วิธีพิจารณาเลือกวัสดุสำหรับเย็บแผลที่ส่วนต่างๆ และจะตัดไหมเมื่อใด
469

วิธีพิจารณาเลือกวัสดุสำหรับเย็บแผลที่ส่วนต่างๆ และจะตัดไหมเมื่อใด

วิธีพิจารณาเลือกวัสดุสำหรับเย็บแผลที่ส่วนต่างๆ และจะตัดไหมเมื่อใด
วัสดุเย็บแผล สามารถแบ่งตามลักษณะการละลายได้เป็น 2 ชนิด คือ วัสดุละลายได้ และวัสดุไม่ละลาย โดยวัสดุละลายได้จะใช้ในการเย็บแผลบริเวณภายในช่องปาก ลิ้น เย็บแผลในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ส่วนวัสดุไม่ละลายจะใช้ในการเย็บแผลบริเวณผิวหนังทั่วไป โดยที่บาดแผลบริเวณใบหน้า มักเลือกใช้  nylon (ไม่ละลาย) 5-0 หรือ 6-0, บาดแผลบริเวณหนังศีรษะ มักเลือกใช้ nylon 2-0 หรือ 3-0, บาดแผลบริเวณลำตัว แขนขา มักเลือกใช้ nylon 3-0 หรือ 4-0, บาดแผลบริเวณฝ่ามือ หลังมือ มักเลือกใช้ nylon 4-0 หรือ 5-0, บาดแผลบริเวณในช่องปาก มักเลือกใช้ chromic (ละลายที่ 10-20 วัน) หรือ plain catgut (ละลายที่ 5-10 วัน) 3-0 หรือ 4-0.

ระยะเวลาที่จะตัดไหม
โดยหลักการ ควรตัดออกทันทีเมื่อแผลติด เพราะถ้าตัดไหมยิ่งช้าจะยิ่งเป็นแผลเป็นมาก แต่ถ้าตัดเร็วไปแผลก็อาจแยกและไม่ติด ดังนั้นจึงควรตัดไหมเร็วที่สุดที่แผลติดแล้วนั่นเอง ซึ่งสามารถแบ่งตามอวัยวะได้ดังนี้คือ แผลบริเวณศีรษะและหน้า ควรตัดเมื่อครบ 5-7 วัน, แผลบริเวณลำตัวที่ผิวหนังไม่ตึงมาก ควรตัดเมื่อครบ 7 วัน, แผลบริเวณแขนขาหรือที่ผิวหนังตึงมาก ควรตัดเมื่อครบ 7-10 วัน หรืออาจถึง 10-14 วันในบริเวณข้อเข่า ข้อศอกที่มีการเคลื่อนไหวมาก หรือบริเวณฝ่าเท้าซึ่งแผลจะหายช้ากว่าบริเวณอื่นๆ.

ในกรณีไม่แน่ใจว่าแผลติดหรือยัง อาจทดลองตัดไหมอันเว้นอันดูก่อนก็ได้

วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ.
ศัลยแพทย์  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี



INSURANCETHAI.NET
Line+