สารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant
563

สารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant

สารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant

อนุมูลอิสระ (Free Radicle) คือ โมเลกุลที่มีธาตุที่ไม่มั่นคงเนื่องจากขาด อิเลกตรอน ไป 1ตัว
ปกติแร่ธาตุทั้งหลายในร่างกายของเราจะมีอีเลกตรอนอยู่วงรอบเป็นจำนวนคู่ ซึ่งทำให้โมเลกุลนั้นคงตัว

กรณีที่มีการสูญเสีย อิเลกตรอน หรือรับอิเลกตรอน มาอีกเพียง 1 ตัวจะทำให้โมเลกุลนั้นไม่มั่นคง กลายเป็นตัวอันตรายและตัวเจ้าปัญหาคือพอเจอใครเขาดีๆก็แย่ง อิเลกตรอน มาจากเขาแทน 1 ตัว ผู้ถูกแย่งก็กลายเป็นตัวเจ้าปัญหาแทนเพราะตนไม่มั่นคง ต้องไปแย่งคนอื่นมาเป็นทอดๆ ยกเวันตัวที่ไม่มั่นคง 2 ตัวมาเจอกันก็จะรวมกันกลายเป็นมั่นคงก็หมดเรื่องไป

ตัวอย่างของ อนุมูลอิสระ ได้แก่
        O2- Superoxide anion อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์
        OH- Hydroxyl radicle อนุมูลไฮดรอกซิล
        ROO Peroxy radicle อนุมูลเปอร์ออกซี
        H2O2 Hydrogen Peroxide ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

อนุมูลอิสระจึงเป็นสารพิษต่อเซลล์ร่างกาย ถ้ามีมากใน เซลล์ก็เป็นอันตราย โดยจะทำลาย DNA เยื่อหุ้มเซลล์ และอื่นๆ แต่เซลล์ร่างกายพวกเม็ดเลือดขาวก็ใช้สารพวกนี้กำจัดแบคทีเรีย หลังจากที่เซลล์กินแบคทีเรียเข้าไปในตัวแล้ว

        อนุมูลอิสระเชื่อว่า มีผลต่อการอักเสบ และการทำลายเนื้อเยื่อในระยะสั้น ในระยะยาวอาจมีผลต่อ ความเสื่อมหรือการแก่ของเซลล์ และอาจเป็นสารการก่อมะเร็ง และโรคหัวใจ ต้อกระจก

        อนุมูลอิสระ มีที่มาทั้งแหล่งภายนอกร่างกาย ได้แก่ มลพิษในอากาศ โอโซน ไนตรัสออกไซด์
        ไนโตรเจนไดออกไซด์ ฝุ่น ควันบุหรี่ อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ( แก้ได้โดยใส่วิตามิน อี ลงไปด้วย )
        หรือธาตุเหล็กมากกว่าปกติ แสงแดด ความร้อน รังสีแกมม่า ยาบางชนิด เช่น Doxorubicin , Penicillamine, paracetamol, CCl4 เป็นต้น และแหล่งภายในร่างกายได้แก่ ออกซิเจน เป็นต้น

        ร่างกายก็มีกลไกที่จะกำจัด อนุมูลอิสระ เหล่านี้โดย 2 วิธี คือ ใช้เอนไซม์ต่างๆในร่างกายเช่น
        Superoxide dismultase ( SOD ) และไม่ใช้เอนไซม์ ได้แก่ วิตามิน อี ( a tocopherol  เบตาคาโรทีน ( Betacarotene ) และ วิตามิน ซี  เนื่องจากมีผู้สังเกตว่า เอนไซม์ต่างๆที่ใช้กำจัด อนุมูลอิสระ เช่น SOD มีได้จำกัด แต่สารที่เราสามารถทานเสริมได้แก่ วิตามิน อี วิตามิน ซี เบต้าคาโรทีน  ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือมีอีกชื่อว่า Antioxidant  เนื่องจาก เบต้าคาโรทีน มีมากในผักและผลไม้บางชนิด จึงมีการสนับสนุนให้ทานสิ่งเหล่านี้เพิ่มมากชึ้น
        โดยมีความเชื่อว่าอาจลดการก่อมะเร็ง ลดการเป็นโรคหัวใจ ขาดเลือดและ โรคอื่นๆ

อาหารที่มีเบต้าคาโรทีนสูง
ผักใบเขียว เช่น ตำลึง และ ผักบุ้ง
อาหารที่มีสีเหลือง เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก มะเขือเทศ ฟักทอง
อาหารที่ให้วิตามินซีสูง คือ พืช ผักสีเขียว และผลไม้รสเปรี้ยว เช่นตำลึง ผักบุ้ง พริกหยวก ส้ม มะนาว สัปปะรด เป็นต้น
วิตามิน อี มีในน้ำมันพืชต่างๆ

        รายงานที่บอกว่าการทานผักและผลไม้ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมีมากมาย
        ซึ่งคิดว่ากลไกทั้งด้านที่ผักและผลไม้มีสารกากใยมากซึ่งจะช่วยทางด้านลดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ( อ้างอิงที่ 1 )

        นอกจากนี้กลไกทางด้านต้านอนุมูลอิสระก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
        ตัวอย่างรายงานเหล่านี้มีมากเช่น ผักและผลไม้ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ถึง 5.5 เท่า
        ซึ่งรายงานนี้ก็เป็นรายงานใหญ่ในการศึกษาแบบติดตามคนไข้ถึง 11,546 คนเป็นเวลาถึง 25 ปี
        ( อ้างอิงที่ 2 ) ผักและผลไม้ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด ก็มีรายงานเช่นกัน ( อ้างอิงที่ 3 )
        บางรายงานตรวจสอบชัดลงไปได้ถึงชนิดของผักด้วยเช่นพบว่า ผักที่มีสีเหลืองเช่น แครอท มันฝรั่ง
        พบว่าลดมะเร็งของปอดได้มากกว่าผักชนิดอื่นเป็นต้น ( อ้างอิงที่ 4 )

        นอกจากนี้มีรายงานใหญ่ที่ติดตามการเป็นมะเร็งของประชากร 10,068 คน เป็นเวลาถึง 19 ปี
        ในจำนวนนี้พบมะเร็งปอด 248 คน พบว่าการทานผักและผลไม้ที่มีวิตามิน เอ หรือ เบต้าคาโรทีน
        จะสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งปอดได้ ( อ้างอิงที่ 5 )

        การทานผักและผลไม้ที่มี เบต้าคาโรทีน วิตามิน ซี วิตามิน อีสูงสามารถที่จะลดอุบัติการการ เป็นมะเร็งเต้านมได้จริง    ในสตรีวัยเจริญพันธ์ จากการติดตาม คนไข้ 83.234 คน เป็นเวลา 14 ปี (อ้างอิงที่ 6 )

        สำหรับมะเร็งชนิดอื่นเช่นมะเร็งต่อมลูกหมากพบว่าการทานผักและผลไม้ไม่ช่วยลดความเสี่ยงแต่อย่างใด
        ( อ้างอิงที่ 7 ) แต่มะเร็งกระเพาะปัสสาวะลดความเสี่ยงได้ด้วยการทาน ผักประเภท บรอคเคอรี่
        และหัวผักกาด ( อ้างอิงที่ 8 )

        ผักและผลไม้ที่มี เบต้าคาโรทีนสูงก็มีผลต่อการลดอุบัติการของโรคหัวใจขาดเลือดได้จริง จากการวิจัยย้อนหลังในคนไข้ 4802 คนติดตามไป 4 ปี ( อ้างอิงที่ 9 )

        มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้พยายามศึกษาและรายงานผลของการทาน สารต้าน อนุมูลอิสระคือ
        วิตามิน อี วิตามิน ซี และ เบต้าคาโรทีน โดยตรง ดูว่าจะลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่นมะเร็งต่างๆ
        โรคหัวใจ และโรคอื่นอีกหรือไม่ โดยมีทั้งรายงานที่สนับสนุนผลดีและรายงานที่บอกว่าไม่ได้ผลก็มีเช่น
        การทานวิตามิน เอ วิตามิน อี และ วิตามิน ซี โดยตรงก็สามารถลดความเสี่ยงมะเร็งได้เช่นกัน แต่ไม่มากนักและ การทานวิตามินตามินเหล่านี้ในปริมาณที่มากกว่าความต้องการของร่างกาย ในแต่ละวันกลับไม่ช่วยลดอุบัติการของการเป็นมะเร็งปอด ( อ้างอิงที่ 5 )

        การทานเบต้าคาโรทีน วันละ 30 มก.และ วิตามิน ซี 500 มก. เป็นเวลา 2 ปี ไม่มีผลป้องกัน
        การเปลี่ยนแปลงเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติไป สู่การเป็นเซลล์มะเร็ง แสดงว่าไม่มีผลดีทางด้านนี้ (อ้างอิงที่ 10 )

        การทานสารต้านอนุมูลอิสระ คือ วิตามิน ซี วิตามิน อี ก็ยังไม่มีรายงานว่ายับยั้งโรคประสาทตาเสื่อมได้
        จากการติดตามผู้ป่วย 21,120 คน เป็นเวลา 12.5 ปี ( อ้างอิงที่ 11 )

        มีเพียงวิตามิน อี เท่านั้นที่อาจมีบทบาทในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและลดอัตราตาย ในโรคหัวใจได้ส่วน เบต้าคาโรทีน และ วิตามิน ซี ไม่มีดีผลที่ชัดเจน ( อ้างอิงที่ 12 )และผลดีนี้ไม่เกี่ยวกับกลไกทางด้านไขมันในเลือดและความดันโลหิต ( อ้างอิงที 13 )

        สำหรับ เบต้าคาโรทีนนั้นแม้จะพบว่า อาหารที่มีเบต้าคาโรทีนมีผลต่อการลดอุบัติการของโรคหัวใจ ขาดเลือดได้จริง แต่เมื่อให้สารสกัดเบต้าคาโรทีนโดยตรงต่อผู้ป่วยก็ยังไม่พบผลดีชัดเจนต่อโรคหัวใจ

        สำหรับวิตามินซีมีเพียงการการวิจัยแบบวิเคราะห์ย้อนหลังที่พบว่าวิตามินซีอาจมีผลดี ต่อการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (อ้างอิงที่ 15)

        วิตามิน อี อาจมีผลต่อการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดโดยลดอัตราตายได้ (อ้างอิงที่ 15, 16 ) ก็เริ่มมีการวิจัยโดยมีการทดลองที่มากขึ้น
        โดยทดลองในคนไข้ 2000 คนเป็นเวลาปีกว่า ก็พบว่าวิตามิน อี ลดอุบัติการของโรคหัวใจขาดเลือดจริง
        แต่ก็มีผลน้อยมาก และจากการทดลองในรายงานหลังก็พบว่า เบต้าคาโรทีนกลับไม่มีผลดีอันนี้
        ( อ้างอิงที่ 17 )

        สารต้านอนุมูลอิสระน่าจะมีผลดีต่อร่างกายและอาจลดมะเร็งต่างๆ และลดอุบัติการโรคหัวใจขาดเลือดได้จริง แต่กลับพบว่าฤทธิ์เด่นชัดกลับอยู่ในรูปของผักสดและผลไม้มากกว่าสารสกัด หรือตัววิตามินโดยตรง

        ดังนั้นการทานผักสดและผลไม้จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากและมีผลดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง หวังว่าเรื่องนี้คงจะเป็นประโยชน์และทำให้เราทานผักและผลไม้กันมากๆ
โดย น.ท. น.พ. จักรพงศ์ ไพบูลย์

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือสารที่มีสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระ มีทั้งที่เป็นสารจากธรรมชาติ (natural antioxidant) และสารสังเคราะห์  (synthetic antioxidant)และมีฤทธิ์ทำลายอนุมูลอิสระที่ร่างกายได้รับ ได้แก่ ควันบุหรี่ แอลกฮอลล์ รังสี UV เอ็กซเรย์ ให้กลายเป็นสารที่ไม่มีอันตรายต่อเซลล์ร่างกาย สามารถป้องกันหรือซ่อมแซมความเสียหายของเซลล์ร่างกายจากออกซิเจนได้

สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) แคโรทีนอยด์



INSURANCETHAI.NET
Line+