สหวัฒนาประกันภัย เหยื่อRBC!
144
สหวัฒนาประกันภัย เหยื่อRBC!
สหวัฒนาประกันภัย เหยื่อRBC!
บริบทของรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังมุ่งมั่นเดินหน้าพิฆาตนักโทษชายทักษิณอย่างตา ตั้งอยู่เหมือนเดิม และถ้าเราเลิกไปสนใจท่วงท่าของเด็กดื้อ มองความเป็นไปองค์รวม ของประเทศพักหลังๆ เราเริ่มมี ข่าวดีๆ มากขึ้น เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทย เกือบกลับเข้ามาอยู่ในภาวะปกติ
โดยเฉพาะแวดวงประกันภัยของเราตัวเลขผลประกอบการที่ออกมาและการคาดคะเนใน 3 เดือนสุดท้ายย่อมที่จะทำให้ผู้ประกอบการนั่งตีขิมกันอย่างสบายใจ โดยเฉพาะวงการประกันวินาศภัยที่เชื่อกันมาตั้งแต่ต้นปีว่าปีนี้เป็นปีวัวหันแน่นอน แต่ในที่สุดกลับเป็นกระทิงวิ่งฉิวเลย
ดังนั้น เรื่องหนักอกหนักใจของผู้ประกอบการจึงอยู่ ที่บรรดากฎเหล็กต่างๆ ของคปภ.ที่เริ่มทยอยออกมาบังคับใช้
โดยเฉพาะกฎเหล็ก “การ กำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง”
(RiskBased Capital) หรือ RBC ซึ่ง คปภ. จะทดลองใช้ทั้งระบบในปีหน้า และประเด็นการนำเอา “ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า” (Early Warning System) หรือ EWS เพียงแค่ 2 กติกานี้ผู้ประกอบการร้องจนน้ำตาเป็นสายเลือด
คปภ.ให้ยาแรงเกินไป
ล่าสุดสังเวยไปแล้วหนึ่งราย “สหวัฒนาประกันภัย” ซึ่งขายกิจการให้กับ กลุ่มธุรกิจอสังหาฯชื่อดังเจ้าของหมู่บ้านอยู่เจริญหรือ “วีระเดช รุ่งโรจน์ธนกุล” ซึ่งต่อไปนี้คงในวงการคงต้องจับตาเขาผู้นี้ไว้ให้มาก แม้ว่าจะละอ่อนในวงการประกันภัย แต่มีพรรคพวกเพื่อนฝูงไม่น้อยที่เป็นมือเก๋าอยู่ในวงการนี้ อย่างน้อยๆ ก็เป็นเจ้าของบ้านเช่าที่คนดังในวงการ “ญัฐดนัย อินทรสุขศรี” จอมยุทธแห่งสยามซิตี้ และ “สมพร สืบถวิลกุล” หัวหน้าพลพรรคสีม่วงบ.กลางฯร่วมกันเช่าอาศัย ยิ่งขยายผลออกไปนอกวงการอื่นๆ ต้องถือว่าเป็นแกนนำระดับกลุ่มยังเติร์กของธุรกิจไทย แค่เอ่ยปากให้พรรคพวกเพื่อนฝูงช่วยมาใช้บริการประกันภัย เป้าหมายเบี้ย 500 บาทที่วางไว้ในปีหน้ามันน้อยไป แถมยังได้กลุ่มเพื่อนเลิฟนำโดย “ธีระศักดิ์ แสนวรางกุล” อดีตแม่ทัพฟีนิกซ์ประกันภัยเข้ามาช่วยเสริมทัพด้วยแล้ว
อย่ามองข้ามน้องใหม่รายนี้เด็ดขาด
อย่างไรก็ดี การผ่องถ่ายเพื่อล้างมือจากวงการของกลุ่มสหวัฒนาประกันภัยใน ครั้งนี้ จริงอยู่ “ศราวุธ ภาสุวณิชยพงศ์” แม่ทัพใหญ่ไม่ได้แถลงออกมาตรงๆ ว่าตนไม่สามารถทำธุรกิจไปตามกรอบของกฎกติกาใหม่ได้ เพียงอ้างว่าเหนื่อยล้าและไม่มีใครมา รับช่วงการทำธุรกิจ
แต่ในจิตใจลึกๆ ผมเชื่อว่าท่านศราวุธคงบวก ลบ คูณ หาร แล้วขืนบริหารกิจการไป จะมีแต่ปัญหา ต้องตัวเกร็งกับระบบใหม่ๆ ที่ตีกรอบเอาไว้ และต้องเพ่งนั่ง “ระวังระดับฐานะการเงิน” อยู่ตลอดเวลา
การบริหารงานแบบสบายๆ นั่งดีดขิมบริการรับประกันภัยแค่เพื่อนพ้องน้องพี่ญาติสนิทมิตรสหายเหมือนเดิมไม่ได้อีกแล้ว
อีกทั้งต้องไม่ลืมว่าคุณศราวุธออกโรงออกมาคัดค้านถึงกฎเหล็กอยู่เสมอๆว่ามันไม่เป็นธรรมต่อบริษัทเล็กๆ ระดับน้ำดีที่ไม่เคยแหกกฎ หรืออย่างน้อ ๆ คนในวงการออกมาคัดค้านกฎเหล็กเมื่อไหร่ มักจะหยิบยกเอาสหวัฒนาประกันภัยมาเป้นต้นแบบอยู่เสมอๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ความเป็นเลิศของประกันภัยมิได้อยู่ที่ระบบที่ต้องกำหนดไปตามมาตรฐานสากล แต่มันขึ้นอยู่กับจริยธรรมของการทำธุรกิจ สหวัฒนาประกันภัยบริษัทเล็กๆ แต่มีธรรมาภิบาลและมีผลประกอบการกำไรมาตลอดและมีประวัติดีไม่มีโกงอย่างนี้ยังให้บริการคนไทยได้อย่างดี
แล้วทำไม! ต้องเอาสูตรกำกับธุรกิจของต่างชาติมาใช้กับผู้ประกอบการคนไทย
และแน่นอนผมเชื่อว่าไม่ใช่สหวัฒนาประกันภัยเพียงรายเดียวเท่านั้นที่โบกมือลา ก่อนนั้นค่ายใหญ่ลิเบอร์ตี้ของ “พ.ต.ท.พงษ์ชัย วราชิต” เคยออกอาการโบกมือลามาแล้ว แต่เมื่อเหลือบดูลูกน้องที่ก่อร่างสร้างตัวกันมาจะไปทำมาหากินที่ไหน จึงจำต้องกัดฟันสู้ต่อด้วยการลดไซส์บริษัทให้เล็กลง
ดังนั้นการประเมินของกูรูรุ่นเดอะอย่าง “ชัย โสภณพนิช” เจ้าสำนักกรุงเทพประกันภัยที่เคยฟันธงว่าบริษัทประกันวินาศภัยไทยแท้ขนาดกลางและเล็กจะล้มหายตายจากไปมากกว่าครึ่ง
วันนี้คำทำนายเริ่มส่งสัญญาณความเป็นจริงออกมาให้เห็น
อย่างว่าล่ะครับ! อะไรจะเกิดมันต้องเกิด และฝั่งสำนักงาน คปภ. จำต้องต้องเดินหน้าสร้างระบบไปตามกติกาที่ผูกพันกันไว้กับสมาคมผู้ควบคุมธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (IAIS) ซึ่งเป็นเสมือนองค์กรกลางในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของโลก
ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้แต่หวังว่าเวทีการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาธุรกิจประกันภัย ปี 2553 ที่คปภ.เป็นเจ้าภาพในวันที่ 19-20 พฤศจิกายนนี้ โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่ประเด็นกฎเหล็ก RBC และระบบเตือนภัยล่วงหน้า
คงไม่อยู่ในภาวะสร้างดาวคนละดวงไปคนล่ะทาง หรือจะกำหนดอะไรอย่างให้มันสุดโต่งเกินไปโดยเฉพาะ 2 กฎดังกล่าว คงไม่ต้องใช้สูตรสิงคโปร์จ๋ากันอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างน้อยๆ เอาให้เหมือนกับที่มาของขนมหวานที่แสนอร่อยอย่าง “ลอดช่องสิงคโปร์” ก็ยังดี
และที่สำคัญก่อนหน้านั้นเราใช้กันเต็มร้อยมาแล้วกับระบบ“ทรัพย์สินหนุนหลัง” หรือCustodian ที่คปภ.บังคับให้นำเอาทรัพย์สินบริษัทประกันภัยไปฝากไว้กับธนาคาร
แต่วันนี้ทำไปทำมามันกำลังเข้าข่าย “ทรัพย์สินหงายหลัง” เพราะบรรดาธนาคารยักษ์ใหญ่บนโลกใบนี้กำลังทยอยปิดกิจการกันถ้วนหน้า ขณะที่สถาบันการเงินอย่างกลุ่มประกันภัยแข็งแรงขึ้นทุกวัน
แล้วไฉนเรายังทะลึ่งเอาทรัพย์สินไปฝากไว้ที่ธนาคาร!
นั่นก็หมายความว่าสิ่งที่เราคิดว่าดีในวันนี้ ในวันหน้าอาจไม่ดีดังที่คิดได้เช่นกัน ดังนั้นคิดตีกรอบคิดควบคุมอะไรยืดหยุ่นเอาไว้ก่อนเป็นดีครับผม!
ที่มา siamturakij.com
Re: สหวัฒนาประกันภัย เหยื่อRBC!
144
Re: สหวัฒนาประกันภัย เหยื่อRBC!
ทายาท “อยู่เจริญ” ช็อกวงการประกัน เทคโอเวอร์ “สหวัฒนา” ตั้งทีมงานสู้ศึก
ทายาทหมู่บ้านอยู่เจริญช็อกวงการธุรกิจประกัน เทคโอเวอร์สหวัฒนาประกันภัยภายใต้ร่มเงาใหม่ “วิคเตอรี่ประกันภัย” ตั้ง 7
กรรมการใหม่ พร้อมสยายปีกเตรียมลุยขายอิสรภาพ บุกเต็มที่นอนมอเตอร์แน่
นายวีระเดช รุ่งโรจน์ธนกุล ทายาทหมู่บ้านอยู่เจริญ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ตนได้เข้าซื้อหุ้นบริษัทสหวัฒนาประกันภัยในสัดส่วน
70% จากผู้ถือหุ้นเดิมและในส่วนของนายศราวุธ ภาสุวณิชยพงศ์ โดยใช้เงินประมาณ 260 ล้านบาท และคงจะทยอยซื้อหุ้นเพิ่มให้เต็ม
100% โดยการตัดสินใจซื้อหุ้นครั้งนี้ได้รับการแนะนำจากนายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล อดีตเจ้าของบริษัทฟินิกซ์ประกันภัย เข้ามาซื้อ ซึ่ง
นายธีระศักดิ์ไม่ได้เข้ามาถือหุ้นครั้งนี้ เพียงแต่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดให้บริษัท เพราะชำนาญตลาดธุรกิจนี้
ทั้งนี้ ภายหลังการเข้ามาซื้อกิจการสหวัฒนาประกันภัย ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทใหม่เป็น “วิคเตอรี่ประกันภัย” และแต่ง
ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ 7 คนขึ้นมา ประกอบด้วย 1.นายวีระเดช รุ่งโรจน์ธนกุล เป็นประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้
จัดการ 2.นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล ที่ปรึกษาบริษัท 3.นายศราวุธ ภาสุวณิชยพงศ์ กรรมการบริษัท 4.นายพรเทพ พัวพรพงษ์
กรรมการบริษัท 5.นายเฉลิมพล ธิมาภรณ์ กรรมการบริษัท 6.นายประเสริฐ ตริตานนท์ กรรมการบริษัท 7.นายณวัฒน์ พิบูลศิริสมบัติ
กรรมการบริษัท พร้อมกันนี้ยังได้ย้ายตึกที่ทำการใหม่จากสหวัฒนาประกันภัยย่านซอยสุขุมวิท 39 มาใช้ตึกของบริษัทฟินิกซ์ประกันภัยย่าน
เขตวังทองหลางแทน เนื่องจากบริษัทฟินิกซ์ฯ ได้ย้ายไปใช้ที่ทำการใหม่ที่ตึกปรีชากรุ๊ปย่านสุทธิสาร
ด้านนายศราวุธ ภาสุวณิชยพงศ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ขายหุ้นครั้งนี้ เนื่องจากตนอายุมาถึง 73 ปีแล้ว ก็เลยคิดวางมือ พอดีจังหวะนายวี
ระเดชและนายธีระศักดิ์เป็นเพื่อนสนิทกับบุตรชาย ซึ่งมีความสนใจอยากจะลงทุนทำธุรกิจประกันภัย ก็เลยตัดสินใจเปิดทางให้
“หลายสิบปีมานี้ มีคนติดต่อขอซื้อสหวัฒนาฯ กันเยอะ แต่กลับมีอันคว้าน้ำเหลว หรือไม่สำเร็จเสียที เพราะติดขัดต่างๆ แต่กลุ่มนี้ไม่รู้มี
ของดีอะไร เจรจาซื้อขายจนสำเร็จ” นายศราวุธ กล่าว
ขณะที่นายธีระศักดิ์ กล่าวว่า บริษัทคงจะเน้นทำตลาดนอนมอเตอร์มากขึ้น โดยเฉพาะประกันอิสรภาพ และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
(พีเอ) ซึ่งเป็นงานที่บริษัทมีประสบการณ์และบุคลากรที่มีความพร้อมและชำนาญในเรื่องตลาดนี้รองรับอยู่แล้ว ส่วนตลาดประกันรถยนต์
ยังคงต้องรักษาพอร์ตงานนี้ไว้ เพียงแต่ว่าเราคงจะไม่ขยายการเติบโตมากนัก โดยจะเน้นรับประกันรถบ้านหรือรถประเภทที่มีความ
เสี่ยงต่ำ ซึ่งคงจะไม่เน้นรับรถทัวร์ รถแท็กซี่ หรือรถเมล์
INSURANCETHAI.NET