Larry Page เจ้าของบริษัท Google ไม่พอใจบริการ Google AdWords หรือเครื่องมือค้นหาว่าโฆษณาใดเหมาะกับคำค้นหามากที่สุด หลังจากที่เขาลองพิมพ์คำถามอย่างหนึ่งลงไปแล้วพบว่า Google กลับส่งผลการค้นหาที่เป็นโฆษณาที่ไม่เกี่ยวข้อง (เช่น พิมพ์คำว่า "ลอดช่องสิงคโปร์" แต่ไม่ขึ้นถึงขนมลอดช่อง แต่กลับขึ้นโฆษณาพาเที่ยวประเทศสิงคโปร์)
เช้ามืดวันจันทร์ถัดมา Jeff Dean วิศวกรที่ทำงานด้านเสิร์ชคนหนึ่งใน Google ส่งอีเมลหาแลร์รี แจ้งว่าเขาเห็นโน้ตของแลร์รีข้างโต๊ะพูลแล้ว และเห็นด้วยว่าโฆษณาพวกนั้นมันห่วย พร้อมกับแนบบทวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงสาเหตุของปัญหานั้น วิธีแก้ไข และลิงก์ตัวอย่าง
ภายหลังบทวิเคราะห์ในอีเมลนั้นได้เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนา Google AdWords ให้กลายเป็นหัวหอกในการทำรายได้ให้กับบริษัท (ปี 2012 Google มีรายได้จากโฆษณา 43.7 พันล้านดอลลาร์)
นอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตเสิร์ชเอ็นจิ้นอันดับหนึ่งของโลกแล้ว Google ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมสูงที่สุดลำดับต้นๆ ของโลก
นิตยสาร Fast Company จัดอันดับให้ Google เป็นอันดับที่หนึ่งใน The World"s 50 Most Innovative Companies ปี 2008 และปี 2014 ส่วนปีอื่นๆ นั้น Google ติดอันดับหนึ่งในห้าแทบทุกปี
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พวกเขาพัฒนาบริการออนไลน์มากมาย เช่น Google Now เสิร์ชเอ็นจิ้นเฉพาะบุคคลที่เปรียบเสมือนเลขาฯ ส่วนตัว Google Street View บันทึกภาพเส้นทางถนนต่างๆ ทั่วโลกเป็นระยะทางรวมกว่า 5 ล้านไมล์ หรือ Google Earth ที่ทำให้เรามองเห็นโลกจากอวกาศ
ไม่เพียงแค่นั้น Google ยังได้ก้าวข้ามจากแค่เสิร์ชเอ็นจิ้นและโฆษณาผ่านเสิร์ชไปสู่ดินแดนอื่นๆ ที่ยังไม่มีใครไปถึง
Google บริหารงานไม่เหมือนสถานที่ทำงานอื่นๆ พนักงานที่นี่เชื่อมั่นในความสามารถและอำนาจของตนเองอย่างไม่มีใครเทียบ
และพวกเขาก็ไม่ใช่พนักงานบริษัททั่วไป แต่คือคนอีกแบบที่ Google เรียกว่า Smart Creative ซึ่งคือบุคคลที่นำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จในยุคนี้
ทําไม Google จึงบอกว่าสมาร์ตครีเอทีฟคือบุคคลที่สำคัญมากที่สุดขององค์กรยุคนี้
เรากำลังอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วิธีคิดหรือแนวทางการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ในยุคก่อนที่เคยร่ำเรียนกันมาจาก MBA แผนธุรกิจที่เคยสอนกันอย่างเข้มข้นในคอร์สผู้บริหารอาจไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคนี้
ยุคสมัยที่เรียกว่า "ศตวรรษแห่งอินเตอร์เน็ต" (The Internet Century)
Google มีเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงานคือ ทุกคนต้องมีความเป็นสมาร์ตครีเอทีฟในตัว
Eric Schmidt อดีตซีอีโอของ Google ระหว่างปี 2001-2011 และ Jonathan Rosenberg ที่ปรึกษาของ แลร์รี เพจ เขียนไว้ในหนังสือ How Google Works (ชื่อไทยว่า คิดอย่างผู้นำ ทำอย่าง Google แปลโดย ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และคณะ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ เนชั่นบุ๊คส์) ว่า
"คุณลักษณะสำคัญของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันคือต้องสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ และทางเดียวที่จะทำได้คือ ต้องดึงดูดสมาร์ตครีเอทีฟมาทำงาน และสร้างสภาพแวดล้อมให้คนเหล่านี้ทำงาน...วัฒนธรรมของ Google ไม่ได้สร้างบุคคลเหล่านี้ แต่เราดึงดูดให้พวกเขาเข้ามาทำงาน"
ใช่ครับ, กุญแจแห่งความสำเร็จของ Google คือ สมาร์ตครีเอทีฟและพลังของวัฒนธรรมองค์กร
และเมื่อสมาร์ตครีเอทีฟมารวมตัวกันหลายหมื่นคน ผนวกกับพลังของวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง มันจะทำให้ Google มีวิธีคิดอย่างไร และเราจะเรียนรู้วิธีคิดเหล่านี้อย่างไรได้บ้างนั้น ต้องติดตามในตอนต่อไปครับ
แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นตอนที่ไมโครซอฟต์ส่งเสิร์ชเอ็นจิ้น Bing ลงตลาดในปี 2009 ซึ่งทาง Google ลุกลี้ลุกลนมากถึงขั้นที่ทุกคนต้องวางมือจากงานอื่นมาช่วยเรื่องเสิร์ช แต่พวกเขาก็ก้าวข้ามการตามคู่แข่งหรือเกาะกลุ่มว่าไมโครซอฟต์ทำอะไรต้องทำตาม และพัฒนาไปอีกขั้นที่คนคาดไม่ถึงด้วยการสร้าง Google Instant ระบบที่ขึ้นข้อความที่คุณกำลังค้นหาทั้งที่ยังพิมพ์ไม่เสร็จ และ Image Search การค้นหาด้วยภาพ
ในหนังสือ How Google Works ย้ำว่าสิ่งที่ดีที่สุดมากกว่าจับจ้องคู่แข่งหรือการยึดบทวิเคราะห์คู่แข่งเป็นที่ตั้งคือ การสยบคู่แข่งที่ทำเหมือนเราลงได้อย่างราบคาบ
ยกตัวอย่างเช่น วิศวกรรถยนต์ที่ชื่อ Daniel Ratner ที่ฉุกคิด Street View trike (จักรยานสามล้อที่ใช้เก็บภาพ street view ในซอยเล็กๆ ที่รถยนต์เข้าไม่ถึง) ได้จากการที่เดินผ่านซอยคับแคบในเมืองบาร์เซโลนา
หรือ Google Open Gallery เว็บไซต์ที่ทำให้เราได้ดูผลงานศิลปะในนิทรรศการระดับโลกแบบออนไลน์ ก็เกิดจากพนักงานในประเทศอิสราเอลที่เริ่มใช้เวลา 20 เปอร์เซ็นต์ในการดิจิไทซ์ภาพและเอกสารต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Yad Vashem) ในเมืองเยรูซาเลม จนกลายเป็นต้นแบบให้กับพิพิธภัณฑ์และแกลเลอรี่ในประเทศอื่นๆ
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เรารู้จักกันดีหลายอย่างก็ล้วนแต่เกิดจากเวลา 20 เปอร์เซ็นต์นี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Google Now, Google News หรือข้อมูลการเดินทางบน Google Maps ต่างๆ
ในหนังสือ How Google Works แนะนำการทำงานหนักในทางที่ถูกว่า "คุณบริหารสิ่งนี้ได้ด้วยการให้ความรับผิดชอบและความอิสระ อย่าสั่งให้ใครทำงานดึกหรือสั่งให้กลับบ้านไปอยู่กับครอบครัว ที่ควรทำคือขอให้พนักงานเหล่านั้นรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่ต้องรับผิดชอบ แล้วพวกเขาจะหาทางทำงานให้คุณจนเสร็จเอง"
ปีศาจร้ายนี้จึงเปรียบเสมือนขอบเขตในการสร้างผลิตภัณฑ์ของ Google อยู่เสมอ หากการกระทำได้เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคมากจนเกินไป พวกเขาก็จะล้มพับโครงการนั้นทันที แม้ว่าไอเดียจะเข้าท่ามากแค่ไหนก็ตาม
แม้ว่าในช่วงหลัง Google จะโดนโจมตีว่าเริ่มร้ายกาจมากขึ้น ทั้งการแอบล้วงข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า หรือเผยแพร่ความลับทางการค้า ถึงขั้นที่เว็บไซต์ Gizmodo เขียนบทความว่า Google"s Broken Promises : The End of "Don"t Be Evil"
แต่ในหนังสือ How Googles Work ก็ยังยืนยันว่านี้คือสโลแกนที่พวกเขายังยึดมั่นอยู่ไม่เสื่อมคลาย
วิธีคิดทั้ง 10 ข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างในอีกหลายวิธีคิดที่เราสามารถเรียนรู้ได้จาก Google องค์กรที่สร้างนวัตกรรมได้มากที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก