เบต้าแคโรทีน ( β-carotene)
555

เบต้าแคโรทีน ( β-carotene)

เบต้าแคโรทีน ( β-carotene)
เป็นสารตั้งต้นของ วิตามินเอ(โป รวิตามินเอ) มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทั้งนี้ โดยปกติร่างกายของมนุษย์เราสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ตาม ปริมาณที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนตี้ออกซิเดนท์) ด้วย
สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล(iu) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของเบต้าแคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้

ประโยชน์ของเบต้าแคโรทีน
1.    ดูแลรักษาผิวพรรณอันเป็นส่วนของร่างกายที่ดีที่สุดที่จะทำให้ทราบว่าอนุมูลอิสระมีผลต่อเราแล้วหรือยัง เช่น ผิวเริ่มเหี่ยวย่น ไม่ผ่องใส
2.    ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง อนุมูลอิสระมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งเนื้อร้าย การลดปริมาณอนุมูลอิสระเท่ากับลดความเสี่ยงของมะเร็ง ทั้งยังพบว่าเบต้าแคโรทีนให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายที่ชื่อ ที-เฮลเปอร์ให้ทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง
3.    บำรุงสุขภาพของดวงตา เบต้าแคโรทีนเมื่อโดนย่อยสลายที่ตับแล้วจะได้วิตามินเอ ซึ่งร่างกายนำไปใช้สร้างสารโรดอปซินในดวงตาส่วนเรตินา ทำให้ตามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกด้วย
4.    ชะลอความแก่ เบต้าแคโรทีนให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่
เบต้าแคโรทีนมีในพืชสีเหลืองและสีส้ม และ ผักที่มีสีเขียว เช่น
• แครอต
• ฟักทอง
• หน่อไม้ฝรั่ง
• ข้าวโพดอ่อน
• แตงโม
• แคนตาลูป
• มะละกอสุก
• บร็อกโคลี่
• มะระ
• ผักบุ้ง
• ต้นหอม
• ผักคะน้า
• ผักตำลึง

เหตุที่อาหารบางชนิดมีสีเขียว เป็นเพราะสีของเบต้าแคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบัง

ผลข้างเคียง
เบต้าแคโรทีนนับเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญสำหรับสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีรายงานของการขาดเบต้าแคโรทีนเลย แม้ว่าการวิจัยจำนวนมากจะระบุว่า การเสริมด้วยเบต้าแคโรทีนใช้ในคนที่มีอาการขาดวิตามินเอ แต่ก็ยังคงไม่มีข้อมูลแน่ชัดที่แสดงถึงอาการขาดเบต้าแคโรทีน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักโภชนาการแนะนำว่าเราควรรับประทานเบต้าแคโรทีนเข้า สู่ร่างกายโดยการบริโภคผักสดและผลไม้สด

ผลข้างเคียงที่อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายจากเบตาแคโรทีน ขณะนี้ยังไม่พบ แม้จากการวิจัยพบว่าวิตามินเออาจเป็นพิษได้ถ้ารับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 25,000 หน่วยสากล (IU) ต่อวัน แต่ไม่พบว่าเบต้าแคโรทีนมีความเป็นพิษ เมื่อรับประทานในปริมาณสูง ส่วนการมีปฏิกิริยากับสารอื่นไม่พบรายงานว่ามีปฏิกิริยาของเบต้าแคโรทีนกับ ยาสมุนไพร รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใดๆ

บทบาทและหน้าที่ของเบต้าคาโรทีน
1. เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (provitamin A carotenoid) กล่าวคือ สามารถเปลี่ยนเป็น วิตามินเอหลังจากถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ โดยเบต้าคาโรทีน 12 ไมโครกรัมจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ 1 ไมโครกรัม
2. ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยสามารถหยุดฤทธิ์ของออกซิเจนที่เป็นอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้การทดสอบในหลอดทดลองพบว่า คาโรทีนอยด์สามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid peroxidation) ได้ ส่วนการศึกษาทางด้านระบาดวิทยาพบว่า การรับประทานอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ที่มีคาโรทีนอยด์สูง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งมะเร็งบางชนิดได้
3. คาโรทีนอยด์กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน connexin ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เกิดรูหรือช่องว่างในผนังเซลล์ ทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์โดยการแลกเปลี่ยนสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ระหว่างกันได้ โดยการสื่อสารระหว่างเซลล์นี้มีความสำคัญในขั้นตอนการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งคุณสมบัตินี้จะสูญเสียไปในเซลล์มะเร็ง



INSURANCETHAI.NET
Line+