ครีมกันแดด 85%ได้ผลไม่เท่าที่อวดอ้าง
540

ครีมกันแดด 85%ได้ผลไม่เท่าที่อวดอ้าง

ครีมกันแดด 85%ได้ผลไม่เท่าที่อวดอ้าง

ระบุเป็นเพราะเFDA ยังขาดมาตรฐานในการทดสอบผลิตภัณฑ์ชนิดนี้อยู่

สำนัก ข่าวเอบีซีนิวส์รายงานว่ามีทีมนักวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาทีมหนึ่งได้ทำ การทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีร้ายจากแสงแดดของครีมกันแดดที่มี จำหน่ายกันอยู่ทั่วไปในท้องตลาดและพบว่ามีผลิตภัณฑ์จำนวนมากถึง 85% ที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพตามสรรพคุณที่ระบุไว้ในสลาก

นอกจากจะพบว่าครีมกันแดดส่วนใหญ่ไม่ได้มีคุณภาพมากมายอย่างที่โอ้อวดกันแล้วนัก วิจัยจากองค์ไม่แสวงกำไร เอ็นไวรอนเมนทอล เวิร์คกิ้ง กรุ๊ป ยังพบด้วยว่าในจำนวน 85% ที่ทำการศึกษาพบนี้บางส่วนยังมีส่วนประกอบที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้อีก ด้วย

ทั้ง นี้สิ่งที่เลวร้ายไปกว่าผลทดสอบที่ออกมานี้คือข้อเท็จจริงที่ว่าสำนักงาน อาหารและยาสหรัฐฯ หรือเอฟดีเอยังไม่ได้มีมาตรฐานในการทดสอบประสิทธิภาพของครีมกันแดดและการควบ คุมสลากของผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้เลย

โดย อาศัยข้อมูลจากผลการทดสอบประสิทธิภาพในการกันแดดทีมนักวิจัยทีมนี้ได้ออกราย ชื่อยี่ห้อและรุ่นของครีมกันแดดจำนวนทั้งสิ้น 142 รายการ ที่ระบุว่าเป็นครีมกันแดดที่แนะนำให้ใช้ได้ ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วก็มีการรายงานผลการวิจัยในลักษณะเดียวกันนี้ออกมา พร้อมกับลิสต์รายชื่อครีมกันแดดที่แนะนำ แต่ปัญหาคือรายชื่อที่ได้รับการรับประกันคุณภาพจากนักวิจัยกลับเป็นครีมกัน แดดชนิดที่หาชื้อได้กันแต่เฉพาะในอินเทอร์เน็ต และมีราคาค่อนข้างสูง

แต่ สำหรับผลการวิจัยล่าสุดนี้รายชื่อผลิตภัณฑ์กันแดดได้รับการแนะนำให้ผู้ บริโภคใช้มียี่ห้อที่ซื้อได้โดยทั่วไปรวมอยู่ใน 10 อันดับแรกด้วย คำเตือนจากทีมนักวิจัยคือมีเพียงผลิตภัณฑ์ 1 รายการจากทั้งหมด 144 อันเท่านั้นที่เป็นสิ้นค้าของบริษัทผู้ผลิตครีมกัดแดดรายหลัก ๆ 3 ราย

การทดสอบนั้นทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์กันแดดมี ยี่ห้อจำนวนทั้งสิ้น 950 รายชื่อ ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์และอ้างอิงจากผลการวิจัยก่อนหน้าทั้งสิ้น 400 การวิจัยด้วยกัน อีกทั้งยังได้ทำการอ้างอิงกับข้อมูลทางสถิติแห่งชาติจำนวนทั้งสิ้น 60 ฐานข้อมูลด้านสารเคมีที่อาจก่อพิษ

การวัดระดับประสิทธิภาพของครีมกันแดดที่ทำการทดสอบนั้นนักวิจัยได้อ้างอิงกับ 3 ปัจจัยด้วยกัน อันได้แก่
1. การป้องกันรังสียูวีบี (UVB) ที่ระบุไว้เป็นค่าSP
2. การป้องกันรังสียูวีเอ (UVA)ซึ่งเป็นตัวการร้ายก่อโรคมะเร็งผิวหนัง
3. ประสิทธิภาพในการคงอยู่ของส่วนประกอบหลังใช้

ด้าน นพ.เซท ออร์โลว์ หัวหน้าภาควิชาตรรจศาสตร์ ของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่
สาธารณชนโดยทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์จากกลิสต์รายชื่อที่ออกมาโดยการ วิจัยนี้ในการเลือกซื้อครีมกันแดด

ใน ขณะที่แพทย์ท่านอื่น ๆ อีกหลายคนกล่าวว่า ผู้บริโภคไม่ควรหยุดใช้ครีมกันแดดไปเลยเพียงเพราะการวิจัยนี้บอกว่า ผลิตภัณฑ์จำนวนมากถึง 85 % ไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนที่คุยบ่งไว้ในสลาก แต่ควรจะใส่ใจกับการเลือกซื้อแต่ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพดีโดยให้การยึด ถือเอาผลการทดสอบของการวิจัยนี้เป็นหลักก็ได้

ที่มา : สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.



INSURANCETHAI.NET
Line+