ตัวแทนสุดทนโวยแบงก์เจ้าเล่ห์ฉกลูกค้า (2011)
132
ตัวแทนสุดทนโวยแบงก์เจ้าเล่ห์ฉกลูกค้า (2011)
ตัวแทนสุดทนโวยแบงก์เจ้าเล่ห์ฉกลูกค้า
ตัวแทนสุดทนแบงก์เจ้าเลห์ฉวยโอกาสแย่งลูกค้า โวยพฤติกรรมยอดแย่ไม่ปล่อยเช็คลูกค้า สั่งจ่ายเบี้ยประกัน อ้างเป็นลูกค้าแบงก์ต้องทำประกันกับแบงก์ฉกลูกค้าต่อหน้าต่อตา ร้องขอความเป็น ธรรมคปภ.ช่วยตรวจสอบ ด้านคปภ. ยอมรับเป็นปัญหาใหม่ ยังไม่เคยเจอ ขอเวลารวบรวมเสนอเลขาฯ รับทราบเพื่อหาทางแก้ไข นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (THAIFA) เปิด เผยว่า ทางสมาคมฯ ได้จัดงานเสวนา “ตัวแทนประกันชีวิต : ระดมสมองสู้ช่องทางขายอื่น” ขึ้น โดยได้เชิญผู้บริหารฝ่ายขาย รวมทั้งนักขายอาวุโส และฝ่ายกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกัน ภัย (คปภ.) มาร่วมเสวนา
ทั้งนี้ หนึ่งในประเด็นที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้เข้าร่วมเสวนามากที่สุด คือเรื่องของพฤติกรรมการขายผ่านช่อง ทางแบงก์แอสชัวรันส์ (Bancassurance) ที่ไม่เป็นธรรมนัก โดยพฤติกรรม ที่พบมากที่สุด คือ การดึงลูกค้าแบบต่อ หน้าต่อตา เมื่อลูกค้าไปเบิกเช็คที่ธนาคารเพื่อนำมาจ่ายเบี้ยประกัน ก็มีการชะลอการเบิก
โดยขอเจรจากับลูกค้าก่อน จากนั้นก็อ้างถึงความเป็นลูกค้าแบงก์ควรต้องทำประกัน กับแบงก์ ซึ่งในที่สุดลูกค้าก็ต้องทำประกัน กับแบงก์ เพราะหากไม่ทำก็จะเบิกเช็คไม่ได้ กลายเป็นปัญหาที่สร้างความระอาให้กับตัวแทนมาก ส่วนประเด็นอื่นๆ ยังคงเป็นเรื่องของพฤติกรรมการลด แลก แจก แถม จากการจัดโปรโมชั่นของธนาคาร จัดส่งเสริมการขายด้วยการแจกทอง บัตรกำนัลหรือ แถมประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) เป็น ต้น ซึ่งอาจเข้าข่ายลักษณะลดค่านายหน้า ทางอ้อม ขณะที่ตัวแทนไม่สามารถทำได้ จึง อยากให้ทางคปภ.ช่วยตรวจสอบพฤติกรรม การขายประกันของธนาคาร ว่าผิด ข้อกฎหมายของธุรกิจประกันภัยหรือไม่
“ปัญหานี้ทางสมาคมฯ จะได้รวบ รวมไปพร้อมกันกับข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้จากงานเสวนา นำเสนอต่อผู้บริหารของ บริษัทประกันชีวิต รวมทั้งผู้เข้าร่วมเสวนา เพื่อพิจารณาดูว่ามีข้อใดที่จะเสริมเพิ่มเติมอีกบ้าง หรือมีข้อเสนอแนะใดอีกบ้าง ก่อนที่จะนำเสนอต่อเลขาธิการคปภ. เพื่อ ให้ปรับปรุง และแก้ไขให้มีความเป็นธรรม”
อย่างไรก็ดี งานเสวนาครั้งนี้ ถือเป็น การกระตุ้นให้ตัวแทนเกิดการตื่นตัว ในเรื่องของช่องทางการขายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นตัวแทนต้องพัฒนาตัวเอง ให้สามารถ ที่จะแข่งขัน และสามารถยืนอยู่ในอาชีพได้ในระยะยาว โดยยกระดับตัวเองเป็นมืออาชีพ หรืออีกทางหนึ่ง คือ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน พร้อมที่จะสร้างความ แตกต่างจากช่องทางอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อประกันกับตัวแทน
ทั้งนี้ หากมองสัดส่วนช่องทางการขายของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสสามปี 2552 พบว่า เบี้ยประกันส่วนใหญ่ยังมาจากตัวแทนมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนถึง 61% รองลงมาเป็นช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ 23%, จากที่ปรึกษาทางการเงิน 11% และที่เหลือจากช่องทางอื่นๆ 5% ซึ่ง ในอนาคตสัดส่วนเบี้ยจากช่องทางตัวแทน อาจจะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก แต่โอกาสจะไปเพิ่มในช่องทางที่ปรึกษาการเงินนับว่ามี สูง ดังนั้น ในประเทศไทยหากว่าตัวแทนสามารถที่จะยกระดับตัวเองเป็นที่ปรึกษาการเงินได้ก็ มีโอกาสที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งได้เช่นเดียวกัน
นายบรรยง กล่าวว่า สำหรับนโยบายของสมาคมตัวแทนฯ ในปี 2553 นี้จะเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวแทน โดยสนับสนุนให้พัฒนาตัวเองเป็นที่ปรึกษาการเงิน และชี้ให้เห็นความสำคัญของการต้องเร่งปรับตัวหาความรู้ในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากความรู้ด้านประกันชีวิต
โดยในปีนี้จะมีการจัด APLIC (Asia Pacific Life Insurance Congress) งานสัมมนาของตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ระหว่างวันที่ 5-7 พฤษภาคม 2553 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะมีวิทยากรที่เป็นนักขายชั้นนำระดับโลกมาร่วมงาน ซึ่งล้วนแต่เคยผ่านประสบการณ์ในยุคที่แบงก์แอสชัวรันส์เริ่มรุกไล่ช่องทาง ตัวแทนมาแล้ว ก็จะเป็นตัวอย่างสำคัญของการที่ผ่านประสบการณ์ในช่วงนั้นในเรื่องของการปรับ ตัวเพื่อให้สามารถยืนหยัดมาได้ จนถึงทุกวันนี้ได้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ตัวแทนไทยเห็นความสำคัญของการพัฒนาตัวเอง และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ทางหนึ่ง
ด้านนายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ฝ่าย กฎหมาย สำนักงานคปภ. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทางคปภ.ได้มีการหารือกับทางธนาคารอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการ ขายประกันผ่านธนาคาร โดยเฉพาะในเรื่องของ พนักงานที่มีใบอนุญาตขาย โดยตามกฎหมายกำหนดให้ต้องมีพนักงานที่มีไลเซ่นส์ขายประกันอย่างน้อย 3 คนใน 1 สาขา ซึ่งเชื่อว่าทุกวันนี้แต่ละธนาคารต่าง ก็มีความระมัดระวังในเรื่องนี้อย่างมาก แต่พฤติกรรมการดึงลูกค้าของแบงก์ดังกล่าว ทางคปภ.ไม่เคยทราบมาก่อน ซึ่งตนจะได้รวบรวมปัญหานี้ไปนำเสนอต่อเลขาธิการคปภ. เพื่อที่จะหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป
ที่มา : สยามธุรกิจ
INSURANCETHAI.NET