เครื่องมือในการควบคุมค่าเงินบาทที่แข็งค่าคือ
303

เครื่องมือในการควบคุมค่าเงินบาทที่แข็งค่าคือ

1. ขึ้นภาษี -> เศรษฐกิจจะหดตัว
2. Capital Control -> ต่างชาติจะไม่นำเงินมาลงทุน เพราะไม่มั่นใจว่าจะนำเงินกลับไปได้หรือไม่

การลดดอกเบี้ยจึงเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด เพราะ Fund Flow จะวิ่งไปหาแหล่งที่มีดอกเบี้ยสูงเสมอ

ทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมากระทบ real sector เป็นหลัก
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยส่งผลต่อ fund flow เป็นหลักมากกว่า
ถ้าเงินแข็งเพราะการลงทุนใน real sector จะส่งผลดีต่อประเทศโดยรวมมากกว่า แข็งตัวจาก fund flow

ดอกเบี้ยนี่มันไม่เกี่ยวกับ real sector เหรอ? แล้วเวลาธุรกิจต่างๆ ผู้กู้ซื้ออสังหา ผู้ฝากเงินกินดอกเบี้ย เงินเฟ้อ พวกนี้ไม่ใช่ real sector เหรอ?

เกี่ยวสิ แต่มันจะมีส่วนทั้ง 2 ด้านใน real sector ไงครับ ทั้งด้านผู้กู้และให้กู้ ซึ่งผมไม่ได้บอกว่าไม่เกี่ยวกันนะครับ ผมบอกว่า fund flow เป็นหลัก เพราะถ้าลดดอกเบี้ย มีส่วนให้ธุรกิจมีต้นทุนที่ต่ำลง อาจเกิดเงินเฟ้อและฟองสบู่ได้ แต่มาตราการในการควบคุมในแต่ละ sector ก็ทำได้ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดอัตราส่วน ในการกู้ซื้ออสังหาต่างๆ จะเห็นว่า ลดดอกเบี้ยโดยหลักจะส่งผลดีต่อ real sector แต่ต้องระวังที่เงินเฟ้อในระดับที่มากเกินไปและฟองสบู่เท่านั้น เงินเฟ้อระดับปกติไม่เป็นปัญหาเพราะเงินเฟ้อทุกปีอยู่แล้ว

ดอกเบี้ยขึ้นลงระยะสั้น แทบไม่มีผลต่อ Real Sector แต่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อ Fund Flow ที่เข้ามาหาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้

จริงมีหลายวิธีที่จะคุมเงินไหลเข้าได้ ถ้าย้อนไปน่าจะปี 2006 ตอนนั้น หม่อมอุ๋ย ได้ออกมาตราการมาเหมือนกัน ที่กันเงิน 30% จากต่างชาติ (เท่าที่จำได้นะครับ) ทำให้หุ้นตกอย่างหนักในวันนั้น หลังจากนั้นตอนเย็นออกมาบอกว่ายกเว้นตลาดหุ้นในที่สุด ทำให้เกิดการดีดกลับขึ้นมา อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถหยุดความแข็งของค่าเงินได้

โจทย์ตอนนี้ต้องมาดูว่าเงินมันเข้าไปที่ไหนมาก ถ้ามันเข้า bond มากจริงการลดดอกเบี้ย น่าจะส่งผลที่สุด แต่ถ้าเงินไหลเข้า เข้ามาทาง real sector ผมว่าจะดีในระยะยาว เพราะจะเกิดการจ้างงานมากขึ้นในอนาคต แต่เงินในรูปแบบนี้ไม่ทำให้เงินแข็งค่าอย่างรวดเร็วนะสิเพราะต้องมีการ plan มีการก่อสร้างต้องใช้ระยะเวลา

คือไม่อยากให้ ธปท. เข้าซื้อค่าเงินเพื่อสะกัดการเก็งกำไรอย่างเดียว เพราะมันเป็นวิธีที่ใช้กันมาในอดีต แล้วยังไม่เคยเห็นชนะสักที (การเข้าซื้อค่าเงินใช้ได้ในการรักษากรอบเงินในช่วงที่ flow ยังไม่สูงเท่านั้น) มองง่ายๆเงินทุนสำรองของประเทศมีเท่าไหร่ ที่จะไปสู้กับ flow เงินจากทั่วโลกครับ

ส่วนประเทศอื่นๆ อย่าง ประเทศฟิลิปปินส์ และ ออสเตรเลีย คงต้องลงไปดูในรายละเอียดว่าเขามีการบริหารอย่างไรบ้าง

เงินไหลเข้า bond ก็มีคำถามว่า
Bond มันมีที่มาที่ไปจากก่อนลดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยมันคงที่ มีอ้างอิงกับดัชนีเงินเฟ้อ มีเพดานสูงเพดานต่ำ
คำถามลดดอกเบี้ยตอนนี้ก็ไม่มีผลต่อ bond ที่ออกไปแล้ว
แต่มีผลต่อ bond ที่กำลังออกต่างหาก

ดังนั้นดูดีๆๆ
ยิ่งมี deal cpall+ makro ที่ใช้เงินกู้ 90%
ถ้าลดดอกเบี้ย cpall ยิ้มเพราะ ต้นทุนเงินทุนลดลง
แต่ถ้าเก่าก็ก้มหน้าจ่ายต่อไป

ผมว่ามีผลต่อ bond ที่ออกมาแล้วอยู่เหมือนกันนะครับ เพราะมีบางส่วนเป็น floating rate ถ้ามีการลดลงก็จะส่งผลกระทบต่อ return อยู่ดีครับ อีกอย่างที่เป็นผลกระทบต่อ bond ใหม่ที่จะออกตัวนี้ทำให้ demand ต่ำลง และในกรณีถ้าส่งผลกระทบต่อค่าเงิน return ของ bond เก่าก็จะได้รับผลกระทบต่อการแปลงค่าเงินกลับไปทำให้ total return ของการลงทุนใน fixed bond ต่ำลงอยู่ดี ถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นจริงก็คงมีการขายออกของต่างชาติในตลาด bond เกิดขึ้นแน่ครับ ยกเว้นแต่พวกที่ลงทุนยาวจริงๆ อาจทำ forward FX ไว้ก่อนเพื่อ lock return พวกนี้ก็คงไม่ได้ flow out ออกครับ

ส่วนเรื่อง CPALL ผมว่าไม่เกี่ยวกันนะเงินกู้อาจจะไม่ได้ลดก็ได้ เพราะต้องดูว่าเป็น fixed or floating ครับ และอีกอย่าง ธนาคารพาณิชย์ บางที่ก็ไม่ชอบลดดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบายเหมือนกันนะครับ

Bond เดิม คิดจากอายุคงเหลือ กับ ดอกเบี้ยที่จ่ายในแต่ละเวลา
โดนการทำ discount cash flow
เมื่อได้มูลค่าที่แท้จริงก็ดูราคาตลาด
แต่จริงๆ แล้วซื้อขายบนผลตอบแทน ที่คิดเป็น เปอร์เซ็นต์ต่อปี เหมือนดอกเบี้ย
อันนี้เป็นฝ่ายนักลงทุน

ฝ่ายผู้ออก ไม่มีผล เพราะดอกเบี้ยมันจ่ายตามหน้าตั๋วที่ระบุไว้
โดยทั่วไปในตลาดคือ ดอกเบี้ยคงที่ตั้งแต่วันแรกที่ออก ส่วนน้อยคือ ดอกเบี้ยลอยตัว เช่นขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น ดังนั้นผู้ออกก็ไม่ได้ไม่เสีย

นักลงทุนเองเป็นผู้ได้เสียมากกว่า โดยเจ้าใหญ่ในประเทศ คือ กองทุน(กบข ตัวใหญ่สุด) ประกันชีวิต/วินาศภัย ต่างชาติ ธนาคารพาณิชย์ โดยทั่วไปซื้ออย่างเดียวไม่ค่อยซื้อมาขายไป เพราะ ถือจนครบอายุนั้นเอง

ถ้าหากเก็บภาษีก็เก็บได้ โดนถ้าหากมาลงทุนตราสารหนี้ระยะเวลาในการถือครองน้อยกว่า 3 เดือนหรือ 1 ปีก็ว่ากันไปจ่ายภาษี แบบนี้จะกระทบต่อผู้ซื้อมาขายไป ถ้าถือจนครยกำหนดไม่ต้องเสียภาษี แลบนี้เป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้

ข้างบนเป็นการอธิบายอย่างละเอียดให้เข้าใจเลยว่า bond ควรแก้ไขแบบไหน

ประเด็นต่อไป ไม่รู้ว่า cpall ซื้อ makro เป็นเงินกู้ระยะสั้น
แต่ cpall ยังไม่ซื้อจนกว่าจะได้มติที่ประชุมผ่านก่อน
ดังนั้น ถ้ามีการลดดอกเบี้ยลดก่อนซื้อขาย อาจจะทำให้ cpall จ่ายดอกเบี้ยลดลงได้
โดนหลักการแล้วผู้กู้เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ก็อยากได้ดอกเบี้ยที่ลดลง นั้นเอง
Logic ธรรมชาติของบริษัทหรือบุคคลที่ต้องการลดต้นทุน

ดังนั้นผู้ได้ผลประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย ณ ตอนนี้คือ cpall ก็ได้
เลยต้องเป็นประเด็นไว้ว่า ออกข่าวมาในจังหวะการเกิด big deal

It takes two flints to make a fire.
ต้องใช้หินถึง2ก้อนถึงจะเกิดไฟได้

Impossible Trinity กระมังครับที่ไม่สามารถทำให้ใครต่อใครถูกใจได้ทั้งหมด

การแทรกแซงด้านนึง จะส่งผลดีกับอีกด้านนึง แต่ก็จะกระทบกับด้านที่เหลือเสมอ

การ balance ทุกด้านให้เป็นดังที่คิดนั้นคงไม่ง่ายเท่าไหร่หรอกครับ
คำถามต่อมา ลดดอกเบี้ย กระตุ้นใช้จ่าย แล้ว ดอกเบี้ย เงินฝากลดลง ทำให้ไม่สนใจฝากเงิน
มันจะเป็นงูกินหางไปทำให้ดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไม่ลดลง
แถมพรบ คุ้มครองเงินต้น ที่ยังไม่ลดความคุ้มครอง ให้เหลือ 1 ล้านบาท

ดังนั้น มันต้องพิจารณาด้านนี้ไว้ด้วยว่ามีแรงกดดัน จากประชาชน

ประชาชนทั่วไป ยังไม่ค่อยมีความรู้การลงทุน
เชื่อคำแนะนำเจ้าหน้าแนะนำการลงทุน



INSURANCETHAI.NET
Line+