ในอดีตมักสร้างปัญหาตามมาในเรื่องของการชวนลูกค้ายกเลิกกรมธรรม์กับบริษัทเดิมเพื่อไปทำกับบริษัทใหม่ กลายเป็นเรื่องร้องเรียนที่คปภ. (กรมการประกัน ภัย ในสมัยนั้น) ต้องปวดหัว แต่มาถึงปัจจุบันนี้ เรื่องร้องเรียนนี้ลดลงไปมาก และการย้ายค่ายในปัจจุบันไม่ได้สร้างผลกระทบต่อผู้บริโภค แต่น่าจะมีผลต่อการขยายงานของบริษัทประกันชีวิตเพียงประการเดียว
“การย้ายค่ายของตัวแทนถือเป็นเหตุการณ์ปกติของธุรกิจประกันชีวิตที่มีมานาน แต่ปัจจุบันไม่ได้สร้างความเสียหาย ต่อลูกค้าเหมือนเมื่อก่อน เพราะปัจจุบันผู้บริโภค หรือลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้นในเรื่องของช่องทางซื้อประกัน ไม่จำเป็นต้อง ซื้อกับตัวแทนเพียงช่องทางเดียว ยังมีช่อง ทางอื่นๆ ด้วย เช่น แบงก์แอสชัวรันส์ ช่องทางขายผ่านโทรศัพท์ (เทเลมาร์เก็ตติ้ง) เป็นต้น ขณะเดียวกันตัวลูกค้า หรือผู้บริโภค เองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประกันชีวิต มากขึ้น ดังนั้นก่อนซื้อประกันเขาก็จะศึกษา หรือปรึกษาผู้รู้ก่อน ทำให้เรื่องร้องเรียนจากการถูกตัวแทนหลอกให้ยกเลิกกรมธรรม์น้อยลง”
แหล่งข่าวจากสำนักงานคปภ.
การย้ายค่ายของตัวแทนในปัจจุบัน น่าจะเกิดจากการแข่งขันในธุรกิจที่บริษัท ประกันชีวิตต่างก็มีนโยบายขยายงานผ่าน ตัวแทนกันอย่างหนัก ทำให้เกิดความสนใจ มองเห็นการเติบโตในอาชีพจึงทำให้ตัว แทนย้ายค่ายไปอยู่กับบริษัทใหม่
>> “เมืองไทย” ลั่นนโยบายรุกทุกช่องตัวแทนไหลเข้าเยอะหนุนเป้าปีนี้
“สาระ ล่ำซำ” กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
การมีตัวแทนเข้ามาร่วมงานมาก ขึ้น มาจากนโยบายของบริษัทที่รุกทุกช่อง ทางขาย ทั้งตัวแทน แบงก์แอสชัวรันส์ไดเรกต์ และประกันกลุ่ม แต่ที่ให้น้ำหนักมากที่สุด คือ ตัวแทน และแบงก์แอสชัวรันส์ “สำคัญ คือ ตัวแทนเป็นช่องทางขาย หลักของธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งปีนี้เรามีนโยบายขยายตลาดทั่วประเทศ ดังนั้นจึงมี ตัวแทนเข้ามาร่วมงานกับเรามาก ซึ่งบริษัท ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมเพื่อให้ตัว แทนมีความรู้ มีคุณภาพ และมีจรรยาบรรณ และเน้นคุณภาพของงานขาย เราไม่มีนโยบายสนับสนุนการโยกเคสลูกค้าตามมาด้วย”
สำหรับปีนี้บริษัทมีแผนขยายงานทุกภาคทั่วประเทศ โดยคาดว่าทุกช่องทาง ขายจะผลักดันให้เบี้ยใหม่
(New Business Premium) ปีนี้เติบโตได้ 20% ขณะที่ช่อง ทางตัวแทนมีเป้าหมายเบี้ยใหม่เติบโต 55% โดยจะเพิ่มตัวแทนเป็น 30,000 คน จากปัจจุบันที่มีอยู่ 22,000 คน เพื่อสามารถเข้าถึงลูกค้า ทุกกลุ่มตั้งแต่ฐานกลางจนถึง ระดับฐานรากได้ตามเป้าหมาย
ตัวแทนย้ายเกิดจากหลายปัจจัยเรื่องดี มีทางเลือกโตในอาชีพ
ด้าน “สมโพชน์ เกียรติไกรวัล” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต บมจ.โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย)
ผู้คร่ำหวอดในวงการตัวแทน มานานกว่า 30 ปี ให้ความเห็นว่า การย้ายค่ายของตัวแทนเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ไม่พอใจการเปลี่ยน แปลงในบริษัทเดิม เห็นโอกาสเติบโตเร็วเมื่อเทียบกับบริษัทเดิมอาจจะเกิดการแข่ง ขันสูง ขณะเดียวกันบริษัทใหม่อาจจะทำงาน ตามเป้าหมายได้ง่ายกว่า
“การย้ายค่ายเป็นเรื่องดี ทำให้ตัวแทนในตลาดมีทางเลือก เพราะในทางกลับกันหากเกิดการผูกขาดทำงานกับบริษัท เดียว เมื่อเกิดปัญหาทำงานไม่ได้ก็อาจจะทำให้ตัวแทนเหล่านั้นออกจากอาชีพไปเลยก็ได้” และทำให้เกิดปัญหาในระบบมากขึ้น เนื่องจาก การขาดความสามารถในการดูเเลลูกค้า เพราะตัวเเทนไปประกอบอาชีพอื่นเเล้วนั่นเอง
INSURANCETHAI.NET