คอมพิวเตอร์กับสายตา
541
คอมพิวเตอร์กับสายตา
คอมพิวเตอร์กับสายตา
อาการหลังการใช้คอมพิวเตอร์ เช่น เหนื่อยล้า เมื่อยตา แสบตา ตาพร่า ปวดตา ปวดขมับ ตลอดจนปวดร้าวไปไหล่และคอ
ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้ คุณกำลังมีอาการ computer vision syndrome (CVS)
Computer vision syndrome (CVS) คือ กลุ่มอาการที่เกิดการใช้สายตาทำงานคอมพิวเตอร์มากเกินไปโดยไม่มีการหยุดพัก ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ตาแห้ง ปวดตา ปวดหัว ปวดต้นคอ และโฟกัสภาพไม่ชัด ปัจจัยที่ทำให้เกิด CVS ได้แก่
1. จอคอมพิวเตอร์
• ถ้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นรุ่นเก่าแบบ cathode ray tube (CRT) จะมีการกระพริบของภาพซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเมื่อยล้าตา ควรหันมาใช้ flat-panel liquid crystal display (LCD) จะดีกว่า
• จอรับภาพคอมพิวเตอร์ที่สว่างเกินไปทำให้เกิดอาการล้าของสายตาได้
• การกระพริบของจอรับภาพคอมพิวเตอร์ (refresh rate) ต่ำ ทำให้สายตาทำงานหนัก อย่างน้อยควรมีการกระพริบของจอรับภาพคอมพิวเตอร์มากกว่า 75 HZขึ้นไป
• ความละเอียดของภาพ (resolution) ยิ่งมีความละเอียดของภาพสูงยิ่งทำให้สบายตามาก
• ความเข้มของตัวอักษร (contrast) ควรใช้ตัวอักษรสีดำบนพื้นขาว และใช้ตัวอักษรที่มีขนาดเหมาะสมใหญ่ 3 เท่าของตัวอักษรตัวเล็กที่สุดที่เราเห็นได้
• การแหงนมองจอคอมพิวเตอร์ (viewing angle) ควรจัดให้จอรับภาพอยู่ระดับ 10-20 องศาจากระดับสายตา
• ระยะห่างระหว่างตากับจอรับภาพที่เหมาะสม คือ 20-24 นิ้ว
2. สภาพแวดล้อมที่ทำงาน
• ความสว่างที่เหมาะสมกับห้องทำงานคอมพิวเตอร์จะเท่ากับครึ่งหนี่งของความ สว่างในที่ทำงานปกติ
• ควรจัดให้ทิศโคมไฟอยู่ในมุมที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้แสงสว่างจากโคมไฟสะท้อน เข้าตาหรือเข้าหาจอคอมพิวเตอร์
3. การใช้สายตา
• ขณะใช้คอมพิวเตอร์ ร่างกายเราต้องมีการปรับโฟกัสภาพในระยะต่างๆ ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก เกิดการตึงของกล้ามเนื้อตา (ciliary muscle) นอกจากนั้นใช้คอมพิวเตอร์ทำให้อัตราการกระพริบตาน้อยลงประมาณ 5-6 ครั้งต่อนาทีทำให้เกิดภาวะตาแห้ง (อัตรากระพริบในคนปกติประมาณ16-20 ครั้งต่อนาที)
4. ภาวะสุขภาพตาที่ผิดปกติอยู่เดิม - สายตาสั้น, สายตายาว, สายตาเอียง, สายตายาวยืดมีอายุ, หรือตาเข ยิ่งทำให้อาการ CVS เป็นรุนแรงมากขึ้น
วิธีการป้องกันการเกิด computer vision syndrome
1. ตรวจสุขภาพตาเป็นระยะเพื่อรักษาภาวะที่ผิดปกติเดิม
2. ปรับคอมพิวเตอร์และความสว่างในที่ทำงานให้เหมาะสม ลดการเกิดแสงสะท้อนเข้าตา
3. กระพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดภาวะตาแห้ง
4. พักสายตาเป็นระยะโดยใช้ กฏ 20-20-20 คือพักสายตา หลังจากใช้คอมพิวเตอร์นานติดต่อกัน 20 นาที โดยมองออกไปไกลมากกว่า 20 ฟุต นานอย่างน้อย 20 วินาทีเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา หรืออีกวิธีหนึ่งการหลับตาพักสายตานาน 20 วินาทีหลังการใช้คอมพิวเตอร์นาน ครึ่งชั่วโมง
5. ใส่แว่นสายตาที่เหมาะสม
6. Anti-reflective coating (AR) บนเลนส์จะลดปริมาณแสงจ้าและแสงสะท้อนจากเลนส์เข้าสู่ตา
7. Light tinted lens จะลดความสว่างของแสงที่จ้าเกินไป ทำให้สบายตา
8. จัดท่าทางการนั่งทำงานที่เหมาะสม หลังตรง ไม่โค้งงอ 7 เปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ โดยอาจลุกขึ้นยืน ขยับแขนขา หลัง หมุนข้อไหล่ และคอเป็นพักๆ เพื่อยืดกล้ามเนื้อ
บทความโดย: พ.ญ.พิรุณรัตน์ เจียรักสุวรรณ
INSURANCETHAI.NET