การประกันภัย ความรับผิดของนายจ้าง
59

การประกันภัย ความรับผิดของนายจ้าง

การประกันภัย ความรับผิดของนายจ้าง

กรณีศาลปกครองมีคำพิพากษาสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศให้เขต มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษทำให้ศาลปกครองกลางต้องมีการ ออกคำสั่งระงับการลงทุนหลายโครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตา

พุดอันเป็นผลสืบ เนื่องจากปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลคำพิพากษาของศาลปกครองทำให้กรณีดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมากจากภาค เอกชนและรัฐบาลซึ่งหลายฝ่าย เป็นห่วงว่าจะกระทบกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากต่าง

ประเทศและปัญหาการ ว่างงาน จนเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการร่วม 4 ฝ่ายในการแก้ปัญหาของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

การร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของ ประชาชนในพื้นที่อำเภอมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงอันเป็นผลสืบเนื่องจากประชาชนเจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก และที่น่าสนใจจากรายงานของสำนักโรคจากการ

ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรครายงานว่า ประชากรในพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาสุขภาพด้วยโรคระบบทางเดินหายใจและโรคมะเร็ง เป็นหลัก ซึ่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า ในช่วงปี พ.ศ.2541-2543 อัตราการเปรียบเทียบ

ของอุบัติการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งใน 9 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง นครพนม ขอนแก่น ระยอง อุดรธานี กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ และสงขลา

พบว่าอัตราอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อประชากรแสนคน ของโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งตับของจังหวัดระยองสูงกว่าประจวบคีรีขันธ์และ สงขลา อัตราของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งหลอด อาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ลิวคีเมีย และมะเร็งปาก

มดลูกของจังหวัดระยองพบว่าสูงสุดใน 9 จังหวัด และมะเร็งเต้านมสูงกว่าใน 7 จังหวัด และยังพบอีกว่า อัตราผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งในเขตอำเภอเมืองระยองสูงกว่าอำเภออื่นๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ลิวคีเมีย มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

นอกจากนี้ ข้อมูลสถิติของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ระยองในช่วงปี พ.ศ.2542-2547 พบว่าประชากรในจังหวัดระยองเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมากกว่าโรคอื่น อันสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุขที่รายงานว่าในช่วงปี

พ.ศ.2545-2548 ในจังหวัดระยองมีแนวโน้มของสาเหตุ การเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 83.74 ต่อประชากรแสนคนโดยมีอวัยวะที่เป็นมะเร็งสูงสุดของประชากรในจังหวัดระยองคือ มะเร็งหลอดคอ หลอดลมใหญ่และปอด โดย

เฉพาะตำบลมาบตาพุดและตำบลห้วยโป่งมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง 76.87 ต่อประชากรแสนคน โดยส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดี รองลงมาได้แก่มะเร็งที่หลอด
คอ หลอดลมใหญ่และปอด

ประเด็นที่น่าสังเกตคือรายงานการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชากรในพื้นที่ จังหวัดระยองโดยเฉพาะในบริเวณใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าประชากรที่เจ็บป่วยและเสียชีวิตอันเป็นผลสืบเนื่อง จากการ

ปล่อยสารพิษของกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ อุตสาหกรรมมีพนักงานลูกจ้างจำนวนเท่าใดที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับประชาชน ทั่วไป เพราะหากมีการพิสูจน์ได้ว่ามีพนักงานหรือลูกจ้างรายใดที่ได้รับผลกระทบ จากมลพิษที่

เกิดจากกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยที่นายจ้างมิได้ให้ความ สนใจในการดูแลแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษจนเป็นเหตุให้พนักงานลูกจ้างต้องได้ รับความเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากผลกระทบของมลพิษ จะกลายเป็นประเด็นความรับผิด

ของนายจ้างซึ่งพนักงานลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ อาจจะดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือเงินชดเชย

เช่นเดียวกับกรณีปัญหามลพิษจากแร่ใยหิน ( Asbestos) ในสหรัฐฯและยุโรปที่มีลูกจ้างจำนวนมากฟ้องร้องนายจ้างและได้รับการชดใช้ค่า สินไหมตามคำสั่งของศาลในสหรัฐฯ และยุโรป จนนำไปสู่การสั่งห้ามใช้วัสดุที่ส่วนประกอบของแร่ใยหิน

ตลอด จนลุกลามไปจนถึงธุรกิจประกันภัยทั่วโลกที่กำหนดข้อยกเว้นไม่คุ้มครองกรณีที่ เกิดเหตุสืบเนื่องจากแร่ใยหิน

อย่างไรก็ตาม หากเกิดกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าพนักงานลูกจ้าง ประสบการเจ็บป่วยและเสียชีวิตอันเป็นผลจากปัญหามลพิษที่นายจ้างในพื้นที่ เสี่ยงจะต้องรับผิดชอบก็อาจจะต้องให้ความสนใจกับการเอาประกันภัยความรับผิด ของนายจ้าง

(Employers Liability Insurance) ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทประกันภัยเกือบจะทุกรายเสนอเงื่อนไขความคุ้มครองที่ เป็นเงื่อนไขฉบับมาตรฐานในประเทศไทยในอัตราเบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่าอัตรา ที่นาย จ้างจ่ายสมทบให้กองทุนคุ้มครองแรงงาน

โดยการประกันภัยความรับผิดของนายจ้างจะ ให้ความคุ้มครองความรับผิดของนาย จ้างสูงสุดไม่เกินกรณีละ 1,500,000 บาท ซึ่งจำนวนจำกัดความ รับผิดของการประกันภัยประเภทนี้ได้ใช้มาเป็นเวลาหลายสิบปีแต่ไม่ค่อยได้รับ ความนิยม

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีของมาบตาพุดจะส่งผลให้บรรดานายจ้างให้ความสนใจ ประกันภัยประเภทนี้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนจำกัดความรับผิดที่กำหนดในกรมธรรม์มาตรฐานควรจักได้รับการปรับให้เพิ่ม สูงขึ้นตามยุคสมัย หากคณะ

กรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้สนับสนุนให้การ ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้รับการปรับเพิ่มจำนวนเงินความคุ้มครอง ก็น่าจะมาพิจารณาสังคายนาการประกันภัยความรับผิดของนายจ้างก็จะเป็นอีก เครื่องมือ

ในการช่วยแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ตามสิทธิของคนเป็นลูกจ้าง
   
ที่มา : สยามธุรกิจ



INSURANCETHAI.NET
Line+