ประกันภัยในยุโรป
140
ประกันภัยในยุโรป
ประกันภัยในยุโรป
การเกิดวิกฤติการเงินของประเทศไอร์แลนด์ทำให้มีหนี้สาธารณะเป็นจำนวนมากอันเป็นผลมาจากความอ่อนแอของภาคการเงินในการปล่อยสินเชื่อโดยไม่ระมัดระวังประกอบกับปัญหาผลต่อเนื่องจากปัญหา Sub-prime crisis ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สถานะการเงิน ของประเทศกรีซที่มีปริมาณของหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจากการปล่อยให้มีการขาดดุลงบประมาณและดุลการค้าติดต่อกันหลายปี
ประเทศกรีซ
ได้ขอรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF : International Monetary Fund)
ภายใต้กลไกความช่วยเหลือ European Financial Stabilisation Mechanism (EFSM) และ European Financial Stabilisation Facility (EFSF)
โดยมีเงื่อนไขที่กำหนดให้รัฐบาลประเทศกรีซจะต้องรัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อจะมิให้เกิด สถานการณ์ผิดนัดชำระหนี้ (Default payment)
แต่ดูเหมือนว่าหลายประเทศยังคงเป็นห่วงสถานการณ์ว่าแผน การลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่ได้รับการประท้วงจากประชาชนจะช่วยให้ประเทศกรีซรอดพ้นจากสถานะประเทศผิดนัดชำระหนี้ถึงขั้นล้มละลาย หรือไม่ และผลกระทบจากลุกลามไปถึงประเทศอื่นในสหภาพยุโรปที่กำลังเริ่มมีสัญญาณปัญหา เช่น สเปน โปรตุเกส
ธุรกิจประกันภัยในสหภาพยุโรป
ปรากฏเป็นข่าวหลังจากที่มีการทดสอบสถานะความมั่นคงและเงินกองทุนครั้งที่สองโดย The European Insurance and Occupational Pensions Authority (EIOPA)
ซึ่งเป็นหนึ่งในสามขององค์กรในระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินของสหภาพยุโรป (European System of Financial Supervision)
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระบบการดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำของกฎการ กำกับดูแลใหม่ Solvency II
โดยทำการทดสอบบรรดาบริษัทประกันภัยและบริษัทประกันภัยต่อที่มีสำนักงานใหญ่ในสหภาพยุโรป นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ จำนวน 221 ราย
ซึ่งผลการทดสอบปรากฏว่าบริษัทประกันภัยส่วนมากมีความ เข้มแข็งทางการเงินและกองทุนเงินสำรอง แต่มีบริษัทประกันภัยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สามารถผ่านผลการทดสอบซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ มาจากปัจจัยความเสี่ยงจากมูลค่าของเงินลงทุนในสินทรัพย์ อัตรา ดอกเบี้ยและพันธบัตร ประกอบกับความเสี่ยงจากการรับประกัน ภัยอันเนื่องจากปริมาณการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่เพิ่มขึ้น การเกิดมหันตภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และสถานภาพของบริษัทรับประกันภัยต่อ
ผลการทดสอบบริษัทประกันภัยและประกันภัยต่อของสหภาพยุโรปจะส่งผลให้บรรดาหน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัยของแต่ละประเทศในสหภาพยุโรปจะต้องดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติมในผลการทดสอบ
ธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย
มีการเริ่มใช้ระบบการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk-Based Capital หรือ RBC)
ตามแนวทางที่สมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors หรือ IAIS)
กำหนดให้ นายทะเบียนผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยประเทศสมาชิกรวมทั้งประเทศ ไทยจะต้องบังคับใช้มาตรการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง ซึ่งน่าจะได้มีการนำผลการทดสอบการดำรงเงินกองทุนเพื่อความมั่นคงและ ระดับเงินกองทุนขั้นต่ำของบรรดาบริษัทประกันภัยในประเทศไทยให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาเลือกบริษัทรับประกันภัยที่ตนเองคิดว่ามีความมั่นคงเพียงพอที่จะรับความเสี่ยงและมี ความสามารถในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน อันเป็นการคุ้มครองผู้เอา ประกันภัยและผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในธุรกิจนี้
INSURANCETHAI.NET