ธนาคารแห่งประเทศไทย ชู 6 เทคโนโลยี ร่วมทดสอบ sandbox
1386

ธนาคารแห่งประเทศไทย ชู 6 เทคโนโลยี ร่วมทดสอบ sandbox

ปัจจุบันนำเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ “ฟินเทค” เข้ามาผสมผสานการใช้งาน
เพื่อตอบโจทย์เรื่องความรวดเร็ว ความสะดวกสบาย ต้นทุนการให้บริการที่ถูกลง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิด Regulatory Sandbox หรือ “สนามทดสอบ”
เพื่อให้ผู้ประกอบการที่คิดค้นเทคโนโลยีเหล่านี้ ได้ทดลองนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาทดลองใช้จริงกับลูกค้า แต่เป็นการใช้ในวงจำกัด และมีช่วงเวลาการทดสอบที่ชัดเจน โดยมี ธปท. ติดตามการทดสอบและคอยให้คำแนะนำตลอดระยะเวลาในการทดสอบ

เปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมทดสอบเทคโนโลยี ฟินเทค ใน สนามทดลองที่ว่านี้มาตั้งแต่เดือนธ.ค. 2559 โดยปัจจุบันมีผู้ได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมทดสอบแล้ว 1 ราย คือ บริษัท กสิกร บิสซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป จำกัด หรือ เคบีทีจี ซึ่งเข้ามาทดสอบตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยจะใช้เวลาทดสอบในเฟสแรกประมาณ 30 วัน

สำหรับเทคโนโลยีของ เคบีทีจี ที่เข้าร่วมทดสอบ
เป็นการนำเทคโนโลยี Blockchain มาทดสอบกับระบบการออกหนังสือค้ำประกัน (LG) ของธนาคาร
มีข้อดี คือ ลดเวลาการส่งข้อมูล แอลจี จากผู้ขอ LG ไปยังผู้รับประโยชน์ ช่วยลดขั้นตอนการจัดทำเอกสารและ Document Flows และ ทุกฝ่ายสามารถเห็นข้อมูลชุดเดียวกันเสมอ ทำให้สามารถตรวจสอบซึ่งกันและกันได้

นอกจาก เคบีทีจี แล้ว ปัจจุบันยังมีผู้สนใจยื่นขอเข้าร่วมทดสอบในสนามทดลองนี้อีก 4 ราย  โดย ธปท. จะใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 45 วัน
สำหรับกระบวนการในการเข้าร่วมทดลองนั้น มีด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นตอน โดย ขั้นตอนแรก ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาปรึกษาหารือกับทาง ธปท. ได้ โดย ธปท. ได้ตั้งเป็น “คลินิก” ขึ้นมาเพื่อคอยให้คำปรึกษาในเรื่องนี้

“เราตั้งเป้าว่าใน 1 สัปดาห์ จะเปิดให้คนสนใจเข้ามาขอรับคำปรึกษาได้ 2 วัน คือ วันจันทร์และพุธ ช่วงบ่าย
ดังนั้นคนที่สนใจ สามารถเข้ามาพูดคุยสอบถามรูปแบบของธุรกิจได้ว่า จะสามารถเข้ามาอยู่ใน Sandbox ของเราได้หรือไม่”
สิริธิดา บอกว่า นอกจาก เคบีทีจี ที่ ธปท. ได้อนุมัติไปแล้ว รวมถึงอีก 4 รายที่อยู่ระหว่างยื่นขออนุญาต

ปัจจุบันมีผู้เข้ามาขอรับคำปรึกษากับทาง ธปท. รวมประมาณ 20 ราย โดยเทคโนโลยีที่ขอเข้าร่วมทดสอบมีหลากหลายเช่น...

1.การใช้ QR code
ในการชำระเงินและการโอนเงิน ซึ่งเพิ่มความสะดวก ลดการใช้เงินสด และทำให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ทั่วถึง เช่น การชำระเงินด้วย QR code ผ่านสมาร์ทโฟน

2.การใช้เทคโนโลยี Blockchain และ Distributed Ledgers
เป็นเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่มีการเข้ารหัส และกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ

3.การพิสูจน์ตัวตนด้วย biometrics
เป็นการยืนยันตัวตนโดยใช้ลักษณะทางชีวภาพของแต่ละบุคคล เช่น การใช้ลายนิ้วมือ เสียง ม่านตา ใบหน้า เป็นต้น

4.การใช้ Big Data หรือ Data Analytics
เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการเสนอบริการ การกำกับดูแล บริหารความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เหมาะสม

5.การใช้ Machin Learning หรือ Aritificial Intelligence (AI)
เป็นกลไกที่ทำให้เกิดการประมวลผลที่ฉลาดขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยเรียนรู้จากสิ่งที่ทำหรือผลลัพธ์ที่ได้ก่อนหน้า

6.การใช้ Open APIs(Application Programming Interfaces)
เป็นช่องทางการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปสู่ระบบอื่นๆ เพื่อทำงานร่วมกัน

หากผู้ที่เข้ารับคำปรึกษาเห็นว่าเทคโนโลยีที่จะนำมาทดลองใช้มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาหรือต่อยอดไปสู่การให้บริการจริงได้ ก็นำไปสู่

ขั้นตอนที่สอง” คือ สามารถยื่นรายละเอียดเพื่อขอเข้าร่วมทดสอบมายัง ธปท. ซึ่ง ธปท. จะใช้เวลาไม่เกิน 45 วันในการพิจารณา

“ขั้นตอนที่สาม” คือ ขั้นตอนการทดสอบ โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทดสอบ จะสามารถทดลองให้บริการจริงได้ในวงจำกัด ซึ่งจะมีระยะเวลาการทดสอบที่ชัดเจน โดยที่ผู้เข้าร่วมทดสอบเป็นผู้เสนอมา เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน แต่จะไม่เกิน 1 ปี

“ขั้นตอนสุดท้าย” คือ การออกจากสนามทดสอบ จะมี 2 กรณี

กรณีที่ประสบความสำเร็จ
สามารถมายื่นขออนุญาตอย่างเป็นทางการกับทาง ธปท. ได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ ธปท. คงใช้เวลาพิจารณาอนุมัติไม่นาน เพราะถือว่าได้ผ่านการทดสอบใน Sandbox มาเรียบร้อยแล้ว

กรณีที่ไม่ประสบความสำเร็จ
ต้องหยุดให้บริการ โดยผู้ที่เข้าร่วมทดสอบต้องมีกระบวนการดูแลลูกค้าที่เหมาะสม โดยที่ลูกค้าต้องไม่ได้รับผลกระทบจากการทดลองดังกล่าว

ประโยชน์ของการเข้าร่วม Sandbox
ทำให้ผู้ประกอบการได้ทดสอบเทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมจริง
ช่วยลดต้นทุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
เพิ่มโอกาสที่บริหารหรือเทคโนโลยีประสบความสำเร็จ
ลดเวลาในการอนุญาตหรือให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการทดสอบ



INSURANCETHAI.NET
Line+