โบรกเกอร์ชงคปภ.ออกใบเสร็จชั่วคราว
49
โบรกเกอร์ชงคปภ.ออกใบเสร็จชั่วคราว
โบรกเกอร์ชงคปภ.ออกใบเสร็จชั่วคราว
โบรกเกอร์ดัดหลังบริษัทประกันชงคปภ.ไฟเขียวออกใบเสร็จรับเงินชั่วคราวเป็น หลักฐาน ลูกค้าจ่ายเบี้ยประกันตามกฎจ่ายเบี้ยก่อนคุ้มครอง CBC ชี้ปีที่ผ่านมาทำงาน สะดุดเพราะลูกค้าไม่กล้าจ่ายค่าเบี้ยให้ นายหน้าถ้าไม่มีใบเสร็จรับเงิน ขณะที่นายหน้าออกใบเสร็จให้ไม่ได้เหตุกฎหมายระบุใบเสร็จรับเงินต้องออกโดย บริษัทประกันเท่านั้น ขณะที่บริษัทประกันเล่นแง่ถ้าไม่เห็นไม่ยอมออกใบเสร็จ ให้คาดคปภ.เห็นชอบก่อนสงกรานต์นี้
นายเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย (โบรก เกอร์) เปิดเผยถึงภาพรวม 1 ปีหลังใช้กฎจ่ายเบี้ยประกันภัยก่อนคุ้มครอง (Cash before Cover : CBC) สำหรับกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทว่า ยังมีจุดที่ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ในส่วนของหลักฐานการรับเงินเมื่อลูกค้าชำระ เบี้ยประกันภัยให้กับนายหน้าโดยหลักฐานที่ลูกค้าต้อง การคือ ใบเสร็จรับเงินเพราะภายใต้กติกา ข้อนี้กำหนดว่ากรมธรรม์จะมีผลบังคับทันทีที่บริษัทประกันภัยรับชำระเบี้ยจาก ผู้เอาประกันภัย ดังนั้นผู้เอาประกันภัยจึงต้องชำระเบี้ยก่อนการเริ่มต้นคุ้มครอง
“ในเวลาผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยให้กับนายหน้า สิ่งที่แสดงเป็นหลักฐานการ รับเงินที่ลูกค้าต้องการคือ ใบเสร็จรับเงิน แต่นายหน้าไม่มีใบเสร็จรับเงินที่ออกให้ได้ ในตอนนั้น เนื่องจากกฎหมายระบุว่า ใบเสร็จรับเงินต้องออกโดยบริษัทประกันภัยเท่านั้น ลูกค้าก็จะไม่กล้าชำระเบี้ยหากยังไม่มีใบเสร็จที่เป็นหลักฐานให้ ฉะนั้นเมื่อนายหน้าขอใบเสร็จรับเงินจากบริษัทประกัน ภัยเพื่อนำไปยื่นให้แก่ลูกค้าผู้เอาประกัน แต่บริษัทก็จะไม่ออกใบเสร็จให้จนกว่าจะได้เห็นเงินก้อนจากลูกค้า จึงทำให้การทำงานติดขัด”
อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่สมาคมฯยื่นข้อเสนอไปที่ คปภ. คือ การ ออกใบเสร็จชั่วคราวเพราะหากมองย้อนกลับไปที่ใจความสำคัญของกฎหมายที่ร่าง ขึ้นมาฉบับนี้เพื่อต้องการคุ้มครองที่ตัวผู้บริโภคให้ได้รับความมั่นใจใน ทันทีที่จ่ายเงิน โดยหลักฐานที่จะแสดงความมั่น ใจดังกล่าวหมายถึงใบเสร็จรับเงิน ดังนั้นน่าจะสามารถทำเอกสารอื่นเพิ่มเพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นว่าเมื่อผู้เอาประกันชำระเบี้ย ประกันแล้วจะได้รับความคุ้มครองทันที
ดังนั้นจึงมีข้อเสนอให้ออกใบเสร็จรับเงินชั่วคราวก่อน โดยใช้คำจำกัดความ ว่า หลักฐานการรับประกัน ซึ่งหลังจากที่ได้เข้าเจรจาถึงปัญหาติดขัดในการทำงาน ของนายหน้าเรื่องกฎ CBC กับทางสมาคม วินาศภัยและนักกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) แล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาแก้ไขปัญหานี้ คาดว่า คปภ. น่าจะให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้ก่อนสงกรานต์นี้
ส่วนกรณีลูกค้านิติบุคคลต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยภายใน 15 วัน นายเรือง วิทย์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาเป็นเรื่องดีสำหรับ ระบบประกันภัยที่ลูกค้าชำระเงินเร็วขึ้น แต่สิ่งที่ต้องการให้เร่งดำเนินการคือ การสร้างความเข้าใจไปยังกลุ่มผู้บริโภคด้วย โดยเฉพาะลูกค้านิติบุคคล เรื่องการวางรอบบิลตามกฎของบริษัท หากคปภ. มีกฎชัดเจนเรื่องระยะเวลาในการวางรอบบิลกับตัวนายหน้าที่จำกัดภายใน 15 วันจึงควรเร่งทำความเข้าให้ทางนิติบุคคลที่ยังไม่ปรับตัวต้องเปลี่ยนแปลงตาม ข้อจำกัดในระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน
นายเรืองวิทย์กล่าวถึงการปรับตัวของนายหน้าในเรื่องกฎหมายภาษีอากรว่า จุดที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่คือ เรื่องการแสดง หน้างบการเงิน หลังจากที่มีการเปลี่ยนหน้างบการเงินให้ได้มาตรฐานสากลต้องมีการปรับปรุงและ แสดงหน้างบให้ละเอียดมากขึ้น งานหนักอยู่ที่การจัดการด้านเอกสาร และอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่มองว่าไม่เป็นปัญหาเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ ควรจะต้องมีอยู่ในการดำเนินธุรกิจ
“หากมองย้อนไป ปกตินายหน้าจะได้ค่าคอมมิสชั่นจากบริษัทประกันภัยด้วย อัตราส่วนเท่าไรนั้น เป็นการตกลงกันเองระหว่างนายหน้าและบริษัท ไม่มีบันทึกหรือ ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่มีกฎหมายชัดเจนที่จะกำหนดอัตราค่าคอมมิสชั่นที่นายหน้าควรได้รับ การทำสัญญาอัตราค่าคอมมิสชั่นของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งจึงเป็นในรูปแบบ ของธรรมเนียม ปฏิบัติมากกว่า แต่ในอนาคตบริษัทประกัน ภัยจะต้องจดทะเบียนเป็นมหาชน ดังนั้น การทำธุรกรรมต่างๆ ต้องมีลายลักษณ์อักษรชัดเจน ในส่วนของหน้างบการเงินจึงต้องมีรายละเอียดที่เป็นเหมือนกฎข้อบังคับจึงจำ เป็นต้องรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ของระเบียบที่กำลังจะเปลี่ยนไป”
สำหรับภาพรวมของการดำเนินธุรกิจในปี 2554 ยอมรับว่ากฎระเบียบใหม่ เกณฑ์ดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC) ที่คปภ.จะเริ่มใช้เป็นเรื่องดีเนื่องจากทำให้การดำเนินธุรกิจมีความชัดเจน โปร่งใสมากขึ้นและหากมองในแง่การเติบโตทางธุรกิจประกันภัย กฎระเบียบใหม่จะเป็นทาง ออกที่ทำให้อนาคตธุรกิจประกันภัยเติบโต ขึ้นได้เพราะบางคนใช้ประโยชน์ที่ผู้บริโภค มีความรู้น้อยเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคแล้วฝ่ายตรวจสอบบางครั้งก็ตรวจจับยาก
ที่มา : สยามธุรกิจ
INSURANCETHAI.NET