การระงับปวดในผู้ป่วยมะเร็ง
312
การระงับปวดในผู้ป่วยมะเร็ง
การระงับปวดในผู้ป่วยมะเร็ง
ความปวดเป็นความรู้สึกที่มีอิทธิพลอย่างมากในการทำลายความสุข รวมทั้งรบกวน การประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตร โดยความปวดอาจเกิดขึ้นเป็น ครั้งคราวหรือต่อเนื่องตลอดเวลา ความปวดเกิดร่วมกับผู้ป่วยไข้ด้วยโรคมะเร็ง ได้ทุกระยะ โดยเฉพาะเมื่อโรคมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจาย แต่ก็มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวนไม่น้อยที่ พบว่าไม่เคยมีความปวดเกิดขึ้น โรคมะเร็งไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิด ความปวดเท่านั้น
ในนผู้ป่วยโรคมะเร็งความปวดอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการบำบัด โรคมะเร็ง หรือเป็นความปวดชนิดธรรมดาที่เกิดขึ้นกับบุคคลธรรมดาทั่วไป ความ ปวดจากโรคมะเร็งจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นกับขนิดของโรคมะเร็ง อวัยวะที่เกิดโรค รวมทั้งสภาพ ร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วยโดยเฉพาะเมื่อร่างกายอ่อนล้า มีความกลัว ซึม เศร้า หรือวิตกกังวลเกิดขึ้น จะมีส่วนทำให้ความปวดที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น
ผู้ป่วยที่มีความปวดเท่านั้นที่จะรู้สึกถึงลักษณะและระดับความ รุนแรงของความปวดที่เกิด ขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ถูกกระทบจนไม่อาจกระทำได้ รวมทั้งสภาพทางด้านจิตใจที่ทรุดลง อันเป็นผลจากความปวด ดังนั้น เมื่อเกิดความปวดขึ้นต้องไม่ตื่นตระหนก แต่อย่ารีรอ และไม่ต้องเกรงใจให้แจ้งแพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแล รับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับความปวดอย่างละเอียดลออทันทีที่มีโอกาส ซึ่งจะเป็นวิธีที่ ี่ช่วยทำให้การบำบัดความปวดที่เกิดขึ้นได้ผลมากที่สุด อย่าเบื่อหรือรำคาญกับคำถามมาก มาย คำถามบางข้ออาจซ้ำซาก หรือดูเหมือนไร้สาระ หากยังไม่พร้อมให้แจ้งแพทย์ หรือพยาบาล ผู้ซักถาม โปรดระลึกไว้เสมอว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากผู้ป่วยที่ปวดมีความ ละเอียดมากเท่าใด จะเป็นแนวทางชี้นำในการเลือกวิธีบำบัดได้ดีที่สุด คำถามที่จะถูก ไต่ถามจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การบำบัดเสมอ จะประกอบด้วย
* รู้สึกปวดตั้งแต่เมื่อไร?
* ปวดตรงบริเวณไหนบ้าง?
* ลักษณะปวดเป็นเช่นไร?(ปวดอื้อ แปล๊บ ปวดแสบปวดร้อนเหมือนเข็มแทง ฯลฯ)
* ระดับความรุนแรง(โดยใช้มาตราวัด อาจเป็นตัวเลข 0-5 ซึ่งผู้ทำการบำบัด จะอธิบายถึงวิธีใช้อย่างละเอียด)
* ช่วงเวลาความถี่ของการเกิดความปวด
* ปัจจัยที่ทำให้ความปวดลดลงหรือเพิ่มขึ้น
* วิธีบำบัดที่เคยได้รับมาก่อน รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
* ชนิด ขนาดและวิธีการใช้ยาแก้ปวดที่ผ่านมา รวมทั้งผลลัพธ์
การบำบัดความปวดจากโรคมะเร็งมีหลากหลายวิธี โดยทั่วไปยาแก้ปวดหนึ่งชนิด หรือมากกว่าจะถูกนำมาใช้บำบัดหรือร่วมกับวิธีการบำบัดอื่น ยาแก้ปวดในรูปแบบ รับประทาน ปิดบนผิวหนัง อมใต้ลิ้น หรือเหน็บทางทวารหนักมีคุณค่าในการแก้ปวด ได้เท่ากับยาฉีดในทุกรูปแบบ ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา แม้ความปวด จะไม่เกิดขึ้นอีก หากความปวดที่เคยเป็นอยู่เป็นชนิดที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ควรใช้ยาโดยพลการ หรือจัดหายาแก้ปวดมาใช้เพิ่มขึ้น โดยคำแนะนำจากผู้อื่น ที่ไม่ใช่แพทย์ผู้ให้การบำบัด
ยาแก้ปวดทุกชนิดอาจก่อให้ เกิดอาการข้างเคียงได้ อาทิเช่น ปวดศีรษะ คอแห้ง งุนงง ง่วงซึม สับสน ท้องผูก คลื่นไส้ หากมีอาการผิดปกติให้รีบแจ้ง ผู้ให้การรักษาบันทึกทุกสิ่ง เกี่ยวกับความปวดที่เป็นอยู่ หลังจาก เริ่มได้รับการบำบัด สำหรับไว้แจ้งแก่ผู้ให้การบำบัด โดยเฉพาะเมื่อ มีความปวด เกิดขึ้นบริเวณใหม่ของร่างกาย หรือความปวดเกิดขึ้นตลอดเวลา ที่ต้องรับประทานยา แก้ปวดขนานต่อไป
รวมทั้งอาการที่ผิดปกติ ยาแก้ปวดหลายชนิด โดยเฉพาะที่ใช้บำบัด ชนิดความปวดชนิด รุนแรง ร่างกายอาจเกิดภาวะชินต่อยาชนิดนั้นได้ ถ้าต้องรับยา อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ยาวนานและเมื่อหยุดยาทันทีอาจก่อให้เกิดอาการ ขาดยาขึ้น ซึ่งอาการเช่นนั้นไม่ใช่ สภาพของการติดยา ถึงแม้คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยาที่ใช้ อาจมีฤทธิ์ทางด้านเสพติด การใช้อย่างถูกวิธีโดยปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะไม่ทำให้เกิดภาวะติดยาขึ้น และไม่ควรกลัวว่าการใช้ยาแก้ปวดตั้งแต่ ความปวด ยังไม่รุนแรง จะทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น หรือเกิดภาวะดื้อยา ไม่มียาแก้ปวดใช้เมื่อความ ปวดรุนแรงขึ้นหรือยาแก้ปวดควรใช้ต่อเมื่อเข้าสู่วาระสุดท้ายเท่านั้นอย่า ตื่นตระหนก
ถ้าป่วยด้วยโรคมะเร็ง และ มีความปวดเกิดขึ้น รีบแจ้งแพทย์ที่ทำการรักษา ปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มีความปวด มากกว่าร้อยละ 80 ความปวดที่เกิดขึ้นสามารถควบคุม ได้หมด หรืออยู่ในระดับที่ผู้ป่วยพอใจ โดยการให้ยาแก้ปวดชนิดรับประทานอมใต้ลิ้น ปิดบนผิวหนัง หรือเหน็บทางทวารหนักเท่านั้น
INSURANCETHAI.NET