เช็คเด้ง
184
เช็คเด้ง
เช็คเด้ง
เช็คเด้งมีหลายสาเหตุ เช่น
เช็คเด้ง เพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่าย
เช็คเด้ง เพราะบัญชีปิดแล้ว หรือเหตุอื่นๆ
ข้อปฏิบัติภายหลังเช็คเด้ง เป็นสิ่งสำคัญ
โดยผู้ถือเช็คสามารถดำเนินการได้ 3 แนวทาง คือ
แนวทางแรก สามารถดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติเช็ค ฯ พ.ศ.2534 ซึ่งกำหนดโทษจำคุกผู้สั่งจ่ายเช็คเด้ง ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ถือเช็คต้องแจ้งความหรือฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่เช็คเด้ง มิฉะนั้น คดีจะขาดอายุความ
แนวทางที่สอง ผู้ถือเช็คเด้งสามารถฟ้องเป็นคดีแพ่งในข้อหาเกี่ยวกับตั๋วเงิน หรือฟ้องตามมูลหนี้ที่ทำการสั่งจ่ายเช็ค ซึ่งมูลหนี้แต่ละมูลหนี้ก็จะมีอายุความแตกกต่างกันไป
แนวทางที่สาม หากผู้ถือเช็คเห็นว่าเพื่อเป็นการรักษาสัมพันธภาพทางการค้าหรือสัมพันธภาพระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้ถือเช็คไว้ และทราบถึงสถานะทางการเงินของผู้สั่งจ่ายว่ายังมีกำลังในการจ่ายเงินได้ ผู้ถือเช็คก็อาจให้โอกาสผู้สั่งจ่ายเช็คอีกครั้ง โดยวิธีให้ผู้สั่งจ่ายทำการสั่งจ่ายเช็คใบใหม่ให้แล้วคืนเช็คใบเก่าไป ซึ่งวิธีนี้ก้เป็นวิธีที่ดี เพราะคนเราถ้ารู้จักให้โอกาสหรือให้อภัยซึ่งกันและกันแล้ว โลกใบนี้ก็คงน่าอยู่กันอีกต่อไป
ตัวอย่าง
ดิฉันเปิดเป็นรูปแบบบริษัท และได้ขายสินค้าให้บริษัทหนึ่ง ซึ่งเขาจ่ายเป็นเช็คมา ปรากฏว่าเช็คเด้ง ดิฉันนำเช็คไปแจ้งความ ประมาณ 8 เดือน
ได้รับเงินสดมาบางส่วน ส่วนที่เหลือเขาจ่ายเป็นเช็คมาอีก 2 ฉบับ
แต่เช็คที่ได้ อีก 2 เดือนขึ้นเงินได้ นำไปขึ้นเงินปรากฏเช็คเด้งอีก
นำเช็ค 2 ฉบับที่เด้งเข้าแจ้งความกับตำรวจ 3 เดือนผ่านไป ตำรวจนัดให้เข้ามารับเงิน 50% ของยอดเงินทั้งหมด (เขาอ้างไม่มีตังจ่าย)
ดิฉันไม่ยอม ดิฉันจะเอาทั้งหมด ก็เลยบอกกับตำรวจว่าให้ส่งฟ้องศาลไปเลย
ผ่านไป 3 เดือนเรื่องยังเงียบอยู่ ยังไม่มีเอกสารอะไรส่งมา
โทรไปถามตำรวจ เขาบอกว่าเรื่องยังไม่ได้ส่งไป รวม 9 เดือนแล้วยังไม่มีความคืบหน้าที่จะได้เงินคืน บริษัท ที่ไม่ยอมจ่ายเงินเขาก็ทำธุรกิจ
ของเขาไปโดยไม่เดือดเนื้อร้อนใจกับหนี้ที่เขาไม่ยอมจ่าย
วันที่นำเช็คเข้าแจ้งความจนถึงปัจจุบัน ก็ร่วม ๆ จะ 3 ปี แล้ว ยอดเงินที่เหลือ 250,000
(จ้างทนายซะตั้งแต่ที่แรกก็สิ้นเรื่อง ไม่น่างกเลยเรา)
INSURANCETHAI.NET