การนอนที่ถูกต้อง
316
การนอนที่ถูกต้อง
การนอนที่ถูกต้อง
นอนอย่างไรให้ตื่นอย่างสดชื่น – สร้างทัศนคติการนอนที่ดี
ลองมานอนอย่างได้กำไร ตามวิธีของ นายแพทย์เดวิด ไซมอน ผู้อำนวยการศูนย์สาธารณสุขโชปรา ในลาโฮยา แคลิฟอร์เนีย และคณะ
สร้างทัศนคติเรื่องการนอนเสียใหม่ บางคนมีความคิดว่า การนอนเป็นการเสียเวลา และเป็นการปล่อยให้ตัวเองสบายจนเกินไป ทำให้ไม่ให้ความสำคัญกับการนอน
ลองคิดเสียใหม่ว่า การนอนคืนละ 7- 8 ชั่วโมง เป็นการชาร์จพลังงานร่างกายให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าในวันถัดไป
- เข้านอนให้เร็วขึ้น เพราะการนอนแต่หัวค่ำและตื่นเช้า กับการนอนดึกแล้วตื่นสาย ใช้เวลาในการนอนเท่ากัน แต่การนอนแต่หัวค่ำและตื่นเช้าจะทำให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่าในการทำงานได้ดีกว่า
- เปลี่ยนบางกิจกรรมที่ทำให้คุณเข้านอนดึก เช่น อัดเทปรายการทีวีภาคดึกไว้ดูในวันอื่นแทน หรือยกหูโทรศัพท์ออกทันทีในตอนสี่ทุ่ม
- เข้านอนในเวลาเดียวกันให้เป็นกิจวัตร ช่วงเวลานอนที่เหมาะสำหรับคนส่วนใหญ่ คือ ๒๒.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น. หรือ ๐๘.๐๐ น. ลองเลือกเวลาเข้านอนที่เหมาะกับตัวคุณเอง และปฏิบัติตามนั้น ไม่เว้นว่าจะเป็นวันหยุด เพื่อให้นาฬิการ่างกายไม่สับสน
- หรี่ไฟให้สลัว ก่อนจะเข้านอนสัก ๑ ชั่วโมง ให้คุณเตรียมร่างกายเสียก่อนด้วยการหรี่ไฟหัวเตียงให้ลดความสว่าง ลง เพื่อเตรียมสมองว่าจะได้เวลาพักผ่อนแล้วนะ จากนั้นหยุดกิจกรรมทั้งหลาย หากจะอ่านหนังสือ หรือดูทีวีก็เลือกเรื่องที่ไม่ตื่นเต้นผาดโผนนัก
- ทำให้ง่วง หากคุณยังไม่คุ้นกับการเข้านอนที่เร็วขึ้น ลองใช้วิธีเหล่านี้ช่วยให้ง่วงได้ง่ายขึ้น เช่น ดื่มชาคาโมมายล์อุ่น ๆ สักถ้วย เครื่องดื่มอุ่นจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- ป้องกันการรบกวน ปรับอุณหภูมิห้องนอนให้พอดี และปิดโทรทัศน์ที่อยู่ในห้องนอนให้เรียบร้อยก่อนนอน เพื่อไม่ให้แสงและเสียงจากทีวีรบกวนสมองของคุณแม้ในเวลาหลับ
- ติดตั้งไฟกลางคืนไว้ในห้องน้ำ เพราะหากตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกแล้วต้องมาเจอกับแสงสว่างจ้าแยงตาจะทำ ให้คุณตาค้างและนอนหลับต่อได้ยาก
- ทำจิตใจให้สงบ หากตื่นขึ้นมากลางดึก ลองนอนสงบใจด้วยการสูดลมหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ พร้อมกับคิดถึงที่ซึ่งคุณรู้สึกผ่อนคลาย แต่ถ้าคุณรู้สึกกังวล หรือกระสับกระส่ายจนนอนไม่หลับ ให้ลุกขึ้นไปเปิดเพลงเบาๆ ฟังภายใต้แสงไฟสลัวๆ วางกระเป๋าน้ำร้อนที่ท้อง ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย และกลับไปนอนอีกครั้งเมื่อรู้สึกง่วง
- ตื่นขึ้นรับแสงสว่างยามเช้า มีการศึกษาพบว่าถ้าร่างกายได้สัมผัสกับแสงสว่างเป็นเวลา ๓๐ นาทีเมื่อตื่น จะเป็นการปลุกนาฬิกาในร่างกายให้เริ่มวงจรการทำงานได้อย่างสดชื่น
- ปลุกด้วยเสียงที่แตกต่าง ลองเปลี่ยนไปใช้นาฬิกาปลุกที่เสียงต่างๆ กันบ้าง จะชวนให้ตื่นมากกว่านาฬิกาปลุกที่เสียงคุ้นหูมาแรมปี
- เคลื่อนไหวร่างกาย กิจกรรมยามเช้าจะสงสัญญาณไปที่สมอง ว่าถึงเวลาเข้าเกียร์แล้วนะ และเป็นการตั้งนาฬิการ่างกายว่า ถึงเวลาเริ่มเช้าวันใหม่แล้ว ตื่นขึ้นมาแล้วอย่ารีบเปิดข่าว ลอง ฟังเพลงป๊อปสักเพลงที่ช่วยให้คุณรู้สึกกระฉับกระเฉง จนอยากขยับแข้งขยับขาตาม หรือจะออกกำลังกาย ด้วยการรำกระบอง หรือโยคะเสียหน่อยก็ไม่เลว
- หล่อเลี้ยงร่างกายให้ถูกทาง หลังจากตื่นสักครู่ให้ดื่มน้ำอุ่น หรือชาสมุนไพรที่ให้กลิ่นสดชื่น เพื่อปลุกระบบย่อยของร่างกาย ว่าได้เริ่มวันใหม่แล้ว แต่อย่าเพิ่งกินอาหารเช้าเร็วเกินไป ให้รอ จนรู้สึกหิว เสียก่อน เพราะการกินอาหารเร็วเกินไปทั้งที่ร่างกายยังไม่ต้องการ จะเป็นการทำให้ร่างกายทำงานหนักกับการย่อย จนไม่กระฉับกระเฉงเท่าที่ควร
- รับการนัดหมายในเวลาเช้า ลองระลึกถึงเมื่อตอนเป็นเด็ก คุณจะรีบเด้งตัวขึ้นจากที่นอนทันทีที่ลืมตา เพราะคุณรู้สึกว่ามีเรื่องสนุกๆรอให้ทำอยู่มากมาย ลองนัดเพื่อนที่รู้ใจรับประทานอาหารเช้าด้วยกัน หรือดูวิดีโอเทปที่โปรดปราน ในระหว่างอาหารเช้า
ถ้าความจำเป็นหรือด้วยเหตุผลส่วนตัว ที่เราไม่อาจปฏิบัติได้ทุกวัน ทดลองทำเฉพาะบางคืนที่เราต้องการตื่นอย่างสดชื่นในเช้าของวันที่สำคัญๆ ก็ไม่เลวนัก…
INSURANCETHAI.NET