พันธุกรรมบำบัด ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็ง
443

พันธุกรรมบำบัด ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็ง

พันธุกรรมบำบัด ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็ง (1)

อีกหนึ่งความหวังของผู้ป่วยในการรักษาตัว

ทุกวันนี้คนไทยต้องตกเป็นเหยื่อโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปัจจุบันโรคมะเร็งได้กลายมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยแล้ว และในแต่ละปีไทยต้องเสียงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทางการแพทย์และสาธารณ สุขเกี่ยวกับโรคมะเร็งเป็นจำนวนเงินมหาศาล !!!

ที่ผ่านมาวงการแพทย์ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยแล้วพบว่า โรคมะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์นั้นมีมาก กว่า 100 ชนิด โดยแต่ละชนิดก็จะพบในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่แตกต่างกัน และจะมีการดำเนินของโรคที่ไม่เหมือนกันด้วย ทำให้การรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งแต่ละชนิดนั้น จะมีวิธีการรักษาที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ
- ชนิดมะเร็ง
- ระยะที่เป็น
- สภาพร่างกายของผู้ป่วย
- ความเหมาะสม
- ดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา

อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งส่วนใหญ่จะสามารถบำบัดรักษาได้ และก็มีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆหลาย ๆ คนที่สามารถรักษาตัวให้หายขาดจากเนื้อร้ายได้ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกที่เป็น

จากสถิติด้านสาธารณสุขในปัจจุบันที่คนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น นั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองปลิว เปรมปรี ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งและพันธุกรรมบำบัด โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าอาจมีสาเหตุมาจาก 3 ข้อหลัก ๆ คือ

1. ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้คนป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน รวมถึงการป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิด ต่าง ๆ ด้วย
2. คนไทยรุ่นใหม่หันมาสนใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น จึงให้ความสำคัญกับการตรวจร่างกายประจำปี และเมื่อได้ตรวจร่างกายแล้วจึงทำให้พบคนเป็นโรคมะเร็งระยะแรกมากขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเมื่อรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้น แล้วจะช่วยให้การรักษาให้หายทำได้ง่ายขึ้น
3.ปัจจุบันประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นทำให้คนไทยต้อง ประสบกับสภาวะแวดล้อมที่มีมลพิษ ได้รับสารเคมีเพิ่มมากขึ้นซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะช่วย กระตุ้นให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้คนไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าการที่คนเราเป็นมะเร็ง ชนิดต่าง ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการกินอาหาร การได้รับสารพิษ สารเคมี มลพิษ การดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ ฯลฯ แต่พฤติกรรมดังกล่าวทั้งหมดไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คนเราเป็นมะเร็ง เพียงแต่เป็นปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นให้คนเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้ มากขึ้น

ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองปลิว กล่าวว่า สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คนเราเป็นโรคมะเร็งนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม (DNA - ดีเอ็นเอ) หรือเกิดการกลายพันธุ์ของยีน (Gene) หรือพูดให้เข้าใจได้ง่าย ก็คือ การเป็นมะเร็งในร่างกายของมนุษย์นั้นเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของยีน นั่นเอง

“ในร่างกายของคน ๆ หนึ่งจะประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก ซึ่งในเซลล์ 1 เซลล์ จะประกอบด้วยยีนมากกว่า 30,000 ตัว โดยยีนแต่ละตัวจะมีหน้าที่การทำงานที่ไม่เหมือนกัน และทำงานไม่พร้อมกันด้วย หากยีนมีการทำงานที่ผิดปกติก็จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งหรือเนื้อร้ายขึ้นได้”

ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองปลิว กล่าวต่อว่า ในร่างกายของมนุษย์ถึงแม้จะมียีนที่ผิดปกติอยู่ แต่จะมีอะไรที่จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดเป็นมะเร็งหรือไม่ ก็ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เรื่องอาหารการกิน หากรับประทานผักผลไม้น้อย ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ได้ หรือหากเป็นคนสูบบุหรี่จัด และสูบมาเป็นเวลานาน ก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอด ฯลฯ

“โดยปกติหากยีนในร่างกายคนเรามีความผิดปกติเกิดขึ้น ร่างกายของเราก็จะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขซ่อมแซมได้ โดยมีกลุ่มยีนที่มีหน้าที่ซ่อมแซมทำงานให้ แต่หากการผิดปกติของยีนที่เกิดขึ้นมีมาก จนกลุ่มยีนที่มีหน้าที่ดังกล่าวไม่สามารถซ่อมแซมยีนนั้นได้ ก็จะเกิดความผิดปกติขึ้น และหากมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเป็นมะเร็งได้”

อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งเมื่อเป็นแล้ว ส่วนใหญ่ในระยะเริ่มแรกมักจะไม่ปรากฏอาการ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัว แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน หรือเป็นมากขึ้น มีอาการปรากฏ ได้รับการตรวจอย่างละเอียด ผู้ป่วยถึงจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่ 3 และระยะสุดท้ายทำให้รักษาให้หายได้ยาก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง ก็จะตกใจ รู้สึกหดหู่ เกิดความท้อแท้สิ้นหวัง เพราะเข้าใจว่า โรคที่เป็นไม่มีทางรักษาให้หายได้ ชีวิตที่เหลืออยู่จึงไม่ให้ความสำคัญกับการรักษาและบำบัด มีความคิดแต่เพียงว่าชีวิตนี้รอคอยเพียงความตายเท่านั้น!?!

ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองปลิว กล่าวว่า ในทุกวันนี้วิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้าขึ้นมาก ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทุกชนิดนั้นสามารถที่จะทำการบำบัดรักษาให้หาย หรือทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกที่การดำเนินของโรคยังไม่ มาก

“ปัจจุบันวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่คุ้นเคยกันดี หรือเรียกว่าเป็นวิธีรักษามาตรฐาน ก็คือ การรักษาโดยการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งเมื่อผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเข้ารับการบำบัดรักษาแล้ว แพทย์จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจว่าจะใช้วิธีใด โดยขึ้นอยู่กับชนิดมะเร็ง ระยะของโรค ร่างกายของผู้ป่วย ความเหมาะสม ซึ่งทั้ง 3 วิธีดังกล่าว ก็มีข้อดี ข้อเสีย จุดดี จุดด้อย แตกต่างกันไป”

อย่างไรก็ตาม เมื่อความก้าวหน้าทางการแพทย์เจริญขึ้น จึงมีการค้นคว้าวิจัยวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ถือเป็นความหวังและทางเลือกใหม่ของผู้ป่วย เรียกว่า “พันธุกรรมบำบัด” (Gene therapy หรือ Targeted Therapy) ซึ่งเป็นการรักษาโรคมะเร็งที่มุ่งเน้นไปยังต้นเหตุของมะเร็ง นั่นคือ ยีนที่มีความผิดปกติ ด้วยการทำการวิเคราะห์หาความผิดปกติของยีนในเซลล์ จากนั้นก็วางแผนการรักษาโดยการใช้ยาที่มีคุณสมบัติเข้าไปรักษาบริเวณที่ยีน มีความผิดปกติโดยตรง

ถือเป็นการรักษาที่ตรงจุด ได้ผลตอบสนองที่ดีกว่า และไม่เป็นการทำลายเซลล์ที่ปกติในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย !!!.

แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 2007

Re: พันธุกรรมบำบัด ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็ง
443

Re: พันธุกรรมบำบัด ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็ง

พันธุกรรมบำบัด ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็ง (2) ตรวจหายีนที่ผิดปกติ ใช้ยายับยั้งเนื้อร้าย (จบ)

การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ด้วยวิธี พันธุกรรมบำบัด (Gene therapy หรือ Targeted Therapy) ในต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉพาะในแถบยุโรปและอเมริกา ส่วนเมืองไทยนั้นได้เริ่มมีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยวิธีนี้เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันยังไม่แพร่หลายเท่าไร มีการให้บริการรักษาในเฉพาะบางโรงพยาบาลเท่านั้น

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ทองปลิว เปรมปรี ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งและพันธุกรรมบำบัด โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า การรักษามะเร็งด้วยวิธีพันธุกรรมบำบัดถือเป็นการรักษาโรคมะเร็งแบบใหม่ที่จะ เป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

“ในปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยวิธีมาตรฐานก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ และ ผู้ป่วยบางรายก็ไม่อยากรักษาด้วยวิธีดังกล่าว เช่น การผ่าตัด ก็จะทำให้ ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ ต้องพักฟื้นนาน หรือหากใช้วิธีฉายแสง และเคมีบำบัด ก็จะมี ผลข้างเคียงกับร่างกายผู้ป่วย ซึ่งบางคนทรมานจนถึงกับท้อแท้ในการรักษา แต่วิธีการรักษาด้วยพันธุกรรมบำบัดนั้นจะเป็นวิธีรักษาที่ตรงเป้าหมาย โดยเน้นไปยังยีนที่มีความผิดปกติโดยตรงด้วยการให้ยาที่ยับยั้งและควบคุมการ เจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมาน และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการฉายแสง และเคมีบำบัด”

ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองปลิว กล่าวต่อว่า มะเร็งทุกชนิดเราสามารถจะตรวจหาความผิดปกติของยีนได้ และเมื่อผลการตรวจออกมารู้ถึงยีนที่ผิดปกติแล้วแพทย์จะสามารถวินิจฉัยและวาง แผนการรักษาและบำบัดยีนที่มีความผิดปกติได้

สำหรับการตรวจหาความผิดปกติของยีน ทำได้โดยนำชิ้นเนื้อมาตรวจในห้องปฏิบัติการทดลอง อย่างเช่น การตรวจหาความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอดนั้น ก็จะทำการนำชิ้นเนื้อของปอดมาตรวจโปรตีนในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ก็จะทำให้ทราบว่ายีนตัวใดมีความผิดปกติ และเมื่อทราบว่ายีนตัวใดมีความผิดปกติแล้ว ก็จะตรวจให้ละเอียดมากขึ้นเพื่อให้รู้ลึกลงไปอีกว่าดีเอ็นเอใดมีความผิดปกติ ซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 อาทิตย์ เมื่อผลออกมาแล้ว แพทย์ก็จะทำการวางแผนในการรักษาต่อไป

“ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอด เมื่อตรวจหาความผิดปกติของ ยีนแล้วผลออกมาจะพบว่า ยีน EGFR ซึ่งเป็นยีนที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับมะเร็งปอดจะมีความผิดปกติ ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้โดยใช้ยา Iressa และ Tarceva ซึ่งจะเข้าไปยับยั้งและรักษาความผิดปกติของยีนดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดการ แพร่กระจายและลุกลามของเซลล์มะเร็ง โดยที่ไม่มีผลเสียหรือผลข้างเคียงต่อเซลล์ที่ปกติ ทำให้การรักษามีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพ”

การตรวจยีนที่ผิดปกติสามารถทำได้ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทุกระยะ ซึ่งหากเรารู้ความผิดปกติของยีนที่เกิดขึ้นและรีบทำการรักษาด้วยวิธีที่ถูก ต้องเหมาะกับชนิดมะเร็งและร่างกายของผู้ป่วย ก็จะช่วยให้ผลการรักษาได้ผลดี โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแรก

อย่างไรก็ตามการรักษาโรคมะเร็งจะได้ผลมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดมะเร็งและ ระยะที่เป็นด้วย หากผู้ป่วยมาตรวจและพบว่าเป็นมะเร็งในระยะแรกโอกาสที่จะหายขาดก็มี เปอร์เซ็นต์สูง โดยอาจจะใช้เพียงวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น

ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองปลิว กล่าวว่า หลังจากที่ได้ทดลองรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยวิธีพันธุกรรมบำบัดมาเป็นเวลา 4-5 ปี ก็ได้ผลที่น่าพอใจกว่า 70% ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มาจะเป็นผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้ายที่ผ่านการรักษา ด้วยวิธีต่าง ๆ มาหมดแล้ว หรือมะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายแล้ว ซึ่งในกรณีนี้การบำบัดรักษาทำได้ยากขึ้น เพราะมีโจทย์ที่ต้องแก้ไขมากขึ้น จึงต้องอาศัยระยะเวลาในการบำบัดรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

การตรวจยีนจะเป็นข้อมูลให้เรารู้ว่ามีความเสี่ยงหรือเป็นมะเร็งชนิดใด จะต้องวางแผนรักษาอย่างไรเพื่อให้ได้ผลดีมากที่สุด ซึ่งความรู้เรื่องยีนมีมานานแล้ว และก็จะมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งในอนาคตข้างหน้าการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยวิธีพันธุกรรมบำบัดอาจจะเข้า มาแทนที่วิธีรักษาแบบมาตรฐาน เพราะให้ผลดีกว่าและยังมีผลข้างเคียงน้อยกว่าด้วยศาสตราจารย์นายแพทย์ทอง ปลิว ระบุ

ทั้งนี้แม้ว่าปัจจุบันคนไทยจะเป็นโรคมะเร็งกันมากขึ้น แต่ถ้าเรามีความรู้ในเรื่องนี้ใส่ใจกับสุขภาพตนเอง และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเป็นมะเร็งแล้วก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคมะเร็งได้

ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองปลิว กล่าวว่า ทุกคนสามารถลดความเสี่ยงของตนเองที่จะเป็นโรคมะเร็งได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติของยีนในร่างกายเราอาทิเลิกสูบ บุหรี่ลดการดื่มสุรา

การทำสภาพแวดล้อมให้ดีด้วยการปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้มลพิษมีน้อยลง ลดปัจจัยที่จะทำให้เราได้รับสารพิษ ยาฆ่าแมลง เพราะสารพิษเหล่านี้มีผลต่อมะเร็ง เช่น การรับประทานผักและผลไม้ ก็ต้องให้ปลอดสารพิษจริง ๆ ทานอาหารให้สมดุลและครบ 5 หมู่ ลดอาหารที่มีไขมันมาก และให้รับประทานผักผลไม้มาก ๆ ก็จะช่วยทำให้ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ลดน้อยลง

สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทองไม่ควรรับประทานฮอร์โมนจำนวนมาก เกินความจำเป็น แต่หากจำเป็นจริง ๆ ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ และสิ่งที่สำคัญคือ ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจร่างกายเป็นประจำ เพราะหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นจะได้ตรวจพบแต่เนิ่น ๆ และทำการรักษาได้ทัน

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ระยะที่เท่าไรก็ตาม ขอให้มีความหวังในการรักษา หมั่นศึกษาหาความรู้กับโรคที่เป็นเพื่อให้รู้ถึงวิธีรักษาและการปฏิบัติตน ที่ถูกต้อง และอย่าคิดว่าการเป็นมะเร็งคือบั้นปลายของชีวิต !??

รวมทั้งอย่าคิดว่าเราจะต้องตาย แต่ให้คิดว่าทำอย่างไรเราถึงจะรอด !!!

สุดท้ายศาสตราจารย์นายแพทย์ทองปลิวฝากไว้ว่าปัจจุบันมียารักษาโรคมะเร็งออก มามากและได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ทำให้แพทย์สามารถเลือกยาที่มี ประสิทธิภาพและเหมาะกับผู้ป่วยได้โดยการรักษาด้วยวิธีพันธุกรรมบำบัดอาจใช้ ร่วมกับวิธีการรักษามาตรฐานคือการผ่าตัดการฉายแสงและเคมีบำบัดได้เพื่อให้มี แนวทางการรักษาที่มากขึ้นและให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ !??

เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งหรือมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น !!!.

แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 2007

Re: พันธุกรรมบำบัด ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็ง
443

Re: พันธุกรรมบำบัด ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็ง

จีนเป็นประเทศเเรกที่อนุมัติให้มีการผลิตยาที่เรียกว่า พันธุกรรมบำบัด เพื่อยับยังมเร็ง
ซึ่งแม้ผลลัพธ์ที่ได้จะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เป็นที่น่าสนใจของคนไข้จากต่างประเทศที่ลงทุนเดินทางไปรักษาตัว

นับตั้งเเต่องค์การอาหารและยา ของจีนอนุมัติให้ใช้ยา  genedecine (เจเนดิซีน) รักษามะเร็งบางชนิดได้ เมื่อปลายปี 2546
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายนับร้อยคน จึงตั้งความหวังว่าเเพทย์จีนจะประสบความเร็จในการรักษาโรคร้ายนี้ได้

ในการรักษา แพทย์จะฉีดยา เจเนดิซัน เข้าไปที่ ก้อนเนื้อร้ายโดยตรง ยาเจเนดิซีน จะใช้ ไวรัสที่ถูกดัดแปลงแล้ว เป็นตัวนำยีนส์ที่มีชื่อว่า P53 เข้าไปทำให้เซลล์มะเร็งทำลายตัวเอง

ที่มา ช่อง9 kooru.com/culture/culture.php?Art_ID=1023

P53
ได้รับความสนใจ ศึกษามานานมากกว่าสิบปีแล้ว และในเร็ว ๆนี้ยีนตัวนี้กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งในฐานะของ ยีนรักษา ในวิชาพันธุกรรมบำบัด (therapeutic gene)

p53 มิได้เป็น oncogene ในความหมายของ oncogenic gene หรือยีนซึ่งสนับสนุนให้เกิดมะเร็งครับ ตรงกันข้ามตัวมันเป็นยีนที่กดหรือต้านมิให้เกิดมะเร็ง (tumor suppressor gene)
โดยกลไกที่ทราบคือกระตุ้นให้เซลล์เข้าสู่ภาวะ apoptosis การกลายพันธุ๋ของยีนตัวนี้เกิดได้ง่ายจากการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเช่นรังสี ultraviolet ยาเคมีบำบัด ฯลฯ
จนเราเจอการกลายพันธุ์ของมันในหลายมะเร็งตั้งแต่มะเร็งลำไส้ ปากมดลูก นม ฯลฯ

เนื่องด้วยความไม่จำเพาะ มันจึงไม่ค่อยได้รับความสนใจไปพักหนึ่ง จนกระทั่งการทำพันธุกรรมบำบัดเริ่ม จึงมีคนขุดเอามาสนใจกันอีกที

ทีนี้มาถึงการเกิด erythroleukemia ในหนูสามารถถูกกระตุ้นได้โดยไวรัสที่ว่าชื่อ Friend virus สามารถเกิดได้มากขึ้นหากเราน็อคยีนต้านมะเร็งหรือน้องพีของเราออกไป ลองอ่านงานนี้

Anticancer Res. 2003 May-Jun;23(3A):2159-66. Related Articles, Links
Friend virus-induced erythroleukemias: a unique and well-defined mouse model for the development of leukemia.
Lee CR, Cervi D, Truong AH, Li YJ, Sarkar A, Ben-David Y.

จากนั้นลองมาอ่านงานนี้ สรุปคร่าวๆ, เขาเอาเซลล์มะเร็งฉีดเข้าท้องหนู ทำให้หนูเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่เซลล์มะเร็งชนิดเดียวกันนี้ ได้รับการใส่ p53 ซึ่งมีสถานะต่างกัน ตัวหนึ่งปกติ ตัวหนึ่งถูกทำให้กลายพันธุ์ จากนั้นเกิดอะไรขึ้น ลองอ่านดู

Clin Hemorheol Microcirc. 2004;30(2):117-26.
Tumorigenesis of murine erythroleukemia cell line transfected with exogenous p53 gene.
Sun D, Wang J, Yao W, Gu L, Wen Z, Shu C.

P53 : tumor protein 53 หรือชื่อทางการคือ Cellular tumor antigen p53 เป็น transcription factor ที่ควบคุม cell cycle และยังมีหน้าที่เป็น tumor suppressor ด้วย ทำให้ p53 มีความสำคัญในการยับยั้งมะเร็งของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ จึงมีการกล่าวถึง p53 ว่าเป็น "the guardian of the genome", "the guardian angel gene", หรือ "master watchman" เนื่องด้วยบทบาทในการป้องกันการผ่าเหล่าของสารพันธุกรรม

P53 มีมวลโมเลกุล 53 kilodalton (kDa) เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี SDS-PAGE แต่ในทางมวลโมเลกุลทฤษฏีนั้นจะเป็น 43.7 kilodalton ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในทางทฤษฏี กับการวิเคราะห์ด้วย SDS-PAGE เกิดจาก p53 มี กรดอะมิโน Proline ในบริมาณสูงทำให้การ migration บน SDS-PAGE เปลี่ยนไป

ยีนของมนุษย์ที่เป็นรหัสของโปรตีน p53 คือ TP53 โดยยีนนี้อยู่บนโครโมโซมที่ 17 (17p13.1)

p53 อยู่ในระห่างเส้นทางการส่งสัญญาณที่จำเป็นต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของ เซลล์และ เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดย genotoxic และ non-genotoxic stress (Melino et al., 2002; Vogelstein et al., 2000; Vousden & Lu, 2002)

ในภาวะปกติ ระดับของโปรตีน p53 อยู่ในระดับต่ำ โดยจะจับอยู่กับ binding protein เช่น MDM2, COP1, PIRH2 หรือ JNK ซึ่งจะส่งเสริมการทำลาย p53 ผ่านกระบานการ ubiquitin/proteasome และ p53 จะเพิ่มระดับยีนที่ควบคุมกระบวนนี้ ทำให้ระดับของ p53 ในเซลล์ปกติอยู่ในระดับต่ำ หลังจากเซลล์ได้รับ genotoxic และ non-genotoxic stress โปรตีน p53 จะถูกกระตุ้น กระบวนการนี้มี 2 ขั้นตอน ขั้นแรกเกิดการยับยั้งการจับกันของ p53 กับ mdm2 ทำให้ระดับของ p53 เพิ่มขึ้น และจะเกิดการ overtranslation ของ p53 RNA ด้วย ขั้นที่สอง อนุกรมของตัวควบคุม (kinase, acetylase) จะเพิ่มระดับการ transcription ของ p53

ไม่ว่า cell จะได้รับ stress แบบใด p53 ก็จะถูกกระตุ้น ส่งผลให้เกิดการยับยั้ง cell cycle และการซ่อมแซม DNA หรือ เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ แต่การบวนการเลือกว่าจะเกิดผลอะไรนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด

กระบวนการทำงานของ p53 แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน (Levine et al., Cell Death and Diffrentiation (2006) , 1-10).

  1. stress signals จะกระตุ้นการทำงานของกระบวนการ
  2. ตัวกลางกระตุ้น ตรวจจับและแปลผล upstream signals
  3. การควบคุมส่วนกลางของ p53 จะปฏิกิริยาต่อโปรตีนหลายชนิดเพื่อเพิ่มความเสรียรภาพ
  4. การเกิด downstream หลักๆ แล้วเป็นการกระตุ้น transcription และการปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนกับโปรตีน
  5. ผลลัพธ์คือการหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ การเสื่อมสลายของเซลล์ หรือการซ่อมแซม DNA

    * p53 pathway: Upstream pathway (step 1-3)
    * p53 pathways: downstream pathway (step 4-5)
    * p53 pathways: The core control of p53

th.wikipedia.org/wiki/P53



INSURANCETHAI.NET
Line+