มีเงิน 1 ล้านบาทจัดสรรอย่างไร ?
299
มีเงิน 1 ล้านบาทจัดสรรอย่างไร ?
มีเงิน 1 ล้านบาทจัดสรรอย่างไร ?
บนสมมติฐานที่ว่า หากขณะนี้มีเงินออม 1 ล้านบาทนอนอยู่ในกระเป๋า ควรจะบริหารอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด และที่สำคัญต้อง "ปลอดภัย" จากการสูญเสียเงินต้น
"อุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์" กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ แอสเซท พลัส บอกว่า เทคนิคการลงทุนของบุคคล ขึ้นอยู่กับประวัติส่วนตัว ของแต่ละคนเป็นสำคัญ เพราะแต่ละคน มีความแตกต่างกันทั้ง อาชีพ รายได้ ฐานะของครอบครัว จึงทำให้แนวทางการลงทุนแตกต่างกันไป
เช่น คนที่เพิ่งจบการศึกษา ก็น่าจะยอมรับความเสี่ยง ได้มากกว่าคนที่มีครอบครัว ฉะนั้นควรกำหนดเป้าหมาย การลงทุนของท่านให้ชัดเจน ตามความเหมาะสมของอายุ อาชีพ รายได้ จะเป็นตัวกำหนด ประวัติส่วนตัวของแต่ละคน
"ช่วงอายุหนึ่งๆ ควรจะต้องจัดการลงทุน ให้สอดคล้อง กับชีวิตของแต่ละท่าน " และถ้ามีเงิน 1 ล้านบาท ควรจะจัดสรรเงินลงทุนอย่างไร "อุดมศักดิ์" บอกว่า จะแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วนคือ ซื้อประกันชีวิต ฝากไว้กับแบงก์ และนำไปลงทุน
สำหรับในส่วนของเงินลงทุน จะแยกออกเป็นการลงทุน ในหุ้นด้วยตัวเอง และลงทุนกับกองทุน ตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม หลักการบริหารเงินที่ดี จะต้องสามารถกระจาย ความเสี่ยงการลงทุน ได้ดีด้วย เพราะผลตอบแทน และความเสี่ยงจะไปด้วยกันเสมอๆ
ทางด้านนักการเงินอย่าง "บดินทร์ อุนากูล" รองผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกรุงเทพ เขาคนนี้บอกว่า จะจัดสรรโดยใช้หลัก แบ่งแยกอย่างเด็ดขาด ระหว่าง "เงินออม และเงินลงทุน" เขาบอกว่า เทคนิคนี้เหมาะสม สำหรับนักลงทุน ซึ่งทำใจยอมรับกับความเสี่ยงไม่ได้
นายแบงก์คนนี้ จึงเลือกจัดสรรเงิน 60% เพื่อการออม ขณะที่เม็ดเงินเพื่อการลงทุน ถือเป็นเม็ดเงินส่วนเกิน เมื่อเงินออม บรรลุเป้าหมายแล้วเท่านั้น จึงให้น้ำหนัก การจัดสรรเพียง 40 %
สัดส่วนเงินลงทุน 40% แยกย่อยเป็นเม็ดเงิน 20% ลงทุนผ่านกองทุนรวม ด้วยเหตุผลที่ว่ าการบริหารโดย "มืออาชีพ" ย่อมทำให้ความเสี่ยง ลดลงได้ระดับหนึ่ง ส่วนที่เหลือ 20% คือการลงทุน เพื่อรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง
"ผมมีเป้าหมายชัดเจน และเป็นคนไม่ชอบความเสี่ยง
ผมนับเงินลงทุน เป็นเงินเสี่ยง เพื่อใช้ในการสร้าง ผลตอบแทนให้สูงขึ้น ดังนั้น เงินออมส่วนที่ฝากไว้กับแบงก์ จะคำนึงถึงความมั่นคง ปลอดภัยมากกว่าอัตราดอกเบี้ย ส่วนเงินลงทุน ผมตั้งเป้าหมาย ต้องหารายได้เพิ่ม"
"บดินทร์" บอกว่าคนส่วนใหญ่ มักจะไม่มีความชัดเจน เรื่องการออมกับการลงทุน คนที่เดินเข้าไปฝากเงินกับแบงก์ จะมองแค่ว่าแบงก์ไหน ให้อัตราดอกเบี้ยสูง ทั้งๆ ที่เงินออมต้องเป็นเงินที่มั่นคง ปลอดภัย ส่วนเงินที่จะใช้แสวงหา ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย ควรจะเป็นเงินที่จัดสรรไว้ เพื่อการลงทุนเท่านั้น
"วิเชฐ ตันติวานิช" กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.กรุงไทย ในฐานะผู้บริหารเงินลงทุน และที่ปรึกษาการลงทุนโดยตรง ตอบคำถามที่ว่ามีเงิน 1 ล้านบาท จะเอาไปทำอะไรดี โดยบอกว่า
"ก่อนอื่นต้องเลือกให้ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างไม่ต้องการบริหารเงิน หรืออยากบริหารเงินของตัวเอง"
สำหรับคนที่ไม่ต้องการบริหารเงิน มีทางเลือกอยู่ไม่มากนัก เช่นฝากเงินกับธนาคาร และซื้อประกันชีวิต ซึ่งทั้ง 2 กรณี ผู้ฝาก ไม่จำเป็นต้องรับความเสี่ยง เพราะผู้รับฝาก จะบริหารเงินมีกำไร หรือขาดทุนอย่างไร ก็จะต้องให้ผลตอบแทนกับเรา ตามที่ประกันไว้แต่แรกเท่านั้น
"เงิน 1 ล้านบาท ไม่ใช่ว่าจะคิดเอาไปทำอะไรดีเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาให้ชัดด้วยว่า ตัวเองมีความต้องการแบบไหน ระหว่างการฝากเงิน หรือต้องบริหารเงิน"
ขณะที่คนต้องการบริหารเงินนั้น มีอยู่ 2 ทางเลือกด้วยกัน คือระหว่างการตัดสินใจ ลงทุนด้วยตนเอง กับนำเงิน ไปให้มืออาชีพ บริหารเงินอย่างกองทุนรวม ซึ่งทั้งสองทางเลือกนี้ จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีโอกาสขาดทุนได้เช่นกัน
ถ้าต้องการบริหารเงินให้ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น จะทำอย่างไร?
หากเป็นการลงทุน ในหน่วยลงทุน ของกองทุนรวม ในชั่วโมงนี้ สินทรัพย์ที่กองทุนเลือกลงทุน มีเพียงตลาดหุ้น หรือลงทุนในหุ้น และตราสารการเงิน ประเภทพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนเท่านั้น
ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้ลงทุน ต้องตระหนักถึงก็คือ ต้องการอยากเสี่ยงหรือไม่ ถ้าอยากก็เลือกลงทุนในหุ้น แต่ในภาวะปัจจุบันที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ก็ควรเลือกลงทุน ในตราสารหนี้ จะเสี่ยงน้อยกว่า
"กรณีที่ต้องการพักเงินช่วงนี้ กองทุนตราสารหนี้น่าสนใจมาก เพราะบริษัท จัดการกระจายความเสี่ยงไว้แล้ว จึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก แต่ต้องยอมรับว่า มีโอกาสที่จะขาดทุนได้ ถ้าฝีมือการบริหารไม่ดี"
ผลตอบแทนของ กองทุนตราสารหนี้ที่ผ่านมาสูงถึง 10% และต่ำสุดไม่เกิน 5-6% โดยในรอบปีที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้ส่วนใหญ่ มีกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้ตลอด เนื่องจากภาวะ อัตราดอกเบี้ยได้ปรับลดลง และราคาพันธบัตร และหุ้นกู้สูงขึ้น จึงทำให้ได้กำไรส่วนต่าง ของราคากันค่อนข้างมาก
"สุทธิ รจิตรังสรรค์" รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัทอเมริกันอินเตอร์แนชั่นแนล แอสชัวรันส์ ผู้ซึ่งต้องรับหน้าที่ นักบริหารการเงินที่ดี ทั้งเงินของลูกค้า และเงินส่วนตัว เลือกใช้วิธี "ตั้งเป้าหมาย" เพื่อลำดับความสำคัญ ก่อนที่จะจัดสรรเงิน
"ผมให้ความสำคัญครอบครัว เป็นอันดับแรก เงิน 1 ล้านบาทที่ผมมี ผมจะฝากไว้กับแบงก์ 60% ผมไม่มองว่าดอกเบี้ย จะถูกหรือแพง เพราะเป็นเรื่องของภาวะตลาด แต่มองว่าเงินที่ผมฝากไว้กับแบงก์ จะปลอดภัย และมีรายได้จากดอกเบี้ยแน่นอน
หลังจัดสรรเงินฝาก 60% แล้ว เมื่อคำนวณรายรับตลอดปีแล้ว พอจะรับภาระจ่ายเบี้ยประกันชีวิตได้ ผมก็จะจัดสรรไว้ 10%-15% ของรายได้ประจำต่อปี มาซื้อประกันชีวิต การลงทุนส่วนนี้ ผมจะไม่โยกย้าย เงินฝากออกมาซื้อ เพราะการลงทุน โดยซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต จะมีภาระผูกพันยาวนาน 10 ปี 20 ปี แต่การจัดสรรเงินออม มาลงทุนส่วนนี้ ต้องอาศัยรายได้ประจำที่เหมาะสม"
ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจประกันคนนี้ บอกว่า การซื้อประกันชีวิตที่ดี ต้องมีความสอดคล้อง ระหว่างอายุ รายได้ อาชีพ และการยอมรับ ความเสี่ยงส่วนบุคคล และเมื่อตัดสินใจ จัดสรรเงินมาลงทุนด้านนี้ ต้องควบคุม ความเสี่ยงทุกด้าน ทั้งการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ เพื่อให้เงินออม ที่แช่ไว้ยาวนานเช่นนี้ รองรับความเสี่ยงของชีวิต และทรัพย์สิน ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
คนที่จัดสรรเงินออม มาทำประกันชีวิต จึงต้องตั้งนิยามว่า "ทำชีวิตประจำวัน ให้เคลื่อนไหวต่อไปในอนาคต แม้ว่าเราจะเจ็บป่วย หรือไม่มีชีวิตอยู่แล้วก็ตาม"
เขาบอกว่า ควรจัดสรรเศษเสี้ยว ของเงินออมเล็กน้อย ลงทุนในตราสารหนี้ ผ่านกองทุนรวม เนื่องจากให้ผลตอบแทนดีในช่วงนี้ รวมทั้งหลีกเลี่ยง ที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้น เพราะอาจทำให้เงินออม สูญหายได้ง่ายๆ และด้วยเหตุที่ต้องอาศัย มือคนอื่นทำหน้าที่บริหาร กองทุนตราสารหนี้ที่เข้าไปลงทุน จึงต้องมีความคล่องตัว ที่จะเข้าซื้อหรือขายหน่วยลงทุน ออกไปได้ทุกวัน
INSURANCETHAI.NET