วิธีเดียวที่จะกำจัดความเจ็บปวดได้ ก็คือ Stay with the pain and see it through - เข้าไปในนั้น ดูมัน รู้สึกถึงมัน ดึงอารมณ์ความรู้สึกเจ็บปวดนั้นออกมาให้ได้มากที่สุดด้วยการพูดคุย ร้องไห้กับเพื่อนที่ไว้ใจ หรือเขียน ระบายออกมา อย่าเร่งรีบที่จะผ่านพันความเศร้าโศกไป ใช้เวลาจนกว่าเราจะหายดี เมื่อได้ระบายออกมามากพอ เราจะเริ่มรู้สึกว่าปล่อยวางได้มากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เราก็จะเริ่มเห็นถึงความสมดุลในตัวเราเอง ซึ่ง Sandra เรียกการปลดปล่อยความเศร้าโศกออกมาว่าเป็น กระบวนการชำระล้าง (Cleansing Process) หากเราผ่านกระบวนการนี้ไปได้ เราจะสามารถเปลี่ยนความเจ็บปวดไปเป็นการเรียนรู้และแม้แต่อำนาจก็ได้ (turn your pain into knowledge and even power)
ปฏิกิริยา ทั่วไปสำหรับคนที่อยู่ในกระบวนการของการเลิกรา มักจะเลือกเฟ้นจดจำเฉพาะความทรงจำดีๆ และลืมความทรงจำแย่ๆ แม้แต่คนที่โดนทำร้ายอย่างรุนแรงก็ยังเพ่งมองไปที่ความทรงจำดีๆ และลดความทรงจำแย่ๆ ทำให้การจินตนาการความสูญเสียนี้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยเฉพาะคนที่พยายามหาความรักมาชดเชยสิ่งที่ตัวเองรู้สึกว่าขาดหายไป เรามักจะเสียอกเสียใจกับสิ่งที่เสียไป เช่นความสนุกสนาน ความตื่นเต้น ความสัมพันธ์อันดี แต่หากพิจารณาดีๆแล้วอาจจะพบว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาสิ่งที่ขาดหายไปของความ สัมพันธ์ คือความรักและความเคารพกันอย่างแท้จริง (Real love and respect)
การ จินตนาการความสูญเสียเกินจริงจะยืดเยื้อกระบวนการของความเศร้าโศก และทำให้ความรู้สึกสิ้นหวังใหญ่โตเกินจริง ทำให้เราโหยหาความสัมพันธ์ที่สูญสิ้นไปโดยไม่สนว่าสภาพความจริงของความ สัมพันธ์นั้นเป็นอย่างไร ดัง นั้นเมื่อไรที่เรารู้ตัวว่ากำลังคิดถึงช่วงเวลาอันแสนหวานที่ไม่อาจย้อนคืน มาได้ ขอให้หยุดซะ แล้วพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามจริง อาจใช้การเขียนบันทึกเข้ามาช่วยก็ดี เราต้องให้ตัวเองได้เศร้าโศกเสียดายกับสิ่งดีๆ พอๆกับที่ต้องรับรู้ถึงสิ่งที่แย่ด้วย – Allow yourself to grieve the good as well as acknowledge the bad
ประสบการณ์ ความเศร้า ความเจ็บปวดเหล่านี้ สามารถให้บทเรียนที่มีค่ากับตัวเราได้มากมาย ทำให้เรารู้จักตัวเราเองมากขึ้น ให้ความสำคัญกับตัวเรามากขึ้น รู้จักแยกแยะเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องความสัมพันธ์ได้ดีขึ้น ถือได้ว่าเป็นของขวัญที่ได้จากความเศร้าโศก (the Gift in the Grief) เลยทีเดียว
ดัง นั้น เมื่อความสัมพันธ์จบลงแล้ว ก็จงปล่อยมันอย่าโทษคนรักของเรา หรือซ้ำเติมตัวเอง เลิกทบทวนและคิดถึงรายละเอียดของความสัมพันธ์ที่จบไปแล้ว พยายามฝึกฝนทักษะการเลิกราให้ครบทุกอย่างค่อยๆปล่อยวางมันไปเรื่อยๆ เพราะการปล่อยวางต้องใช้เวลา – Letting go take times; and practice makes progress ขอให้ตั้งเจตนารมณ์ที่จะเดินหน้าต่อไป แล้วรวบรวมความกล้าหาญทำให้มันเป็นจริงให้ได้
ทักษะการเลิกราข้อ 5) เข้าใจศิลปะการอยู่ด้วยตัวเองตามลำพังให้ท่องแท้ (Master the Art of Being Alone)
การที่เราสามารถใช้ชีวิตตามลำพังได้อย่างสงบสุขได้มากเท่าไร พลังงานที่ส่งออกจากตัวเราออกไปก็จะเป็นแบบที่ดึงดูดความสงบและความสุขให้ เข้ามาในชีวิตมากเท่านั้น...รวมทั้งความรักด้วย แต่ถ้าเรารู้สึกว่าเราไม่สามารถมีความสุขได้เลยถ้าต้องอยู่คนเดียวตามลำพัง งั้นก็รับประกันได้เลยว่าเราจะอยู่อย่างไร้สุข และเดียวดาย – If you feel you can’t be happy while alone, it practically ensures that you will stay both unhappy and alone ความสบายใจกับการอยู่ด้วยตามลำพัง แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางอารมณ์ของตัวเราเองและการเป็นผู้กำหนดคำนิยามให้กับตัวเอง รวมถึงการที่เราสามารถมีความสุขได้ด้วยตัวเราเอง
ขอให้เราสามารถบอกกับตัวเองให้ได้ว่า “ถ้าฉันต้องใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่ตามลำพัง มันก็ไม่เป็นไร ฉันจะทำมันให้เป็นชีวิตที่มีความสุขที่สุด คุ้มค่าที่สุดเท่าที่เคยมีมา - If I have to spend the rest of my life alone, that’s okay. I’m going to make it the happiest, most rewarding life ever” ซึ่งนี่แหละคือสุดยอดของการปล่อยวางต่อจักรวาล
ทักษะการเลิกราข้อ 6) เลือกที่จะสร้างชีวิตที่มีความสุข (Choose to Create a Life of Happiness)
การ ทำให้ชีวิตมีความสุข มีอยู่สองวิธี บางคนก็ไขว่คว้าหาความสุข บางคนก็สร้างมันขึ้นมาเอง กลุ่มคนประเภทแรกจะมีมุมมองพื้นฐานเกี่ยวกับความสุขของพวกเขาเป็นความสุขแบบ ภายนอก เป็นความสุขที่มาจากคนอื่น หรือไม่ก็มาจากการบรรลุเป้าหมายภายนอก เช่นประสบความสำเร็จด้านการเงิน การงาน ส่วนกลุ่มคนประเภทหลังที่สร้างความสุขขึ้นมาเอง จะมองว่าความสุขเป็นสภาวะทางจิตใจมากกว่า เป็นแก่นแท้ของชีวิต ที่ไม่ได้มาจากภายนอก ดัง นั้นเมื่อความสัมพันธ์สิ้นสุดลง หากเราตั้งใจที่จะสร้างความสุขขึ้นมาใหม่ด้วยตัวเอง เราจะสามารถก้าวออกมาได้ง่ายกว่า แต่ถ้าเราพยายามไล่ตามความสุข เราก็จะพบกับความลำบากในการรับมือกับความเศร้าโศก เราจะหมกมุ่นอยู่กับความสุขที่สูญเสียไปแล้วอยู่ตลอด ซึ่งจะทำให้เราเสียสมดุลของตัวเราไป เพราะเราเติมพลังงานของเราไปกับการระลึกถึงอดีต โหยหาอนาคต แทนที่จะอยู่กับความสงบสุขในปัจจุบัน – filling energy with past-remembering and future- yearning, rather than present-peacefulness
ถ้าเราอยากสร้างความสุขขึ้นมาเอง สิ่งแรกที่ต้องทำคือเลิกสร้างความทุกข์ระทมให้ตัวเอง พยายามหันมาสร้างทัศนคติแบบร่าเริง มุ่งมั่นที่จะผ่อนคลายสบายใจ เรียนรู้ที่จะสนุกกับชีวิต และสร้างความสุขที่แท้จริงให้กับตัวเอง ขอให้จำไว้ว่า เราต้องเป็นผู้สร้างความสุขให้กับตัวเอง เราต้องหยิบยื่นสิ่งที่เรามองหาจากคนอื่นให้กับตัวเอง ลองถามตัวเองว่าอะไรที่ทำให้เรามีความสุข แล้วก็รับผิดชอบในการสร้างมันขึ้นมาในชีวิตเรา – Ask yourself what it is that makes you happy, and then take responsibility for creating that in your life ดังนั้นถ้าเราต้องการกำลังใจ ก็จงให้กำลังใจกับตัวเอง