การนั่งกระดิกขา เขย่าขา
193

การนั่งกระดิกขา เขย่าขา

การนั่งกระดิกขา เขย่าขา

เป็นเรื่องปกติ มันเป็นปฎิกริยาของร่างกาย เมื่อกล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งมากเกินไป โดยที่ความรู้สึกของสมองของเราควบคุมให้อยู่ท่านั้นนานๆ มันจะเริ่มสั่นเอง
โดยที่ตัวเราไม่รู้ตัว มันเป็นอาการรีแลกซ์ บางคนเค้าทำไปโดยไม่รู้ตัว มันเคยชิน แต่ว่าถ้าไปห้ามเค้าบางคนเค้าเกิดอาการเกร็ง เครียด

การนั่งกระดิกขา ก็ถือเป็นหนึ่งในอาการที่แสดงออกถึงการปั่นป่วนใจ หรือ กำลังใช้ความคิด หรือว่ากำลังปิดบังอะไรอยู่เช่นกัน

ในทางทฤษฎี เรียกว่า Associative Process ( เป็นนิสัย โดยไมรู้สึกตัว )
เป็นปฏิกิริยาภายในของร่างกาย ที่ต้องให้ขาผ่อนคลาย สำหรับบางคนจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เช่น ขณะใช้ความคิด หรือ เมื่อนั่งนานๆ ร่างกายจะสั่งให้ขยับเพื่อสร้างสมดุลย์ของอวัยวะส่วนนั้น เเละกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ในบางครั้ง เป็นปฏิกิริยาเพื่อยังผลระยะยาว เนื่องจาก คนเราต้องเดินอย่างน้อย วันละ 8000 ก้าว หรือประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อสามารถรักษามวลกล้ามเนื้อส่วนขาและปริมาณของเอ็นรองข้อต่อส่วนเขาและอื่นๆ ให้หนาเพียงพอ จึงพอสรุปได้ว่า เป็นผลดีกับร่างกาย (มองในมุมวิทยาศาสตร์)

ถ้าตอนที่ทำงานทั้งวันนั่งอยู่ท่าเดียว พอกลับไปดูทีวีเพลินๆก็จะกระดิกขาเอง
การกระดิกขาหรือเท้า แสดงว่า ณ ตอนนั้นกำลังผ่อนคลาย ไม่เครียด อารมณ์ดี ประมาณนั้น

แต่วัฒนธรรมในสังคมไทยถือว่า การกระดิกขาต่อหน้าผู้ใหญ่ เป็นสิ่งที่ไม่สุภาพ (มองในมุมสังคมศาสตร์)

รายการทีวีญี่ปุ่น เอาคนที่ชอบมีอาการแปลกๆเวลานั่ง เช่นนั่งกระดิกเท้า หรือชอบหมุนปากกาเล่น หรือชอบจับผม ลูบผมเล่น
เอามานั่งทำข้อสอบ...
รอบแรก จะกระดิก จะจับอะไรก็ตามใจ....ทำข้อสอบไปด้วย
รอบที่ 2 จับมัดขากับขาโต๊ะ ห้ามไม่ไห้หมุนปากกา ห้ามจับผม
ทุกคนเกิดอาการเครียด... ไม่รีแลกซ์... แล้วผลสอบก็ออกมาไม่ดี เหมือนกับว่า ได้ทำอะไรตามใจแล้วอุ่นใจ สมองแล่น ...
คนฮ่องกงจะไม่กระดิกขาหรือกระดิกเท้า เพราะเชื่อว่าทำให้เงินไหลออก (เป็นความเชื่อที่ไร้เหตุผล)

"ทำไมต้องเขย่าขา เหตุผลแรกอาจเริ่มจากความเบื่อ จึงต้องหาอะไรสักอย่างทำเพื่อกระตุ้นตัวเอง แล้วก็เคยชิน เมื่อความเคยชินของเด็กเกิดไปขัดกับสิ่งที่พ่อแม่คาดหวัง การเขย่าขาจึงถูกมองว่าเป็นปัญหา เรามักจะพบบ่อยในครอบครัวที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม เวลาเห็นเด็กนั่งเขย่าขาก็จะทนไม่ได้ ซึ่งตรงนี้กลายเป็นความขัดแย้ง และเกิดปัญหาทางอารมณ์ตามมา แทนที่จะหยุดเขย่า โดนจี้จุดก็ยิ่งเขย่ามากขึ้นอีก ทางแก้คือ ควรหากิจกรรมอื่นมาเบนความสนใจ อย่าไปจี้จุดเขา หมอก็เป็นคนหนึ่งที่สมัยเด็กๆ ติดนิสัยเขย่าขา แล้วอยู่ๆ มันก็หายไปได้เอง…ตรงนี้ขึ้นอยู่กับคนมองมากกว่า"

เราสามารถพบเด็กที่มีการกระตุ้นตัวเองสูง และค่อนข้างรุนแรงได้ตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ บางคนกระตุ้นตัวเองด้วยการเอาหัวโขกพื้นบ้าง โขกฝาบ้าง เพียงเพราะเขาเบื่อ หรืออยากให้คนสนใจ เด็กอีกกลุ่มที่พบว่ามีการกระตุ้นตัวเองสูงคือ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งมักจะนั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าเห็นเด็กเขย่าขาแล้วจะต้องเป็นสมาธิสั้นหมดทุกคน

ต้องดูอาการอื่นประกอบด้วยค่ะ เช่น ความสนใจสั้น ซุกซนมาก หกล้มหกลุกบ่อย เจ็บตัวได้ง่าย และค่อนข้างก้าวร้าวกว่าเด็กทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องแยกประเด็นออกจากการเลี้ยงดูโดยไม่ได้สอนวินัยให้กับเขาด้วย เพราะเด็กที่ไม่ได้ถูกสอนวินัยนี้ เวลาที่เขาเครียดมักจะแสดงออกในลักษณะซนมาก แต่ถ้าตัดประเด็นนี้ได้ก็ให้สงสัยว่าเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้นได้

บางคนรำคาญ
เเต่จะบอกว่า สิ่งที่ทำให้คุณหงุดหงิดใจมันคือตัวคุณเอง ไม่ใช่จากสิ่งที่คนอื่นนั่งเขย่าขา (มองในมุมของจิตศาสตร์)



INSURANCETHAI.NET
Line+