การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC)
159

การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC)

การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC)

ปัจจุบันธุรกิจประกันภัยของประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  โดยประชาชนเห็นความสำคัญของการประกันภัย  ทั้งในด้านที่แบ่งเบาภาระ หรือลดความเสี่ยงภัย ช่วยสร้างหลักประกัน ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน และเป็นช่องทางการออมเงินการลงทุนอีกช่องทางหนึ่ง
        กรมการประกันภัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจประกันภัยที่มีผลต่อประชาชน ระบบการเงิน และระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้ริเริ่มโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำ Consultation Paper ด้าน  Risk-Based Capital Adequacy  ตามแนวทางของ IAIS เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีบรรษัทภิบาลขั้นมูลฐาน  โดยเป็นโครงการศึกษาต่อเนื่อง 2 ปี
1.ปี 2547 (ระหว่าง 2547-2548) การ ศึกษา ครอบคลุม การกำหนดคำนิยามเงินกองทุน (Capital  Difinition) การศึกษาและวัดระดับความเสี่ยงด้านการประกันภัย (Insuranec  risk) และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราดอกเบี้ย (Market  risk) 
2.ปี 2548 (ระหว่าง 2548-2549) การศึกษา ครอบคลุม การศึกษาและวัดระดับความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liqudity risk) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk) และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational risk)

หลักการเบื้องต้นของการดำรงเงินกองทุนตามประเภทและขนาดความเสี่ยง
        คือ การกำหนดให้บริษัทประกันภัยมีเงินกองทุนให้เพียงพอที่จะรองรับความ เสี่ยงจากการประกอบธุรกิจของตนได้ ณ ระดับความเชื่อมั่นสูง ซึ่งเป็นการคำนวณจำนวนเงินทุนที่ต้องดำรงในปัจจุบัน ในระดับที่เพียงพอที่จะรองรับความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ส่งผลให้บริษัทมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภค เพราะหากบริษัทใดมีความเสี่ยงมากจะต้องดำรงเงินทุนมาก

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
        การดำรงเงินกองทุนตามประเภทและขนาดความเสี่ยง (Risk-Based Capital) เป็นเครื่องมือหนึ่งของการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยตามประเภทและขนาดความ เสี่ยง (Risk-Based  Supervisory  Framework) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.มุ่งเน้นให้บริษัทประกันภัยมีความมั่นคงทางการเงิน ณ ระดับความเชื่อมั่นที่เทียบเคียงได้กับสถาบันการเงินอื่น
2.บริษัท ประกันภัยมีการบริหารการจัดการความเสี่ยงที่ดี และเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนที่จะรองรับผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นจาก ความเสี่ยงประเภทต่างๆ จากการประกอบธุรกิจของบริษัท ส่งผลให้เกิดการจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพดีขึ้น

สรุปผลการศึกษาตามโครงการ
        คำนิยามของทุนและเงินกองทุน (Capital  Definition)
        ทุนของบริษัทประกันภัย ประกอบด้วย เงินกองทุนชั้นที่1 (ส่วนของผู้ถือหุ้น) และเงินกองทุนชั้นที่ 2 (เงินทุนอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายทุน)
        ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity  part) หรือ เงินกองทุนชั้นที่1 (Tier 1) เช่น ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม  หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ไม่มีเงื่อนไข ใบสำคัญแสดงสิทธิ์การซื้อหุ้นสามัญ เป็นต้น ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของ IAIS เงินกองทุนชั้นที่ 1 จะต้องมีคุณสมบัติครบองค์ประกอบ 4 ประการ  คือ
1) เงินทุนที่เป็นแหล่งเงินทุนถาวร ไม่มีข้อจำกัดในการใช้และไม่มีเงื่อนไขใดๆ ผูกพัน
2) เงินทุนที่สามารถนำมารองรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้
3) เป็นเงินทุนที่ไม่มีการบังคับให้จ่ายผลตอบแทน
4) สิทธิ์ในการรับชำระหนี้ในกรณีการเลิกกิจการอยู่ในลำดับหลังผู้เอาประกันภัยและเจ้าหนี้อื่น
        เงินทุนอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายทุน  หรือ  เงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2) คือ เงินทุนที่ขาดคุณสมบัติบางข้อใน 4 ข้อข้างต้น  เช่น หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ หุ้นกู้บุริมสิทธิ์ชนิดสะสมเงินปันผล หุ้นกู้แปลงสภาพ และ Perpetual Bond  เป็นต้น

ความเสี่ยงที่ทำการศึกษาครอบคลุมความเสี่ยง 5 ประเภท
1. ความเสี่ยงด้านการประกันภัย  (Insurance risk)
ความเสี่ยงด้านการประกันชีวิต
ความ เสี่ยงด้านการประกันชีวิตเกิดขึ้นในกรณีผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจะ ต้องจ่ายจริงมีระดับสูงกว่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทเรียกเก็บ  ซึ่งเป็นผลขาดทุนจากการรับประกันภัยของบริษัท
ความเสี่ยงด้านการประกันวินาศภัย
ความเสี่ยงด้านการประกันวินาศภัย  มีที่มาจาก  2  แหล่ง  ประกอบด้วย
1) ความเสี่ยงจากการบันทึกค่าสินไหมในระดับที่ต่ำกว่าความเป็นจริง (Reserving risk)
2) ความเสี่ยงจากการเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันภัยต่ำกว่าค่าสินไหมทดแทนที่ต้องจ่ายจริง (Written premium risk)
2. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราดอกเบี้ย  (Market  risk)  ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราดอกเบี้ย หมายถึง ความเสี่ยงที่อาจ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์ที่บริษัทประกันภัยถือครองไว้เพื่อ การลงทุน  ซึ่งโดยปกติแล้วราคาสินทรัพย์ลงทุนเหล่านี้ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาด ของสิทรัพย์ประเภทนั้นๆ  ในกรณีที่ราคาสินทรัพย์ปรับตัวลงบริษัทประกันภัยย่อมประสบภาวะขาดทุนจากการ ลงทุนในสินทรัพย์นั้น ๆ
3. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity risk)  เป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่บริษัทประกันภัยทำการบริหารอายุ  รายได้  สินทรัพย์  ไม่สอดคล้องกับการจ่ายภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัย  ความเสี่ยงประเภทนี้มักก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทประกันภัยซึ่งไม่ สามารถวัดได้เป็นตัวเงิน
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational  risk)  เป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินงานผิดพลาด  หรือประสบเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์  และส่งผลให้บริษัทเกิดความเสียหายทั้งในด้านตัวเงินและชื่อเสียง  เช่น  การฉ้อโกง  ความผิดพลาดของระบบคอมพิวเตอร์  ฯลฯ
5. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk)  เป็นความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความสามารถในการชำระคืนดอกเบี้ยและเงินต้น ของคู่สัญญา  รวมทั้งความเสียหายจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่บริษัทถือครองถูกลดอันดับความ น่าเชื่อถือลง  เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท

ความคืบหน้าของโครงการ
        ปัจจุบัน ที่ปรึกษาและคณะทำงานได้สรุปผลการศึกษาในเรื่อง คำนิยามของเงินกองทุนความเสี่ยงด้านการประกันภัย  ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน สำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตอยู่ระหว่างการศึกษา และได้รับการจัดสัมมนาเพื่อการเสนอผลการศึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน และบุคคลภายนอก จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
1) 15 กันยายน 2547 นำเสนอเหตุผล ความจำเป็น และหลักการเบื้องต้นของการดำรงเงินกองทุนตามขนาดและประเภทความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) เพื่อแนะนำให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจร่วมกัน
2) มีนาคม 2549 จัดสัมมนาเพื่อเสนอผลการศึกษา และระดมความคิดเห็นจากภาคเอกชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านการ ประกันภัย เนื่องจากลักษณะความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัยมีความแตกต่างกัน จึงได้จัดการสัมมนา 2 วัน แบ่งเป็น
- วันที่ 13 มีนาคม 2549  การดำรงเงินกองทุนและค่าความเสี่ยงด้านการประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย
- วันที่ 17 มีนาคม 2549  การดำรงเงินกองทุนและค่าความเสี่ยงด้านการประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต
        และหลังจากโครงการเสร็จสิ้น กรมการประกันภัยจะนำความคิดเห็นจากภาคเอกชน มาประมวลเพื่อจัดทำเป็นกฎเกณฑ์ความเพียงพอของเงินทุนตามระดับความเสี่ยงของ บริษัทประกันภัย และจัดทำคู่มือในการปฏิบัติตามต่อไป

การดำเนินการต่อเนื่องปี  2550
- จัดทำร่างกฎเกณฑ์ความเพียงพอของเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง และแนวทาง/คู่มือการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สำหรับภาคเอกชน
- จัดสัมมนาเพื่อนำเสนอ ร่างกฎเกณฑ์ ความเพียงพอของเงินทุนตามระดับความเสี่ยงและแนวทาง/คู่มือการปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์สำหรับภาคเอกชน และรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน

แนวทางเลือกสำหรับบริษัทประกันภัยที่ไม่สามารถเพิ่มทุนได้ตามกฎเกณฑ์ใหม่
          จากการศึกษาข้อมูลในอดีตของบริษัทประกันภัย เพื่อคำนวณหาค่าความเสี่ยงและเงินกองทุนที่ต้องดำรง (Required capital) จะลดลงเมื่อบริษัทมีจำนวนกรมธรรม์มากขึ้น ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของการกระจายความเสี่ยง และกฎของจำนวนมาก (law of large number) ดังนั้น หากบริษัทไม่มีความสามารถในการเพิ่มทุนให้ครบถ้วนตามกฎเกณฑ์ใหม่ภายในปี  2554  ทางเลือกที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการได้ มีดังนี้
1. การรวบรวมกิจการ เพื่อให้บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นและสามารถได้รับประโยชน์จากขนาด
2. การหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ ที่มีศักยภาพในการระดมทุน และมีความเชี่ยวชาญด้านการประกันภัย
3. การแปลงเป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้การระดมทุนเป็นไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น
4. การคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจด้วยความสมัครใจ
5. เปิดโอกาสให้บริษัทประกันชีวิตซื้อกิจการบริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยซื้อกิจการบริษัทประกันวินาศภัย



INSURANCETHAI.NET
Line+