การรักษามะเร็ง
416

การรักษามะเร็ง

การรักษามะเร็ง

(Therapeutic approaches to cancer) การรักษามะเร็งโดยทั่ว ๆ ไปมี 4 วิธีใหญ่ ๆ คือ
การผ่าตัด (surgery)
การฉายรังสี (radiotherapy)
การใช้เคมีบำบัด (chemotherapy)
อิมมูนบำบัด (immunotherapy)

ซึ่งจะใช้วิธีใดวิธี หนึ่งหรือหลาย ๆ วิธีร่วมกัน (adjuvant therapy) ขึ้นอยู่กับ
- ชนิดของมะเร็งว่าจะตอบสนองได้ดีต่อการรักษาโดยวิธีใด
- ขนาดของก้อนมะเร็ง รวมทั้งระยะ (stage)ของโรค
- ปัจจัยอีกหลาย ๆ อย่างประกอบ เช่นภาวะโภชนาการ ภาวะภูมิคุ้มกัน ภาวะจิตใจ และความพร้อมใน ด้านต่าง ๆ เป็นต้น

ในที่นี้จะยกตัวอย่างเฉพาะ อิมมูนบำบัด
อิมมูนบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษาโดยใช้วิธีการต่าง ๆ ในการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่าง กายในการกำ จัดเซลล์มะเร็งให้ดียิ่งขึ้น แบ่งได้เป็น
1. Non tumour-specific immunotherapy เป็นการใช้สารที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่ง เซลล์ (CMI) ทำ ให้ macrophage หรือ T cell ทำ งานได้ดีมากขึ้น กระตุ้นการสร้างและการหลั่ง lymphokines ชนิดต่าง ๆ, กระตุ้น macrophage ให้กลายเป็น activated macrophage ซึ่งสามารถทำลาย เซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นต้น

การกระตุ้นอาจทำ ได้โดยการฉีดสารเข้าไปในก้อน มะเร็งโดยตรงหรือทาบนผิวของก้อนมะเร็งเพื่อให้เกิดผลเฉพาะที่ หรือฉีดเข้าร่างกายเพื่อกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันทั่วร่างกาย สารที่ใช้ฉีดดังกล่าวนี้จะเรียกว่า immunoadjuvant เช่น BCG (Mycobacterium bovis, BCG strain), สารเคมี dinitrochlorobenzene (DNCB) และ Corynebacterium parvum ซึ่งใช้ได้ผลดีกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งผิวหนังชนิด malignant melanoma สารอื่น ๆ ที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ cell wall skeleton ของ BCG, nocardia polysaccharides ที่เตรียมจากเห็ด, สาร นํ้าหนักโมเลกุลตํ่า เช่น bestatin, levamisole, vitamin A derivatives และ muramyl dipeptide (MDP) เป็นต้น นอกจากนี้มีการใช้สาร lymphokines และสารนํ้าอื่น ๆ ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า biologic response modifier (BRM) เช่น IL-2, TNF และ IFN เป็นต้น ตัวอย่างการใช้ BRM เช่น การ ใช้ IFN ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว hairy cell leukemia

2. Tumour-specific therapy เป็นการกระตุ้นหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่จำ เพาะต่อมะเร็งชนิดนั้น ๆ ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ ด้วยกัน คือ Active vaccination เป็นการฉีดวัคซีนที่ทำ จากเซลล์มะเร็งหรือชิ้นส่วนของเซลล์ หรือฉีด anti-idiotypic antibody เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็งนั้น ๆ Adoptive transfer เป็นการให้เซลล์ที่มีความสามารถในการทำ ลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งมี 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ -T cell clone เป็นการนำ T cell ที่จำ เพาะต่อเซลล์มะเร็งมาเลี้ยงเพิ่มจำ นวนนอกร่างกายจนมี ปริมาณมากพอ จากนั้นจึงฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย -LAK cell เป็นการนำ เอาลิมโฟซัยท์มาเลี้ยงนอกร่างกายแล้วกระตุ้นด้วย IL-2 เซลล์จะ เปลี่ยนแปลงเป็น lymphokine-activated killer cell (LAK cell) แล้วจึงฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย -Tumour infiltrating lymphocyte เป็นการแยกเอาเซลล์ลิมโฟซัยท์ที่อยู่รอบ ๆ ก้อนมะเร็ง (เชื่อว่าเซลล์เหล่านี้จะจำ เพาะต่อเซลล์มะเร็งและมีความสามารถทำ ลายเซลล์มะเร็งได้สูง) มาเลี้ยงเพิ่ม จำ นวนนอกร่างกายแล้วกระตุ้นด้วย IL-2 เช่นเดียวกับในกรณีของ LAK cell พบว่ามีประสิทธิภาพใน การทำ ลายเซลล์มะเร็งได้สูงกว่า LAK cell ธรรมดา Passive immunotherapy เป็นการใช้แอนติบอดีที่จำ เพาะต่อเซลล์มะเร็งฉีดเข้าสู่ร่างกายผู้ ป่วย ในปัจจุบันสามารถที่จะผลิต monoclonal antibody (mAb) ที่จำ เพาะต่อเซลล์มะเร็งได้ เมื่อฉีด mAb เข้าสู่ร่างกายก็จะไปจับกับเซลล์มะเร็งแล้วมีการกระตุ้นระบบคอมพลีเมนต์ มีขบวนการ opsonized phagocytosis ทำ ลายเซลล์มะเร็งได้ หรืออาจเพิ่มประสิทธิภาพของ mAb ได้โดยการติด ฉลากด้วยสารต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติในการทำ ลายเซลล์ เช่น สารรังสี ((radioactive substance), สารพิษ (toxin) หรือ ยาพิษ (cytotoxic drug) เป็นต้น เรียกแอนติบอดีที่ติดสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า immunotoxin บรรณานุกรม 1. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล. วิทยาภูมิคุ้มกันของเนื้องอก. ในอิมมูโนวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 4. บริษัท เค.พี.พริ้นติ้ ง จำ กัด กรุงเทพฯ. 2537: 239-247. 2. Roitt I, Brostoff J and Male D. Immunology. 4th ed. London: Mosby; 1996. 3. James K. Tumor immunology. In: Clinical Immunology; Principles and laboratory diagnosis, 2nd ed. Edited by Sheehan C. Philadelphia: Lippincott-Laven Publishers;1997: 77-88. 4. Greenberg PD. Mechanisms of tumor immunology. In: Medical Immunology, 9th ed. Edited by Stites DP, Terr AI and Parslow TG. Connecticut: Appleton & Lange; 1997: 631-639.



INSURANCETHAI.NET
Line+