Micro insurance ไมโครอินชัวรันซ์
47

Micro insurance ไมโครอินชัวรันซ์

Micro-insurance

ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับสถานภาพทางชีวิตความเป็น อยู่รวมทั้งสถานภาพทางการเงินเมื่อต้องประสบอุบัติเหตุหรือ ความเสี่ยงภัย เช่น ไฟไหม้ จนเป็นเหตุให้สูญเสียทรัพย์สินหรือชีวิตสมาชิกใน ครอบครัว แต่การที่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเหล่านี้ที่มีความเสี่ยงภัยจะอาศัยกลไกใน การโอนความเสี่ยงภัยของตนเองและครอบครัวไปให้ผู้รับโอนความเสี่ยงภัยหรือ บริษัทประกันภัยมักจะประสบความยุ่งยากสับสนพอสมควร โดยเฉพาะประชาชนที่ไม่สามารถอ่านเขียนจะมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอในการตี ความเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยรวมถึงแบกรับอัตราค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับ ความคุ้มครองภัยที่ตนเองมีความเสี่ยง

การที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เสนอ ให้สมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิตคิดรูปแบบของการประกันภัยสำหรับ ประชาชนที่มีรายได้น้อยกลุ่มรากหญ้าหรือที่เรียกว่า Micro-insurance ซึ่งคอลัมน์นี้ก็ได้เคยเขียนถึงเมื่อปี 2550 เพราะถือว่าเป็นนโยบายช่วย เหลือสังคมผู้มีรายได้น้อยให้สามารถมีหลักประกันในความเสี่ยงภัยของชีวิตและ ทรัพย์สินโดยอาศัยกลไกของธุรกิจประกันภัยมารับโอนความเสี่ยงภัยของผู้มีราย ได้น้อยซึ่งรูปแบบของการประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในหลายประเทศที่มี ผู้ยากจนหรือมีรายได้น้อยจำนวนมาก เช่น ประเทศอินเดียที่ได้มีการพัฒนาระบบการประกันภัยให้สามารถช่วยเหลือผู้ยากจน หรือมีรายได้น้อยมากกว่า 30 ล้านคนที่ได้มีการเอาประกันภัยในรูปแบบต่างๆ มากกว่า 130 ประเภทของกรมธรรม์ประกันภัย

การที่ธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยในประเทศไทยจะสามารถพัฒนารูปแบบ ของการประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยจะมีหลักเกณฑ์เพียงค่า เบี้ยประกันภัยถูกเพียงอย่างเดียวคงจะไม่สามารถทำให้การประกันภัยสำหรับราก หญ้ามีความยั่งยืนและอาจจะล้มเหลวเหมือนเช่นการประกันภัยเอื้อ อาทรในอดีต ดังนั้น การกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองหรือรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัยแต่ละประเภทจะ ต้องคำนึงถึงเรื่องของพื้นฐานการศึกษาของกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะประเด็นที่ เกี่ยวพันที่จะไม่ขัดกับหลักกฎหมายพื้นฐานว่าด้วยการประกันภัย เช่น หลักการส่วนได้เสีย หรือหลักการเปิดเผย ข้อความจริงที่เป็นสาระสำคัญ หลักการเฉลี่ยความเสียหาย และที่สำคัญคือการไม่ซ้ำซ้อนกับความคุ้มครองที่ประชาชนได้รับผ่านระบบ สวัสดิการของรัฐ เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค หรือการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ประสบภัยจากรถ หรือการประกันสังคม เป็นต้น

นอกจากนี้ รูปแบบของภาษาที่ใช้ในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรากหญ้าจะต้องเข้าใจได้ง่าย แต่ในเวลาเดียวกันก็คงจะต้องรัดกุมเหมาะสมกับหลักการพิจารณารับประกันภัย มีต้นทุนในการพิจารณารับประกันภัยและสิ่งสำคัญ คือต้นทุนในการให้บริการขั้นพื้นฐานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีขั้นตอน ในการจ่ายเงินชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมโดยไม่ชักช้าเนื่องจาก ผู้เอาประกันภัยโดยรวมจะเป็นผู้มีรายได้น้อยจึงจำเป็นจะต้องได้รับการชดเชย อย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้ให้บริการรับประกันภัยหรือบริษัทรับประกันภัยจะต้องลดขั้นตอนในการ เรียกร้องค่าชดเชยและลดขั้นตอนในการพิจารณาจ่ายชดเชย ค่า สินไหมทดแทนเช่นกัน

ในเวลาเดียวกันจะต้องมีการสนับสนุนของภาครัฐใน การ รณรงค์เพื่อให้มีจำนวนของผู้เอาประกันภัยที่มีมากเพียงพอคุ้มกับต้นทุนของ การดำเนินการเพราะบริษัทรับประกันภัยเองจะต้องคำนึงถึงปัจจัยประกอบอื่น นอกจากต้นทุน เช่น สัญญาการประกันภัยต่อ (Reinsurance Treaty) โดยเฉพาะกรณีเกิดมหันตภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายจำนวนมากเช่น กรณี สึนามิหรือการเกิดแผ่นดินไหว พายุ รวมถึงการร่วมมือพัฒนาศูนย์กลางระบบ ข้อมูลกลางของผู้เอาประกันภัยรากหญ้ากับหน่วยงานของรัฐเพื่อที่บริษัทประกัน ภัยในประเทศที่ให้บริการการประกันภัยแบบรากหญ้าสามารถ ลดต้นทุน การขยายตลาดสำหรับการประกันภัยแบบรากหญ้านี้จะต้องหลีกเลี่ยงช่องทางการ จำหน่ายแบบบังคับผ่านระบบอิทธิพลท้องถิ่น ระบบการเมือง

มิฉะนั้นอาจจะนำไปสู่ปัญหาของการทุจริตหรือความเสี่ยงของภัยทางจิตใจ (Moral Hazards) นอกจากนี้ช่องทางการพัฒนาควรจะเปิดโอกาสให้บรรดาองค์กรการกุศลหรือองค์กร เอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้มีการ ประกันภัยโดยองค์กรการกุศลเหล่านี้เป็นผู้ที่ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแต่มิใช่ ผู้มีส่วนได้เสียในผลประโยชน์ของกรมธรรม์ประกันภัยและสิ่งสำคัญต้องไม่เป็น ช่องทางในการหาเสียงของนักการเมืองที่อาศัยช่องทางจากการประกันภัยรากหญ้า
   
ที่มา : สยามธุรกิจ



INSURANCETHAI.NET
Line+