วิธีเลือกครีมกันแดด
467

วิธีเลือกครีมกันแดด

วิธีเลือกครีมกันแดด
ในปัจจุบันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตราย ของแสงแดดแพร่หลายไปมาก สามารถหาได้จากสื่อนานาชนิด ครีมกันแดดเริ่มมาจากชนผิวขาวซึ่งมักนิยมการอาบแดดเพื่อให้มีผิวสีแทน (Tan) เพราะถือเป็นสัญลักษณ์ของสุขภาพที่ดีและฐานะทางสังคมที่ร่ำรวย แต่มีปัญหาผิวไหม้แดงและมะเร็งผิวหนัง ทำให้มีการคิดค้นครีมกันแดดเพื่อป้องกันผิวไหม้แดง แต่ยังคงความสามารถในการเกิดผิวสีแทน (Tan) ดังนั้นการวัดประสิทธิภาพของครีมกันแดดในระยะแรกก็จะเน้นที่ความสามารถในการ ป้องกันผิวไหม้แดงนั่นคือ สามารถดูดซับแสง UVB ได้ดี หรือคือค่า SPF (sun protection factor)

ค่า SPF 15 มีความหมายว่าในกรณีที่ท่านทาครีมกันแดดอย่างทั่วถึงในความหนา 2 มิลิกรัมต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งตารางซม. ท่านจะต้องใช้เวลาตากแดดเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าจึงจะทำให้ผิวไหม้แดง ตัวอย่างเช่น ในสถานะการณ์จริงถ้าอยู่กลางแสงแดดจัดเวลาเที่ยงบริเวณชายทะเลในเวลาประมาณ 15 นาทีจะทำให้ผิวหนังแดงได้ การใช้ยากันแดด SPF 15 อย่างทั่วถึงจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 15 เท่าจึงจะเกิดผิวไหม้แดง นั่นคือเท่ากับ 15x15 คือ 225 นาที หรือ 3 ชม. 45 นาที แต่เนื่องจากในการทดสอบครีมกันแดดจะทำในห้องทดลองโดยใช้หลอดไฟแทนแสงอาทิตย์ ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น, การเคลื่อนไหวของผู้ทำการทดสอบ ทำให้ค่าที่ทดสอบได้มักจะสูงกว่าการใช้จริง ดังนั้นในความเป็นจริงอาจจะเป็นเวลาประมาณครึ่งหนึ่งของเวลาที่ทดสอบคือ ประมาณเกือบ 2 ชม. เป็นต้น

สำหรับ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ แม้ครีมทากันแดด SPF >15 จะป้องกันผิวไหม้แดงได้ดีแต่ยังพบความคล้ำของผิวหนังได้เช่นเดิม เนื่องจากความคล้ำ หรือการเกิด Tanning นั้นแสงที่มีบทบาทสำคัญคือแสง UVA แต่เนื่องจาก UVA ไม่ได้มีบทบาทที่สำคัญในการทำให้เกิดผิวไหม้แดงจึงไม่ได้รับความสนใจในระยะ แรก ในปัจจุบันเริ่มมีข้อมูลว่า UVA นอกจากทำให้ผิวคล้ำแล้วยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังและทำลายเนื้อเยื่อ คอลลาเจน และอีลาสติกทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ซึ่งจะสังเกตุเห็นได้มากในบริเวณที่ถูกแสงแดดเป็นประจำหรือคนที่ทำงานกลาง แจ้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนผิวไหม้แดงซึ่ง เกิดภายใน 24 ชม. หลังได้รับแสงแดด แต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยอย่างช้าๆ และเห็นได้หลังจากการถูกแสงแดดนับสิบปี

ครีม กันแดดในปัจจุบันจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันแสง UVA เพิ่มขึ้นด้วย แต่การวัดประสิทธิภาพของการป้องกันแสง UVA ยังไม่มีมาตราฐานสากลเหมือนค่า SPF สำหรับครีมกันแดดที่มีฉลากว่ากันได้ทั้ง UVA, UVB นั้น ในต่างประเทศได้มีผู้นำมาทดสอบพบว่า ความสามารถในการป้องกัน UVA ต่างกันมาก และไม่สัมพันธ์กับค่า SPF ที่สูงขึ้น เช่น ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 45 ไม่สามารถกัน UVA ได้ดีกว่าครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 เป็นต้น ทำให้มีปัญหากับผู้บริโภคในการเลือกใช้อย่างเหมาะสม

สาร กันแดดที่มีฤทธิ์ป้องกัน UVA ได้ดีในปัจจุบันได้แก่ Oxybenzone, Parsol 1789, TiO2, ZnO, Mexoryl SX, XL เป็นต้น ซึ่งสารกันแดดในท้องตลาดที่มีประสิทธิภาพกัน UVA ได้ดีน่าจะมีสารที่กล่าวแล้วข้างต้นผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไปในความเข้มข้น 2-3%

สำหรับ คนเอเซีย เช่น คนไทยซึ่งไม่นิยมผิวคล้ำและการอาบแดด การป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดในช่วงเวลา 9.00 – 15.00 น., สวมเสื้อผ้าปกคลุมมิดชิด, แว่นกันแดด, หมวกปีกกว้าง หรือกางร่มเสมอ แต่ในกรณีที่ทำงานหรือเล่นกีฬากลางแจ้ง, เด็ก หรือการท่องเที่ยวทางน้ำมีความจำเป็นต้องใช้ยากันแดดควรเลือกดังนี้
- มีค่า SPF 30 ขึ้นไป
- มีสารกันแดดที่กัน UVA ได้ดีอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น Oxybenzone + TiQ หรือ Parsol 1789+ ZnO เป็นต้น
- กันน้ำได้ (water resistance, หรือ water proof)
- และมีการทดลองว่าไม่สลายจากแสง(photo stable)
ควรทาครีมกันแดดให้หนาเพียงพอ 15 นาทีก่อนอยู่กลางแดดและทาซ้ำทุก 1-2 ชม. ถ้าว่ายน้ำหรืออยู่กลางแดดจัดตลอดเวลา

สำหรับ การใช้ครีมกันแดดประจำวันในผู้ที่ทำงานในร่มและใช้เวลานอกอาคารหรือรถยนต์ เฉพาะช่างเช้าก่อน 9 นาฬิกาและหลัง 15 นาฬิกา อาจไม่มีความจำเป็นเนื่องจากแสง UVB, UVA สามารถผ่านกระจกรถที่ติดฟิล์มกรองแสงได้น้อยกว่า 5% และแสง UV ในช่วงเวลาเช้าตรู่และเย็นมีปริมาณน้อย

โดยสรุปการป้องกันอันตรายทั้งระยะสั้นและยาวจากแสงแดดควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กด้วย การให้ความรู้ ให้หลีกเลี่ยงการตากแดดจัด ป้องกันร่างกายอย่างมิดชิดด้วยเสื้อผ้า, แว่นตา, หมวก และร่ม เลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับกิจกรรมแต่ละประเภท แต่สิ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอก็คือการได้อยู่กลางแสงแดดจะทำให้ร่างกายและจิต ใจสดชื่นเนื่องจาก มีการหลั่งของสาร Endorphin และร่างกายยังต้องการวิตามินดีจากแสงแดดเพื่อกระดูกแข็งแรงโดยเฉพาะในวัย เด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากปริมาณวิตามินดีจากอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นควรได้รับแสงแดดอย่างสม่ำเสมอครั้งละ 15-30 นาทีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งในเวลาเช้าหรือช่วงเย็นที่มีแสงแดดอ่อนๆ



INSURANCETHAI.NET
Line+