รักษาอาการโรคกระดูกคอเสื่อม
201
รักษาอาการโรคกระดูกคอเสื่อม
วิธีรักษาอาการโรคกระดูกคอเสื่อม
วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน...
การรักษาโรคกระดูกคอด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสเตอรอยด์อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราวเท่านั้นมิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค ที่สำคัญคือพิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อยและเลือดออกในกระเพาะอาหารพร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงนั้น วิธีการผ่าตัดอาจได้ผลดี แต่อาจไม่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อีกทั้งผู้ป่วยหลายๆ คนก็ยัง
ลังเลในเรื่องค่าใช้จ่าย ความยุ่งยากและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจตามมา ดังนั้น การแพทย์จีนจึงนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมดังนี้:
ทะลวงหลอดเลือดและเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่ สลายเลือดคั่ง ทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณโล่งขึ้น เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกคอจะได้รับการหล่อเลี้ยงได้มากขึ้น เพื่อบรรเทาอาการปวดและหยุดยั้งการลุกลามของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขจัดพิษของลมและเย็นชื้นที่สะสมอยู่ตามบริเวณไหล่และคอ เพื่อขจัดสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกคอ
บำรุงเลือดลม กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เลือดจึงไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
เสริมสร้างพลังลมปราณ ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดภาวะเส้นลมปราณติดขัด
อาการปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก อาการปวดร้าวและอ่อนแรงที่แขนและมือ อาการ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สายตาพร่าและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากโรคกระดูกคอจึงค่อยๆ ทุเลาหรือ อาจหายไปในที่สุด
วิธีการป้องกันและดูแลตนเอง...
เมื่อทำงานอยู่ในท่าเดียวนานๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป
ไม่ควรนอนฟูกนิ่มเกินไป ความสูงของหมอนควรพอเหมาะกับคอเพื่อลดการทำงานของคอ อาจใช้หมอนใบเล็กๆ รองใต้บริเวณคอร่วมด้วย
บริเวณคอควรได้รับความอบอุ่น ไม่ควรตากแอร์ ตากลมตรงๆ
ปรับระยะตัวหนังสือที่ต้องอ่านประจำให้อยู่ระดับสายตา เพื่อป้องกันการเกิดคอเคล็ด
ใช้แว่นตาให้เหมาะสมกับสายตา เพื่อป้องกันการขยับคอบ่อยๆ ขณะทำงานและป้องกันการเกิดคอเคล็ด
ไม่ว่าในท่าเดินหรือท่ายืน ศีรษะก็ควรจะอยู่ตั้งตรงบนลำตัว ไม่ควรก้มศีรษะลง
การโน้มศีรษะลงขณะอ่านหนังสือจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานมากกว่าปกติควรจะยกหนังสือให้ตั้งขึ้นได้ระดับสายตา อาจวางตั้งบนกองหนังสือหรือกล่องก็ได้ ขณะขับรถควรเคลื่อนลำตัวให้ใกล้พวงมาลัย
ไม่ควรสัปหงกขณะนั่งรถ เพื่อป้องกันการเกิดคอเคล็ด
การนวดอย่างนิ่มนวลอาจช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ
การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบอาจช่วยลดอาการปวดคอได้ แต่ถ้าจะให้ได้ผลที่ดีกว่า ควรประคบแบบเปียกด้วยผ้าชุบน้ำร้อน
การออกกำลังกายในท่าต่อไปนี้จะลดความตึงตัวของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณคอซึ่งสามารถทำได้ที่บ้านและที่ทำงานวันละ 2-3 ครั้ง และท่าใดที่ต้องก้มศีรษะลงให้ปล่อยขากรรไกรลงให้มากที่สุดพร้อมกับหลับตา และเพื่อให้ได้ผลดีขึ้นให้ทำ 2 แบบแรกอย่างช้าๆ เท่าที่จะทำได้
หมุนศีรษะตามเข็มนาฬิกา 3 ครั้ง และในทางตรงข้ามอีก 3 ครั้ง ทิ้งน้ำหนักของศีรษะลงเต็มที่ในการหมุนแต่ละครั้ง
ก้มศีรษะไปข้างหน้าโดยให้ไหล่อยู่กับที่ แล้วเอียงคอไปมาทางด้านข้างและหงายไปข้างหลังให้มากที่สุด ทำซ้ำ 10 ครั้ง
คอตรงหันศีรษะช้าๆ ไปด้านขวาและซ้าย 10 ครั้ง และทำซ้ำให้เร็วขึ้น
สารพัดอาการที่เกิดจาก "โรคกระดูกคอ" (MEDICAL Link)
ที่มา geo.q5media.nat, bangkokhealth.com, เอินเวย์ สถาบันวิจัยสมุนไพรและการแพทย์จีน
ภาวะกระดูกคอเสื่อม ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป ส่วนมากเกิดจากอิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ เช่น การหนุนหมอนสูงเกินไป การทำงานในท่าเดียวนาน ๆ นั่งเขียนหนังสือ นั่งดูเอกสาร นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เป็นต้น
รวมถึงคอเคล็ดหรือยอก ที่เกิดจากคอมีการเคลื่อนไหวเร็วเกินไปหรือรุนแรงเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การมีภาวะโรคข้ออักเสบ ข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจทำให้กระดูกคออักเสบไปด้วย เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ยังนับรวมถึงอาการอักเสบของร่างกาย เช่น คออักเสบ หูอักเสบ เป็นต้น อาจทำให้เป็นโรคกระดูกคอหรือกระตุ้นให้อาการหนักขึ้น และความเครียดทางจิตใจ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อคอตึงตัวเป็นประจำจนส่งผลกระทบต่อกระดูกคอได้ กลุ่มอาการที่เป็นกันมาก ได้แก่
"Computer Syndrome" มหันตภัยจากโต๊ะทำงาน
การที่กระดูกคองอกกดทับรากประสาท หินปูนที่เกาะตามกระดูกคอ หรือกระดูกคอที่เสื่อมจะทรุดลงมากดทับไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะ แขนชา ปวดเมื่อย อ่อนแรงโดยเฉพาะหัวเข่า จะรู้สึกอ่อนแรงเวลายืนจะโคลงเคลง ก้าวขาไม่ค่อยออก ผิวหนังปวดแสบปวดร้อนอาจควบคุมปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ และสุดท้ายอาจเป็นอัมพาต
กระดูกสันหลังย่น หรือยุบตัวลงไป (VCF)
กระดูกคอมีรูให้เส้นประสาทและหลอดเลือดแดงสอดผ่าน เมื่อกระดูกคอและหมอนรองกระดูกเสื่อมลงจะทำให้รูนี้แคบลง หลอดเลือดแดงก็จะเป็นตะคริวหรือถูกกดทับ เลือดจึงไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการปวดหรือเวียนศีรษะ ปวดตุบ ๆ ที่ท้ายทอย สายตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อนคลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ วูบล้มลงอย่างกะทันหัน แต่ไม่หมดสติ สามารถลุกขึ้นได้เองอย่างรวดเร็ว เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แขนขาอ่อนแรง หยิบของแล้วร่วง เวลาเงยหน้าหรือทันคออย่างกะทันหันจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ฯลฯ
โรคปวดเรื้อรังและปวดศีรษะ
หากกระดูกคอหรือหมอนรองกระดูกคอเสื่อม และกดทับเส้นประสาทซิมพาเธติก ก็จะเกิดอาการปวดศีรษะ ไมเกรน รู้สึกศีรษะหนัก ๆ ปวดท้ายทอย สายตาพร่า ปวดแน่นเบ้าตา ตาแห้งเห็นแสงว้อบแว้บ ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอกความดันโลหิตสูงขึ้น ฯลฯ
ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)
กล้ามเนื้อบริเวณคอมีโครงสร้างซับซ้อน และทอสานเกี่ยวพันกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเราอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณคอก็จะตึงตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดีจนเกิดอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยต้นคอและไหล่ แล้วจะลามไปที่สะบักและแขนด้วย เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตึงเกร็งนานๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อกระดูกคอ ทำให้กระดูกคอเคลื่อนและเกยทับกันได้เช่นกัน ส่วนการหนุนหมอนที่สูงเกินไปหรือผิดท่าจนทำให้เกิดอาการคอตกหมอนนั้น ก็เกิดจากการตึงตัวของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อคอเช่นกัน แต่ผู้ที่อาการคอตกหมอนเป็นประจำแสดงว่ากระดูกคอเริ่มเสื่อมแล้ว
ข้อกระดูกเสื่อม
การแพทย์จีนได้จัดโรคกระดูกคอให้อยู่ในกลุ่มโรคชา และปวดเมื่อย (ปี้เจิ้น) จากเส้นลมปราณติดขัด ซึ่งมีสาเหตุจากพลังลมปราณพร่องลงตามวัย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเกิดภาวะเลือดคั่งกีดขวาง การไหลเวียนของโลหิตจนเกิดอาการปวด ตามหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด ส่วนพิษของลมและเย็นขึ้น (เฟืองหานซีอเสีย) ที่สะสมในเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่จะจับตัวเป็นก้อน ทำให้เส้นลมปราณและหลอดเลือดติดขัดมากยิ่งขึ้น เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกคอ จะได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจึงเสื่อมลงได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติหลายๆ อย่าง
โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)
การรักษาโรคกระดูกคอด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสเตอรอยด์อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราวเท่านั้น และมิได้หยุดยั้งการลุกลามโรคที่สำคัญคือ พิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อยและเลือดออกในกระเพาะอาหาร พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงนั้น วิธีการผ่าตัดอาจได้ผลดีแต่อาจไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอีกทั้งผู้ป่วยหลายๆ คนก็ยังลังเลในเรื่องค่าใช้จ่าย ความยุ่งยากและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจตามมา
ดังนั้น การแพทย์จีนจึงนิยมบำบัดโรคกระดูกคอด้วยวิธีแบบองค์รวม ดังนี้ อาการปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก อาการปวดร้าวและอ่อนแรงที่แขนและมือ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สายตาพร่าและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากโรคกระดูกคอ จึงค่อย ๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด
INSURANCETHAI.NET