ใช้เครื่องเป่าผม เสี่ยงเป็นมะเร็ง เหตุมีแร่ใยหิน
492

ใช้เครื่องเป่าผม เสี่ยงเป็นมะเร็ง เหตุมีแร่ใยหิน

ใช้เครื่องเป่าผม เสี่ยงเป็นมะเร็ง เหตุมีแร่ใยหิน

สาวๆช็อค เครื่องเป่าผม เครื่องอบผม แป้งฝุ่น เครื่องปิ้งขนมปัง เสี่ยงมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เหตุมีแร่ใยหิน ประมาณการณ์คนไทยจะป่วยปีละกว่า 1 พันราย จี้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกชนิดในไทย

ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือ พิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(คจ.สช.) ร่วมกับชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเสวนา เรื่อง “แร่ใยหิน มหันตภัยเงียบที่กำลังจะคร่าชีวิตคนไทย”

โดย ดร.นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคจากกการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แร่ใยหินเป็นแร่อนินทรีย์มีในธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเส้นใย แข็งแรงยืดหยุ่น และทดความร้อนได้ดี จึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ประเทศไทยมีการนำเข้าแร่ใยหินขาวหรือไครโซไทล์เฉลี่ย 1.5 แสนตันต่อปี มากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดียและอินโดนีเซีย 90 %ใช้ในงานก่อสร้าง มุงหลังคา ท่อซีเมนต์ 8 % ผ้าเบรก ผ้าครัช และ 2 % วัสดุกันไฟ กันความร้อนต่างๆ เมื่อพิจารณาปริมาณการใช้เทียบกับจำนวนประชากรพบว่ามีการใช้สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากรัสเซีย ขณะที่ประเทศในสหภาพยุโรปและภูมิภาคต่างๆทั่วโลกมีการห้ามใช้แร่ใยหินแล้ว ถึง 50 ประเทศ เช่น กรีก ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์

ดร.นพ.สม เกียรติ กล่าวอีกว่า การที่แร่ใยหินเป็นเส้นใยเล็กมาก สามารถเข้าไปอยู่ในปอดได้และมีอำนาจทะลุทะลวงสูง ทะลุถึงเยื่อหุ้มปอดได้ หากสะสมเรื่อยๆก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และทำให้เกิดโรคไม่ต่ำกว่า 5 ชนิด คือ โรคปอดอักเสบจากแร่ใยหิน น้ำในเยื้อหุ้มปอด เนื้องอกในเยื้อหุ้มปอด มะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ซึ่งมะเร็งชนิดนี้เมื่อเป็นแล้วใช้เวลา 7-8 เดือนก็ตายและยังรักษาไม่ได้ โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหินรายแรกเมื่อปี 2550 ที่สถาบันโรคทรวงอก โดยผู้ป่วยมีประวัติทำงานอยู่ในโรงงานผลิตกระเบื้องนานถึง 24 ปี

“แม้ การใช้แร่ใยหินส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง แต่จากการทบทวนข้อมูลทางวิชาการในต่างประเทศ ยังพบว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉนวนความร้อน เช่น เครื่องเป่าผม เครื่องปิ้งขนมปัง และอุปกรณ์ต่างๆที่มีฉนวนกันความร้อน และใช้แร่ใยหินเป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งอาจมีฝุ่นควันหลุดปลิวออกมาและเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ในส่วนของประเทศไทย กรมควบคุมโรคได้ทำการวิจัยผลกระทบต่อผู้บริโภคในปี 2552 โดยนำแป้งมาตรวจสอบพบว่ามีแร่ใยหิน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสารทดแทนแร่ใยหิน จึงอยากให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องใช้สารชนิดนี้แทนแร่ใยหิน”ดร.นพ.สม เกียรติกล่าว

นางมาลี พงษ์โสภณ นักวิชาการชำนาญการพิเศษ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า จากการที่สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ทำการศึกษาการปนเปื้อนของแร่ใยหินในแป้งฝุ่น ปี 2552 ด้วยการเก็บตัวอย่างแป้งฝุ่นและแป้งพัฟฟ์ 79 ตัวอย่าง พบว่า มีการปนเปื้อนแร่ใยหิน 2 ตัวอย่างและเป็นยี่ห้อที่มีการโฆษณาทางทีวียี่ห้อหนึ่งได้ เนื่องจากเก็บมาตรวจสอบเพียงยี่ห้อละ 1 ตัวอย่างเท่านั้น และผู้ใช้มีโอกาสสูดเข้าสู่ลมหายใจแน่นอนเพราะใช้กับผิวเนื้อตัวและผิวหน้า และจากการตรวจสอบพบว่าไม่ได้ใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบในการผลิตแต่ปนเปื้อนมา กับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคือ ควอนทัม จึงจำเป็นที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)จะต้องพิจารณาความปลอดภัยของ แร่ใยหินที่มีปนเปื้อนในเครื่องสำอางด้วย ไม่ใช่มุ่งแต่สารปรอทหรือไฮโดรควิโนนเท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่ ใช้เครื่องสำอาง

สำหรับในปี 2553 จะดำเนินการตรวจสอบเครี่องเป่าผม โดยเฉพาะตลาดระดับล่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะทะลักนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งผลิตแร่ใยหินเป็นอันดับต้นๆของโลก จึงมั่นใจว่าเครื่องเป่าผมที่จำหน่ายในประเทศไทยน่าจะมีแร่ใยหินแน่นอน และจะวิเคราะห์ต่อไปด้วยว่าเป็นแร่ใยหินชนิดไหน เป็นชนิดที่ประเทศไทยห้ามใช้แล้วตั้งแต่ปี 2538 และ 2545หรือไม่ เพราะประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ได้เพียงชนิดเดียวคือชนิดแร่ใยหินขาว นอกจากนี้ จะเก็บตัวอย่างเครื่องเป่าผมและเครื่องอบผมจากร้านเสริมสวยมาตรวจสอบด้วย ว่ามีแร่ใยหินฟุ้งกระจายออกมามากน้อยแค่ไหน เพราะในประเทศสหรัฐอเมริกามีงานวิจัยในปี 2524 พบว่า ฉนวนกันความร้อนที่มีแร่ใยหินจะฟุ้งกระจายถึง 11 เท่า

ด้าน ผศ.ดร.พญ.พิชญา พรรคทองสุข ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า โรคที่เกิดจากแร่ใยหินอาจใช้เวลานานถึง 15 -30 ปีถึงจะแสดงอาการหรือตรวจพบโรค ซึ่งองค์การอนามัยโลกมีการประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยที่เป็นโรคมะเร็งปอดจาก แร่ใยหิน และแสดงอาการป่วยมากถึงปีละประมาณ 1,295 คน และการใช้แร่ใยหินไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังมีในส่วนอื่นที่ใกล้ชิดประชาชนด้วย

ดังนั้น ควรยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกชนิดในประเทศภายในปี 2555 และเรียกร้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศให้แร่ใยหินเป็นวัตถุอันตรายชนิด ที่ 4 ซึ่งห้ามนำเข้า ห้ามใช้ และห้ามครอบครองโดยเด็ดขาด จากที่ปัจจุบันกำหนดให้แร่ใยหิน เป็นวัตถุมีพิษประเภท 3 จะนำเข้า ครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตเท่านั้น

“คนงานที่รื้อถอนอาคารเก่า คนงานก่อสร้าง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจจะมีแร่ใยหินที่เป็นส่วนประกอบของกระเบื้อง ท่อนํ้า ฟุ้งกระจายออกมาในอากาศในขณะที่ทำการรื้อถอน หรือเลื่อย ตัด หากสูดดมเข้าไปก็อาจทำให้ไปสะสมอยู่ที่ปอดทำให้เป็นมะเร็งหรือโรคอื่นๆ ได้ แต่ปัญหาก็คือ แรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ หรือแรงงานต่างชาติซึ่งมีอยู่มากกว่า 300,000 คน มักจะมีการย้ายแหล่งงาน บ่อยๆ ทำให้ไม่สามารถศึกษาผลกระทบโรคปอดจากการทำงานได้ ส่วนแรงงานในโรงงานก็ควรจะมีการเอ็กซ์เรย์ปอดทุกๆ ปี” ผศ.ดร.พญ.พิชญากล่าว

น.ส.สา รี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ได้มีการออกฉลากแร่ใยหิน ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 โดยมีใจความว่า ระวังอันตรายผลิตภัณฑ์นี้มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบการได้รับเข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดมะเร็งและโรคปอด อย่างไรก็ตาม ควรมีมาตรการยกเลิกภาษีวัตถุดิบที่จะมาทดแทนแร่ใยหิน เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วย และอยากให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกมาแสดงท่าทีต่อการหยุดการนำเข้าแร่ใยหินให้ มีความชัดเจน เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลชัดเจนว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ขณะ ที่ นพ.สุรพจน์ สุวรรณพานิช รองประธาน คจ.สช. ครั้งที่ 3 กล่าวว่า แร่ใยหินเป็น 1 ใน 9 เรื่องที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 15-17 ธ.ค.นี้ ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนสังคมไทยไร้แร่ใยหิน เพราะกระทบต่อสุขภาวะจึงควรหลีกเลี่ยงและระวังในการใช้ หากสมัชชาฯมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไรจะเสนอให้รัฐบาลออกเป็นนโยบายเกี่ยว กับแร่ใยหินต่อไป

ที่มา ไทยรัฐ



INSURANCETHAI.NET
Line+